ก้าวต่อไปของอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูปไทยเพื่อการปรับปรุงสภาพการทำงานและสิทธิแรงงาน

ยกระดับความมุ่งมั่นต่อโครงการแนวปฎิบัติการใช้แรงงานที่ดีในอุตสาหกรรมอาหารทะเลของไทย

กระบวนการยุติธรรมด้านแรงงานกับแรงงานข้ามชาติ

คลินิกกฎหมายด้านแรงงาน (31)  กระบวนการยุติธรรมด้านแรงงานกับแรงงานข้ามชาติ ชฤทธิ์ มีสิทธิ์ (06/2565)   เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2565 ผู้เขียนมีโอกาสได้ร่วมนำเสนอข้อมูลและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นปัญหาทางคดีแรงงานของแรงงานข้ามชาติ ซึ่งเป็นกิจกรรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาเครือข่ายอาสาสมัครด้านแรงงานข้ามชาติและครอบครัว จัดโดยภาคีเครือข่ายองค์กรที่ดำเนินงานเกี่ยวกับสิทธิแรงงานข้ามชาติ ที่จังหวัดเชียงใหม่ เห็นว่ามีหลายเรื่องหลายราวที่เกี่ยวกับการการคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติ อันจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจหรือผู้ปฏิบัติงานในเรื่องดังกล่าว ประเด็นแรก : แรงงานข้ามชาติอาจมีนายจ้างได้หลายรายและอาจเป็นการจ้างในระบบเหมาช่วง                    เป็นเรื่องปกติที่แรงงานข้ามชาติทำงานกับนายจ้างคนใด หรือบริษัทใด ก็จะเข้าใจว่าบุคคลนั้นหรือบริษัทนั้นเป็นนายจ้างของตน เพราะแรงงานมาสมัครทำงานกับบุคคลดังกล่าว แต่เนื่องจากในกรณีการจ้างแรงงานข้ามชาติทำงาน กฎหมายของไทยมีกฎ กติกาเกี่ยวกับการจ้างงาน เช่น ขออนุญาตใช้แรงงานข้ามชาติ ขอใบอนุญาตทำงาน เป็นต้น  ส่วนสถานประกอบการ หรือโรงงานอาจเป็นของนายจ้าง หรืออาจเช่าบุคคลอื่นก็ได้ อย่างไรก็ตาม  หากนายจ้างรายแรกตกลงกับลูกจ้าง  เพื่อโอนลูกจ้างไปให้นายจ้างรายใหม่ ซึ่งกฎหมายก็กำหนดไว้แล้ว ให้นายจ้างรายใหม่รับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ ที่นายจ้างและลูกจ้างเดิมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อกัน เมื่อตกลงกันแล้ว และนายจ้างใหม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมายและตามที่ตกลงกันแล้ว พันธะของนายจ้างเดิมก็สิ้นสุดทันที ลูกจ้างเดิมก็จะมีนายจ้างรายใหม่เป็นนายจ้าง โดยนับอายุงานต่อเนื่อง สวัสดิการต่าง ๆ โอนมาทั้งหมด แต่ระเบียบวินัย กฎต่างๆที่ใช้อยู่เดิมก็โอนมาด้วย อีกประการหนึ่ง อาจเป็นกรณีนายจ้างเดิมประสบปัญหาในการประกอบธุรกิจ เช่น มีปัญหาเกี่ยวคำสั่งซื้อ […]

แรงงานปริทัศน์ฉบับที่ 397 เดือนตุลาคม 2563

แรงงานปริทัศน์ออนไลน์ฉบับที่ 50 (397) ประจำเดือนตุลาคม 2563 เดือนนี้เป็นเดือนแห่งการรำลึกถึงเหตุการณ์ทางการเมืองที่สำคัญมาก 2 เหตุการณ์ คือ เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 ทั้ง 2 เหตุการณ์เกี่ยวข้องกับขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของนักศึกษา กรรมกร และชาวนา เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ถูกเรียกว่า “การปฏิวัติตุลาคม” มีนักศึกษาเป็นผู้นำมวลชนโค่นล้มการปกครองในระบอบเผด็จการที่มีกลุ่มผู้นำไม่กี่ตระกูลยึดครองอำนาจทางการเมืองมายาวนาน

แรงงานปริทัศน์ ฉบับที่ 396 เดือนกันยายน 2563

แรงงานปริทัศน์ออนไลน์ฉบับที่ 49 (396) ประจำเดือนกันยายน 2563 พบกันหลังจากผ่านพ้นวิกฤตการณ์ทางการเมืองจาการชุมนุมใหญ่เมื่อวันที่ 19-20 กันยายน 2563 ของคนรุ่นใหม่และคนรุ่นอาวุโสที่สนับสนุนข้อเรียกร้องของคนรุ่นใหม่ภายใต้การนำของกลุ่ม “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการชุมนุม” ข้อเรียกร้อง 3 ข้อและ 1 ความฝันของผู้ชุมนุมคือ 1).รัฐบาลต้อง “หยุดคุกคามประชาชน” ที่ออกมาใช้สิทธิและเสรีภาพตามหลักประชาธิปไตย 2).รัฐบาลต้อง “ร่างรัฐธรรมนูญใหม่” ที่มาจากเจตจำนงของประชาชน เพื่อประโยชน์แก่สาธารณชนอย่างแท้จริง 3).รัฐบาลต้อง “ยุบสภา” เพื่อให้ประชาชนสามารถแสดงเจตจำนงในการเลือกผู้แทนของตนได้อีกครั้ง

แรงงานปริทัศน์ฉบับที่ 395 เดือนสิงหาคม 2563

แรงงานปริทัศน์ออนไลน์ฉบับที่48(395) ประจำเดือนสิงหาคม 2563 กลับสู่สถานการณ์เกือบปกติในยุควิกฤตโควิด-19 พร้อมกับการกลับมาเผชิญความจริงในทุกด้านโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆเป็นข้ออ้างที่จะต้องอดกลั้นหรือมองข้ามปัญหาที่พอกพูนสะสมมานานอีกต่อไป ทั้งบทความ รายงานพิเศษ และข่าวสารในฉบับนี้ให้ชวนติดตาม