Tag: ชฤทธิ์ มีสิทธิ์ นักกฎหมาย/ทนายความ
คลินิกกฎหมายด้านแรงงาน (30) สิบประเด็นสิทธิแรงงานที่ท้าทายในรอบปี 2564 ชฤทธิ์ มีสิทธิ์ (04/2565) ในครั้งนี้ก็จะเป็นการนำเสนอประเด็นสิทธิแรงงานที่ท้าทายในรอบปี 2564 เป็นประเด็นสุดท้าย คือประเด็นสิทธิแรงงานกรณีที่ 10 ดังนี้ครับ กรณีที่ 10 เกณฑ์ในการพิจารณากำหนดค่าเสียหายกรณีการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมของศาลแรงงาน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 กับกรณีการเลิกจ้างอันเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 ถึงมาตรา 123 เหมือนกัน หรือต่างกัน หรือไม่ อย่างไร ในเบื้องต้นควรทำความเข้าใจหลักกฎหมายในเรื่อง การเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 (ต่อไปนี้จะเรียกว่า”การเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม”) กับการเลิกจ้างอันเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 […]
คลินิกกฎหมายด้านแรงงาน (29) สิบประเด็นสิทธิแรงงานที่ท้าทายในรอบปี 2564 ชฤทธิ์ มีสิทธิ์ (04/2565) ในครั้งนี้ก็จะเป็นการนำเสนอประเด็นสิทธิแรงงานที่ท้าทายในรอบปี 2564 ต่อจากครั้งที่28 คือประเด็นสิทธิแรงงานกรณีที่ 9 ดังนี้ครับ กรณีที่ 9 ตามพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 กำหนดให้รัฐวิสาหกิจหนึ่งมีสหภาพแรงงานได้เพียงองค์กรเดียว และข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่สหภาพแรงงานทำไว้กับรัฐวิสาหกิจผูกพันเฉพาะลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานเท่านั้น แต่ในทางปฏิบัตินายจ้างให้สวัสดิการตามข้อตกลงฯแก่ลูกจ้างทุกคน ไม่ว่าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน หรือไม่ และตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างก็กำหนดให้ปฏิบัติต่อลูกจ้างทุกคนตามหลักความเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ อีกทั้งสอดคล้องกับจรรยาบรรณขององค์กรรัฐวิสาหกิจด้วย กรณีนี้ทั้งศาลแรงงานชั้นต้นและศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ(ด้านแรงงาน) พิพากษาว่าสิทธิตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างผูกพันเฉพาะสมาชิกสหภาพแรงงานเท่านั้น นายจ้างจึงสามารถปฏิบัติต่อลูกจ้างเข้าใหม่ หรือลูกจ้างเก่าที่ไม่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานแตกต่างจากข้อตกลงฯ ได้ ฝ่ายสหภาพแรงงานขออนุญาตฎีกา ซึ่งศาลฎีกาได้อนุญาตให้ฎีกาได้ รอฟังคำพิพากษาของศาลฎีกา สรุปสาระความเป็นมาของคดีนี้เพื่อเข้าใจง่าย ดังนี้ เดิมนายจ้างหรือจำเลยจ่ายเงินค่าวิชาชีพด้านเทคนิค ให้ลูกจ้างที่ปฏิบัติงานสายเทคนิคมาก่อน ต่อมาเพิ่มยอดเงิน แต่หลักเกณฑ์เดิม จนกระทั่งมีการจัดตั้งสร.รัฐวิสาหกิจ จึงได้นำเรื่องนี้มายื่นเป็นข้อเรียกร้องและทำข้อตกลงไว้ตามกฎหมาย ต่อมานายจ้างได้เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายเงิน ในทางที่เพิ่มภาระให้แก่ลูกจ้างกับลูกจ้างใหม่ หลังจากสร. ทำข้อตกลงแล้ว กล่าวคือ […]
แรงงานปริทัศน์ออนไลน์ ฉบับที่ 64 (411) ประจำเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2565 บทความที่ 1 สิบประเด็นสิทธิแรงงานที่ท้าทาย
ในรอบปี 2564 (ตอนที่ 2) บทความที่ 2 สรุปประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ….. และรายงานพิเศษ 2 เรื่อง พร้อมสถิติแรงงานและรายงานข่าวการขับเคลื่อนของแรงงานในขบวนการวันสตรีสาหกล 8 มีนาคมปีนี้
กรณีที่ลูกจ้างใช้สิทธิตามกฎหมายเพื่อรับเงินชดเชยกรณีเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด และได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายแล้ว ก็ยังคงมีสิทธิโดยสมบูรณ์ในการใช้สิทธิทางศาลฟ้องคดีเรื่องการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49
แรงงานปริทัศน์ออนไลน์ ฉบับที่ 63 (410) ประจำเดือนมกราคม 2565 ในเดือนแรกของปีใหม่นี้ “คลินิกกฎหมายด้านแรงงาน” โดยทนายความ ชฤทธิ์ มีสิทธิ์ ด้วยการสรุปสิบประเด็นสิทธิแรงงานที่ท้าทายในรอบปี 2564 ที่เพิ่งผ่านไป รยงานพิเศษฉบับนี้เป็นเคลื่อนไหวเรียกร้องให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำให้ทันค่าครองชีพ และให้ควบคุมราคาสินค้าที่ตอนนี้ปรับขึ้นทุกวัน ต่อด้วยสถิติแรงงานไทยในต่างประเทศปี 2564 ทั้งจำนวน และรายได้ที่ส่งกลับ รายงานข่าวอย่างมติครม.เรื่องสิทธิการลาคลอด 98 วัน และผู้ชายลาเลี้ยงดูบุตรได้ 15 วัน