แรงงานวัยกลางคนกับการเปลี่ยนอาชีพ

ทางเว็บไซต์ http://aromfoundation.org ขอนำเสนอเนื้อหาหนังสือ “แรงงานวัยกลางคนกับการเปลี่ยนอาชีพ กรณีศึกษา แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม” เขียนโดย ตะวัน วรรณรัตน์ สนับสนุนโดย มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ ร่วมกับมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES) ซึ่งเป็นรายการการศึกษา เรื่อง “แรงงานวัยกลางคนกับการเปลี่ยนอาชีพ กรณีศึกษา แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม” ที่ได้ตีพิมพ์ เมื่อเดือนตุลาคม 2559 ทางเว็บไซต์ http://aromfoundation.org จึงขอนำหนังสือดังกล่าวมาลงเพื่อเผยแพร่เป็นความรู้ และข้อมูลของแรงงานวัยกลางคนกับการเปลี่ยนอาชีพ ให้กับสังคม สื่อมวลชน นักศึกษา ผู้ใช้แรงงาน ข้าราชการ นักวิชาการ และบุคคลทั่วไปที่สนใจได้ศึกษา

เปิดอ่านหนังสื่อฉบับเต็มได้ที่นี่ The study reports Labour midlife career change with a case study of textile and garment industry workers.

คำนำ

ปัจจุบัน อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานราคาถูกในประเทศไทย โดยเฉพาะ อย่างยิ่งอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีแนวโน้มที่จะเคลื่อนย้ายฐาน การผลิตออกจากประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผล กระทบต่อผู้ใช้แรงงานมาเป็นลำดับ

คนทำงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มส่วนใหญ่เป็นคนงาน หญิงที่มีการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทำงานมานานกว่า 20 ปี และมีอายุเข้าวัยกลาง คน ถ้าต้องออกจากงาน ไม่ว่าด้วยเหตุจากการถูกเลิกจ้างหรือการเกษียณอายุ ส่วนใหญ่ยังมีความจำเป็นต้องหางานใหม่ทำเพื่อเลี้ยงชีพและครอบครัว แต่ ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้น ทำให้ยากที่จะไปเริ่มงานในตลาดแรงงานที่ใช้ เทคโนโลยีสมัยใหม่ ดังนั้นจึงเป็นที่น่าสนใจศึกษาว่าตลาดแรงงานแบบไหน ที่น่าจะเป็นทางเลือกสำหรับแรงงานกลุ่มนี้ ที่สำคัญ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ ภาครัฐ ควรเตรียมความพร้อมอย่างไรเพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนงานในช่วงวัย ดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อให้คนงานยังมีความมั่นคงด้านรายได้ต่อไป

มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ ร่วมกับ มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท จึงได้ ทำการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ โดยเก็บข้อมูลจากผู้ใช้แรงงานในกิจการสิ่งทอและ เครื่องนุ่งห่มหลายพื้นที่ ในระหว่างเดือนสิงหาคม – ตุลาคม 2558
คณะผู้จัดทำขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่งสำหรับทุกท่านที่มีส่วนสำคัญในการ เก็บข้อมูล ได้แก่ คุณประวร มาดี และกรรมการของสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรม สิ่งทอ การตัดเย็บเสื้อผ้า และผลิตภัณฑ์เครื่องหนังแห่งประเทศไทย คุณศรีไพร นนทรีย์ ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานกลุ่มย่านรังสิตและใกล้เคียง คุณเจษฎา โชติกิจภิวาทย์ ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า จังหวัดเชียงใหม่ คุณอรุณี ศรีโต สมาคมส่งเสริมสิทธิชุมชนเพื่อการพัฒนา คุณมานพ แก้วผกา กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า ยี่ห้อ Dignity Return คุณจิตรา คชเดช กลุ่มผู้ผลิตชุดชั้นใน Try Arm และ ผู้ใช้แรงงานทุกท่านที่กรุณาให้ข้อมูล และสุดท้าย ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง สำหรับผู้เขียน ได้แก่ คุณตะวัน วรรณรัตน์ และ ที่ปรึกษา ได้แก่ คุณพูลทรัพย์ สวนเมือง ตุลาพันธุ์

ทางคณะผู้จัดทำหวังว่ารายงานชิ้นนี้จะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับคนงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสำหรับการทำงานส่งเสริมความมั่นคงด้านอาชีพ ของคนงานต่อไป

คณะผู้จัดทำ
ตุลาคม 2559