แรงงานรัฐวิสาหกิจ ยื่นป.ป.ช.และผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้ตรวจสอบการกระทำที่เข้าข่ายการกระทำทุจริตเชิงนโยบายเอื้อประโยชน์ให้เอกชน?

สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การสุรา (สร.สร.) ได้เข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และผู้ตรวจการแผ่นดิน เรื่อง ขอให้ตรวจสอบการกระทำที่เข้าข่ายการกระทำทุจริตเชิงนโยบายของเจ้าหน้าที่รัฐในกรมสรรพสามิตที่ออกประกาศกรมสรรพสามิตเอื้อประโยชน์ให้เอกชนและทำให้รัฐเสียหายโดยมิชอบ

แถลงการณ์ร่วม 93 สหภาพแรงงาน สนับสนุนตัวแทนจากพรรคการเมืองที่สามารถรวบรวมเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรเป็นนายกรัฐมนตรี

วันที่ 12 กรกฎาคม 2566 แถลงการณ์ร่วม 93 สหภาพแรงงาน สนับสนุนตัวแทนจากพรรคการเมืองที่สามารถรวบรวมเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรเป็นนายกรัฐมนตรี

รูปโฉม สาระและจิตวิญญาณของกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ที่กำลังแก้ไขปรับปรุงมีเพียงใด

รูปโฉม สาระและจิตวิญญาณของกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ที่กำลังแก้ไขปรับปรุงมีเพียงใด…จะพัฒนาให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ เป็นเครื่องมือทางกฎหมายที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นมืออาชีพในเรื่องระบบแรงงานสัมพันธ์ที่สร้างสรรค์ได้อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเชี่ยวชาญในการวินิจฉัยและออกคำสั่งในเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรม

ก้าวต่อไปของอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูปไทยเพื่อการปรับปรุงสภาพการทำงานและสิทธิแรงงาน

ยกระดับความมุ่งมั่นต่อโครงการแนวปฎิบัติการใช้แรงงานที่ดีในอุตสาหกรรมอาหารทะเลของไทย

กระบวนการยุติธรรมด้านแรงงานกับแรงงานข้ามชาติ

คลินิกกฎหมายด้านแรงงาน (31)  กระบวนการยุติธรรมด้านแรงงานกับแรงงานข้ามชาติ ชฤทธิ์ มีสิทธิ์ (06/2565)   เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2565 ผู้เขียนมีโอกาสได้ร่วมนำเสนอข้อมูลและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นปัญหาทางคดีแรงงานของแรงงานข้ามชาติ ซึ่งเป็นกิจกรรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาเครือข่ายอาสาสมัครด้านแรงงานข้ามชาติและครอบครัว จัดโดยภาคีเครือข่ายองค์กรที่ดำเนินงานเกี่ยวกับสิทธิแรงงานข้ามชาติ ที่จังหวัดเชียงใหม่ เห็นว่ามีหลายเรื่องหลายราวที่เกี่ยวกับการการคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติ อันจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจหรือผู้ปฏิบัติงานในเรื่องดังกล่าว ประเด็นแรก : แรงงานข้ามชาติอาจมีนายจ้างได้หลายรายและอาจเป็นการจ้างในระบบเหมาช่วง                    เป็นเรื่องปกติที่แรงงานข้ามชาติทำงานกับนายจ้างคนใด หรือบริษัทใด ก็จะเข้าใจว่าบุคคลนั้นหรือบริษัทนั้นเป็นนายจ้างของตน เพราะแรงงานมาสมัครทำงานกับบุคคลดังกล่าว แต่เนื่องจากในกรณีการจ้างแรงงานข้ามชาติทำงาน กฎหมายของไทยมีกฎ กติกาเกี่ยวกับการจ้างงาน เช่น ขออนุญาตใช้แรงงานข้ามชาติ ขอใบอนุญาตทำงาน เป็นต้น  ส่วนสถานประกอบการ หรือโรงงานอาจเป็นของนายจ้าง หรืออาจเช่าบุคคลอื่นก็ได้ อย่างไรก็ตาม  หากนายจ้างรายแรกตกลงกับลูกจ้าง  เพื่อโอนลูกจ้างไปให้นายจ้างรายใหม่ ซึ่งกฎหมายก็กำหนดไว้แล้ว ให้นายจ้างรายใหม่รับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ ที่นายจ้างและลูกจ้างเดิมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อกัน เมื่อตกลงกันแล้ว และนายจ้างใหม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมายและตามที่ตกลงกันแล้ว พันธะของนายจ้างเดิมก็สิ้นสุดทันที ลูกจ้างเดิมก็จะมีนายจ้างรายใหม่เป็นนายจ้าง โดยนับอายุงานต่อเนื่อง สวัสดิการต่าง ๆ โอนมาทั้งหมด แต่ระเบียบวินัย กฎต่างๆที่ใช้อยู่เดิมก็โอนมาด้วย อีกประการหนึ่ง อาจเป็นกรณีนายจ้างเดิมประสบปัญหาในการประกอบธุรกิจ เช่น มีปัญหาเกี่ยวคำสั่งซื้อ […]

1 2 3 65