“ 8 มีนา 8 ข้อเรียกร้องผู้หญิงถึงนายกตู่”

“ 8 มีนา 8 ข้อเรียกร้องผู้หญิงถึงนายกตู่” บัณฑิต แป้นวิเศษ มูลนิธิเพื่อนหญิง “หากชีวิตเป็นดั่งภาพฝันและความหวังการจะยกฐานะความยากจนมาสู่ชีวิตที่ดีกว่า หนทางหนึ่งที่พวกเธอเลือกได้คือ การมีงานทำ มีรายได้ มีครอบครัวที่เข้าใจและร่วมต่อสู้ไปด้วยกัน แต่ใครเลยจะคิดว่าชีวิตของผู้หญิงหลายคนต้องตกอยู่ในชะตากรรมทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมความรุนแรง ที่พวกเธอไม่ได้ก่อขึ้น และถูกผลักภาระมาให้ทำให้พวกเธอต้องฝันร้าย ถูกสามีทอดทิ้ง ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ถูกข่มขืน ท้องไม่พึงประสงค์ ถูกใช้ความรุนแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจในครอบครัว ถูกเลิกจ้าง ไม่มีเงินซื้อนมให้ลูกกิน อายุมากหางานทำไม่ได้ ถูกลูกหลานทอดทิ้ง”ในวันนี้ใครจะเหลียวแลพวกเธอที่ต้องตกอยู่ในสภาพที่สิ้นหวังไร้อนาคต” ทุกปีของวันที่ 8 มีนาคม ทั่วโลกจะถือให้เป็นวันสตรีสากล เพื่อรำลึกถึงการต่อสู้ของแรงงานหญิงในโรงงานทอผ้าแห่งเมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา และนั่นเป็นที่มาของระบบที่ทั่วโลกใช้กันคือ ทำงาน 8 ชั่วโมง ศึกษา 8 ชั่วโมง และพักผ่อน 8 ชั่วโมง ในปีนี้สถานการณ์ของผู้หญิงในประเทศไทยทั้งระบบ ที่มองสภาพปัญหาของผู้หญิงแบบองค์รวม จะเห็นได้ว่า เกือบทุกมิติได้แทรกเร้น “ความรุนแรงที่มีต่อผู้หญิง“ อย่างปฏิเสธไม่ได้ จากการทำงานของมูลนิธิเพื่อนหญิง ผ่านศูนย์พิทักษ์สตรี ทีช่วยเหลือผู้หญิง 4 ภาค ได้บริการให้คำปรึกษาแก่ผู้หญิงที่ประสบปัญหาความรุนแรง ทั้งความรุนแรงในครอบครัว […]

เสวนาสิทธิ ความยุติธรรมและกฎหมายด้านแรงงาน : ๑๐ ประเด็นที่ควรแก้ไขกฎหมายแรงงาน

ท่านทั้งหลายคงได้อ่านข้อคิด ข้อเขียนที่สื่อสารโดยมูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน ในประเด็นการแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ของกระทรวงแรงงานไปแล้ว หลายท่านก็คงเห็นตรงกันกับผู้เขียนว่า หากจะแก้ไขปรับปรุงกฎหมายแรงงานให้ตรงกับปัญหาและเข้ากับห้วงเวลาที่สังคมเรียกร้องการปฏิรูปประเทศ ก็ไม่ควรแก้ไขเพียงเท่าที่กระทรวงแรงงานเสนอ

เสวนาสิทธิแรงงานและกฎหมาย : มาตรฐานและความรับผิดชอบของธุรกิจข้ามชาติ

ผู้เขียนอยากกล่าวถึง ธุรกิจยักษ์ใหญ่ มีเงินลงทุนมหาศาล ขยายกิจการไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ประเทศไทยก็เป็นเป้าหมายสำคัญของธุรกิจเหล่านี้ กรณีนี้เฉพาะธุรกิจข้ามชาติที่ เกี่ยวกับบริการอาหารและเครื่องดื่ม ความจริงของธุรกิจเหล่า มีสำนักงานอยู่ในกรุงเทพมหานคร ในขณะที่หน่วยบริการหรือร้านค้าต่าง ๆ ของธุรกิจเหล่านี้จะกระจายไป ตามจังหวัดหรือพื้นที่ต่าง ๆ

ความยุติธรรมด้านแรงงานในภาวะวิกฤติอุทกภัยร้ายแรงที่ภาคใต้ประเทศไทย

ที่ผ่านมาประเทศไทยประสบภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจและสังคมที่ร้ายแรงมาแล้ว ๓ ครั้ง คือ (๑) วิกฤติต้มยำกุ้งปี ๒๕๔๐ (๒) วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ปี ๒๕๕๑-๒๕๕๒ และ(๓)วิกฤติมหาอุทกภัยปี ๒๕๕๔

1 9 10 11 12 13 15