วันกรรมกรสากลแรงงานเคลื่อนเสนอค่าจ้าง 492 บาท

2 ขบวนแรงงานไทย ยื่น 22 ข้อ ต่อรัฐบาล วันกรรมกรสากลวันที่ 1 พฤษภาคม 2565 คณะจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ 15 สภาองค์การลูกจ้างร่วมกับ 1 สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศ นำโดยนายสุชาติ ไทยล้วน ประธานคณะจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ ได้เคลื่อนขบวนจากท้องสนามหลวงไปยังกระทรวงแรงงาน เพื่อยื่นข้อเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรี จำนวน 8 ข้อ ประกอบด้วย 1.ให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในสมาคมและคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ 98 ว่าด้วยเรื่องสิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรอง 2.ให้รัฐบาลเร่งดำเนินการนำร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ….ฉบับแก้ไขเข้าสู่รัฐสภาเร่งด่วน 3.ขยายวงเงินเพื่อลดหย่อนภาษีเงินได้ที่ลูกจ้างได้รับก้อนสุดท้าย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 4.ให้รัฐบาลเพิ่มเติม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 อาทิ หามาตรการให้สถานประกอบการที่รับเหมาช่วงปฎิบัติตามกฏหมาย 5.ปฎิรูปแก้ไขประกันสังคม อาทิ ปรับฐานการรับเงินบำนาญ ขยายอายุผู้ประกันตนจาก 15-60 ปีเป็น 15-70 ปี 6.เร่งออกกฎหมายคุ้มครอง ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพแรงงานนอกระบบ 7.จัดระบบกองทุนสวัสดิการเพื่อเลี้ยงชีพให้กับลูกจ้างรัฐวิสาหกิจให้เทียบเคียงกับระบบสวัสดิการภาคราชการ 8.ให้แต่งตั้งคณะทำงานติดตามข้อเรียกร้อง อีกขบวนคือคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) […]

แรงงานปริทัศน์ ฉบับที่ 411เดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2565

แรงงานปริทัศน์ออนไลน์ ฉบับที่ 64 (411) ประจำเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2565 บทความที่ 1 สิบประเด็นสิทธิแรงงานที่ท้าทาย
ในรอบปี 2564 (ตอนที่ 2) บทความที่ 2 สรุปประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ….. และรายงานพิเศษ 2 เรื่อง พร้อมสถิติแรงงานและรายงานข่าวการขับเคลื่อนของแรงงานในขบวนการวันสตรีสาหกล 8 มีนาคมปีนี้

คลินิกกฎหมายด้านแรงงาน (28) : สิบประเด็นสิทธิแรงงานที่ท้าทายในรอบปี 2564

กรณีที่ลูกจ้างใช้สิทธิตามกฎหมายเพื่อรับเงินชดเชยกรณีเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด และได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายแล้ว   ก็ยังคงมีสิทธิโดยสมบูรณ์ในการใช้สิทธิทางศาลฟ้องคดีเรื่องการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49

คลินิกกฎหมายด้านแรงงาน (27): สิบประเด็นสิทธิแรงงานที่ท้าทายในรอบปี 2564

หากมีการจ้างก็ต้องถือว่า เป็นการจ้างแบบไม่มีกำหนดระยะเวลา เมื่อมีการ     เลิกจ้าง หรือไม่ต่ออายุสัญญา นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชย  โดยนับรวมระยะเวลาการทำงานทั้งหมด ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า หรือจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมาย และอาจเข้าข่ายการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 อีกด้วย

แรงงานปริทัศน์ ฉบับที่ 410 เดือนมกราคม 2565

แรงงานปริทัศน์ออนไลน์ ฉบับที่ 63 (410) ประจำเดือนมกราคม 2565 ในเดือนแรกของปีใหม่นี้ “คลินิกกฎหมายด้านแรงงาน” โดยทนายความ ชฤทธิ์ มีสิทธิ์ ด้วยการสรุปสิบประเด็นสิทธิแรงงานที่ท้าทายในรอบปี 2564 ที่เพิ่งผ่านไป รยงานพิเศษฉบับนี้เป็นเคลื่อนไหวเรียกร้องให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำให้ทันค่าครองชีพ และให้ควบคุมราคาสินค้าที่ตอนนี้ปรับขึ้นทุกวัน ต่อด้วยสถิติแรงงานไทยในต่างประเทศปี 2564 ทั้งจำนวน และรายได้ที่ส่งกลับ รายงานข่าวอย่างมติครม.เรื่องสิทธิการลาคลอด 98 วัน และผู้ชายลาเลี้ยงดูบุตรได้ 15 วัน

1 2 3 4 65