สรุปข้อมูลการให้สัตยาบัน อนุสัญญาองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 187

20160504_080919

สรุปข้อมูลการให้สัตยาบัน อนุสัญญาองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 187 ว่า ด้วยกรอบเชิงส่งเสริมการดำเนินงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย พ..2459

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อให้สัตยาบันอนุสัญญา องค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 187 ว่าด้วยกรอบเชิงส่งเสริมการดำเนินงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย พ.ศ.2559 (ILO Convention No. 187 Re: Promotional Frameworkfor Occupational Safety and Health, 2006) โดยมอบให้สำนักความปลอดภัยแรงงานและสำนักพัฒนามาตรฐานแรงงาน ร่วมกันจัดทำข้อมูลรายละเอียดอนุสัญญาวิเคราะห์สถานะและการดำเนินงานของประเทศไทยที่สอดคล้อง กับหลักการ/บทบัญญัติแห่งอนุสัญญาฯ รวมถึงได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากผู้แทนภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวม 3 ครั้ง ก่อนเสนอเรื่องไปยังกระทรวงแรงงาน เพื่อผลักดันเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเรื่องการให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับที่ 187 ซึ่งกระทรวงแรงงานเสนอ

ในการประชุมเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2558 และได้มีมติเห็นชอบให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับนี้ โดยให้กระทรวงแรงงานดำเนินการตามกระบวนการที่เกี่ยวข้อง และมอบให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการ

ด้านพิธีสารเพื่อแจ้งจดทะเบียนการให้สตยาบัน ทั้งนี้ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากทั้งสองกระทรวง เพื่อตรวจสอบ จัดทำเอกสาร/คำแปลอนุสัญญาให้มี ความถูกต้องครบถ้วน รวมถึงดำเนินงานเตรียมการด้านต่างๆ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ลงนามในสัตยาบันสาร เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2559

ต่อมาเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2559 ปลัดกระทรวงแรงงาน (หม่อมหลวงปุณฑริก สมิติ) ได้เป็น ผู้แทนรัฐบาลไทยในการยื่นจดทะเบียนให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับนี้ ต่อผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ (Mr. Guy Ryder) ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส โดยถือเป็นอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 16๖ ที่ประเทศไทยให้สัตยาบัน และจะมีผลบังคับใช้ในอีก 12 เดือนถัดไป นับจากวันที่ให้สัตยาบัน

อนุสัญญา ILO ฉบับที่ 187 จัดเป็นมาตรฐานระหว่างประเทศฉบับพื้นฐานด้านความปลอดภัยในการทำงาน มีสาระครอบคลุมในเรื่องต่อไปนี้

  1. การมีนโยบายระดับชาติด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย เพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยของลูกจ้าง โดยกำหนดให้สอดคล้องตามแนวปฏิบัติและสภาพการณ์ภายในประเทศ
  2. การมีระบบการดำเนินงานระดับชาติด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ซึ่งประกอบด้วย หน่วยงานที่รับผิดชอบ บุคลากร กฎหมาย/ข้อบังคับ กลไกการบังคับใช้ ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ เพื่อขับเคลื่อนงานความปลอดภัยฯ ของประเทศ
  3. การมีแผนงาน/โครงการระดับชาติด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย เพื่อส่งเสริมการพัฒนาวัฒนธรรมเชิงป้องกัน การคุ้มครองลูกจ้างโดยขจัดหรือลดความเสี่ยงและอันตรายจากการทำงานให้มีน้อยที่สุดเท่าที่จะสามารถปฏิบัติได้
  4. การจัดทำรายงานข้อมูลด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยระดับชาติ เพื่อสรุปสถานการณ์ สถิติการประสบอันตรายจากการทำงาน นโยบายแผนงาน ตลอดจนผลการดำเนินโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งมีการเผยแพร่รายงานข้อมูลดังกล่าว

ปัจจุบัน ประเทศไนภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม และอินโดนีเซีย ได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับดังกล่าวก่อนหน้านี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และในการประชุมเครือข่ายความปลอดภัย และอาชีวอนามัยของอาเซียน (ASEAN-OSHNET) ในเดือนเมษายน 2559 ณ ประเทศเวียดนาม จะได้มีการ แจ้งเรื่องการให้สัตยาบันของประเทศไทย ในวาระเกี่ยวกับการให้สัตยาบันอนุสัญญา ILOของประเทศสมาชิก เพื่อประชาสัมพันธ์และหารือแนวทางการดำเนินงานทีเกี่ยวข้องร่วมกันด้วย

สำนักความปลอดภัยแรงงาน ในฐานะหน่วยงานหลักที่ขับเคลื่อนการดำเนินงานความปลอดภัย และอาชีวอนามัยของประเทศ ได้เตรียมการเพื่อพัฒนา/ยกระดับการดำเนินงานในประเด็นด้านต่างๆ รองรับ การให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับนี้โดยสถานะปัจจุบันและแนวทางการดำเนินงานที่สอดคล้องตามองค์ประกอบ ที่เป็นข้อกำหนดภายไต้อนุสัญญาดังกล่าว สรุปได้ดังนี้

  1. นโยบายระดับชาติด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

– มีนโยบายด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ได้แก่ นโยบายรัฐบาล ระเบียบวาระแห่งชาติ แรงงานปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี ซึ่งได้มีการประกาศใช้ตั้งแต่ปี 2559 และยังคงมีผลอยู่

ณ ปัจจุบัน โดยอยู่ระหว่างการจัดทำระเบียบวาระแห่งชาติ ระยะที่ 2 (2560-2564) เสนอรัฐบาลเพื่อประกาศใช้ต่อไป

  1. ระบบการดำเนินงานระตับซาติด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

– มี พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 เป็นกฎหมายเฉพาะด้านความปลอดภัยฯ และมีการพัฒนากฎหมายลำดับรองที่ครอบคลุมประเด็นด้านต่างๆ อีกเป็นจำนวนหลายฉบับ

– มีหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบคือ สำนักความปลอดภัยแรงงาน ซึ่งอยู่ระหว่างการผลักดันยกระดับเป็นหน่วยงานระดับกรม

– มีพนักงานตรวจความปลอดภัย เป็นบุคลากรที่มีหน้าที่ดูแลตรวจสอบ บังคับใช้กฎหมายและมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน รับผิดชอบในการดำเนินงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ของสถานประกอบการ ซึ่งมีคุณสมบัติและได้รับการแต่งตั้งขึ้นตามกฎหมาย

– มีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เป็น คณะกรรมการไตรภาคีระดับชาติ

– มีคณะกรรมการส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

เป็นคณะกรรมการระดับชาติ

  1. แผนงาน/โครงการระดับชาติด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ประเมินแผนฉบับแรก

-มีแผนแม่บทความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559 ขณะนี้อยู่ระหว่างการยกร่างแผนแม่บทฯ แห่งชาติ ฉบับที 2 (พ.ศ.2560-2565)

– มีการดำเนินโครงการ/กิจกรรมต่างๆ ตามยุทธศาสตร์ภายใต้แผนแม่บทฯ แห่งชาติ

  1. รายงานข้อมูลด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยระดับชาติ

– มีข้อมูลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยฯ โดยได้มีการจัดทำรายงานสถานการณ์การ

ดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของประเทศไทย ทังเป็น ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อเผยแพร่

– สำนักความปลอดภัยแรงงานได้รับการแต่งตั้งจาก ILO ให้เป็นศูนย์ข้อมูลระดับชาติด้าน ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (ILO_CIs National Center) ของประเทศไทย และได้ร่วมโครงการต่างๆ เช่น การพัฒนาระบบฐานข้อมูลทางวิชาการ/มาตรฐานด้านความปลอดภัย” (LEGOSH) เป็นต้น

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีการเตรียมการดำเนินงานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน ภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ อันเป็นการพัฒนาการดำเนินงานให้มีความเข้มแข็งและเป็นที่ยอมรับมากยิ่งขึ้น ได้แก่

– การเป็นสมาชิกที่ร่วมก่อตั้งเครือข่ายความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของอาเซียน (ASEAN Occupational Safety and Health Network, ASEAN-OSHNET)

– การจัดทำข้อตกลงความร่วมมือทวิภาคีกับประเทศต่างๆ ได้แก่ เกาหลี สิงคโปร์ (ขณะนี้ อยู่ระหว่างเจรจากับจีนและญี่ปุ่น) เพื่อพัฒนาทางวิชาการและยกระดับการดำเนินงานต้านความปลอดภัยฯ ของประเทศ

– การจัดทำโครงการ/กิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมด้านความปลอดภัยฯ ทีมุงเน้นประเด็นที่ สอดคล้องกับเป้าหมายการดำเนินงานของนานาประเทศ เช่น จัดงานวันความปลอดภัยและอาชีวอนามัยสากล เพื่อสร้างความตระหนักและจิตสำนึกอันจะนำไปสู่การพัฒนาวัฒนธรรมความปลอดภัยฯ เป็นต้น

———————————————————-

สรุปโดย ดร.วิสันติ เลาหอุดมโชค

นักวิชาการแรงงานชำนาญการ สำนักความปลอดภัยแรงงาน