แรงงานปริทัศน์ ฉบับที่ 392 เดือนพฤษภาคม 2563

แรงงานปริทัศน์ออนไลน์ฉบับที่ 45 (392) ประจำเดือนพฤษภาคม 2563 เป็นเรื่องที่น่ายินดีว่า ขณะนี้สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ที่เป็นมาร่วม 3เดือนใกล้จะสิ้นสุดแล้วหากไม่มีการระบาดรอบใหม่เกิดขึ้นอีก

แม้ว่าการเคลื่อนไหวทางการเมืองจะทำได้อย่างจำกัด แต่ในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านยังคงมีการจัดกิจกรรมรำลึกถึงเหตุการณ์ทางการเมืองที่สำคัญ 2 เหตุการณ์ ได้แก่ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 และเหตุการณ์พฤษภาเลือด 2553 ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 ประชาชนได้ร่วมกันขับไล่รัฐบาลที่สืบทอดอำนาจจากคณะรัฐประหารได้เป็นผลสำเร็จแต่ก็มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมากจากการถูกรัฐบาลใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมในวันที่ 17 พฤษภาคม 2535 เหตุการณ์ครั้งนั้นนำมาซึ่งความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนโดยเฉพาะในเรื่องสิทธิ เสรีภาพ และความเป็นอิสระจากการครอบงำโดยสื่อของรัฐ นำมาซึ่งการเกิดรัฐธรรมนูญฉบับพ.ศ.2540 ส่วนเหตุการณ์พฤษภาเลือด 2553 เกิดจากการที่สังคมไทยมีการแบ่งขั้วทางการเมืองอย่างชัดเจนโดยใช้สีเสื้อเป็นสัญลักษณ์ ในเหตุการณ์ดังกล่าวมีผู้เสียชีวิตถึง 96 คนจากการที่รัฐบาลใช้ความรุนแรงในการสลายผู้ชุมนุมซึ่งส่วนใหญ่คือคนเสื้อแดง นำมาซึ่งความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทยอันเนื่องมาจากการมีความเห็นต่างทางการเมืองซึ่งหยั่งรากลึกมาจนถึงปัจจุบันนี้

ในด้านความเคลื่อนไหวด้านแรงงาน ในช่วงที่ผ่านมามีการตั้ง “ภาคีสังคมแรงงานสู้วิกฤตโควิด” โดยองค์กรแรงงาน องค์กรพัฒนาเอกชน และนักวิชาการ เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายตั้งแต่ช่วงที่เกิดวิกฤตมาจนถึงปัจจุบันที่จะต้องมีการฟื้นฟูชีวิตทางเศรษฐกิจและสังคมหลังจากที่โรคระบาดผ่านไป

วันกรรมกรสากล หรือวันเมย์เดย์ในปีนี้ไม่สามารถจัดการชุมนุมรณรงค์ข้อเรียกร้องของแรงงานได้เหมือนทุกปี แต่องค์กรแรงงานกลุ่มต่างๆได้มีข้อเสนอจำนวนมากเกี่ยวกับการบรรเทาผลกระทบต่อแรงงานในช่วงวิกฤตโควิด ผู้สนใจติดตามอ่านได้ในแรงงานปริทัศน์ฉบับนี้

นอกจากนี้มีความเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงานกิจการสิ่งทอนครหลวงซึ่งเป็นแกนนำของกลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ ที่ประสบปัญหาลูกจ้างของบริษัทนครหลวงถุงเท้าไนล่อนจำกัดถูกเลิกจ้างกว่า180คน โดยนายจ้างอ้างเหตุสุดวิสัยจากโรคระบาดโควิด-19 ซึ่งมีประเด็นที่น่าสลดใจคือตั้งแต่เดือนสิงหาคม2562-กุมภาพันธ์ 2563 นายจ้างไม่นำส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมที่หักจากลูกจ้าง ทำให้ลูกจ้างเสียสิทธิการรักษาพยาบาลและไม่ได้รับการเยียวยาร้อยละ 62 ของค่าจ้างเมื่อต้องว่างงานจากการถูกเลิกจ้าง

นอกจากปัญหาแรงงานแล้ว องค์กรแรงงานยังมีความเคลื่อนไหวเรื่องอื่นๆ ที่สำคัญคือสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ได้ยื่นหนังสือขอให้

แรงงานปริทัศน์ออนไลน์ พ.ค.63