อ.อนุสรณ์ ธรรมใจ ย้ำวิกฤตโควิดเสี่ยงตกงาน3.8 ล้านคน

นักวิชาการ ชี้โควิด-AI ทำแรงงานตกงานมากกว่าต้มยำกุ้ง-แฮมเบอร์เกอร์ เสนอแผนฟื้นฟูต้องสร้างการจ้างงาน และพัฒนาทักษะเพื่องานในอนาคต

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน 2563 มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES) ร่วมกับ ภาคีสังคมแรงงานสู้วิกฤตโควิด จัดโครงการเสวนา เรื่อง การฟื้นฟูเศรษฐกิจและการจ้างงานหลังโควิด ณ ห้องประชุม โรงแรม อะบลูม เอ็กซ์คลูซีฟ เซอร์วิส อพาร์ทเมนท์  ถนนพหลโยธิน ซอย 3 กทม. (พร้อมถ่ายทอดสดทาง https://www.facebook.com/voicelabour.org/ ) ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.นภาพร อติวานิชยพงศ์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

          ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตคณบดีเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้บรรยายในหัวข้อ การฟื้นฟูเศรษฐกิจและการจ้างงานหลัง Covid19 ว่า พลวัตเศรษฐกิจโลก และ ทิศทางเศรษฐกิจโลก 2020-2024 ภาพรวมเศรษฐกิจโลกเติบโตในระดับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยโดยเฉลี่ย โดย เศรษฐกิจจีน ญี่ปุ่นและเอเชียตะวันออกอาจขยายตัวตํ่ากว่าประมาณการ ประเทศไทยไทยต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในนโยบายเศรษฐกิจ การบริหารเศรษฐกิจและ กระบวนทัศน์ใหม่ในการบริหารธุรกิจ จากการวิเคราะห์ผลกระทบของ COVID19 กับการถดถอยของ เศรษฐกิจไทย โดยมองว่า ผลกระทบที่รุนแรงจาก COVID-19 สะท้อนความเปราะบางของเศรษฐกิจไทย จากโครงสร้างเศรษฐกิจที่กระจุก ตัวสูงในภาคการท่องเที่ยวและความเชื่อมโยงทางการค้ากับประเทศจีน

โดยผลกระทบไม่ได้จํากัดอยู่แค่ภาคการท่องเที่ยว แต่จะลุกลามไปยังธุรกิจต้นนํ้าและปลายนํ้าที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน ของภาคการท่องเที่ยว ธุรกิจที่เกี่ยวโยงกับห่วงโซ่การผลิตของจีน รวมทั้งผลกระทบรอบสองจากรายได้ที่ลดลง ซึ่ แรงงานในภาคบริการทั้งในและนอกระบบเสี่ยงตกงานและสูญเสียรายได้ ขณะที่ภาคการเกษตรและภาคการผลิต ไม่สามารถทําหน้าที่ดูดซับแรงงานเหล่านี้ได้ในภาวะปัจจุบัน และสิ่งที่ต้องติดตาม คือ (1) การแพร่ระบาดจะยืดเยื้อและลุกลามในไทยหรือไม่ (2) มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของ ภาครัฐจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดในการประคับประคองเศรษฐกิจ

โควิด -ผลกระทบที่เกิดกับแรงงานจะมีการฟื้นฟูได้อย่างไร ผลกระทบจากโควิด เศรษฐกิจโลกบอกว่า จะติดลบ 49 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลอย่างไรกับเศรษฐกิจไทย การที่ประเทศไทยหนักกว่าประเทศอื่นๆด้วยประเทศไทยมีความพึ่งพาการท่องเที่ยวมากขึ้น และมีผลกระทบจากโควิดที่มีการพึงพานักท่องเที่ยว และยังมีการส่งออกที่พึ่งพาก็ได้รับผลกระทบหมด ซึ่งทั้งลดค่าจ้าง เลิกจ้าง หากบริษัทขนาดใหญ่มีการจ่ายตามกฎหมายแรงงาน หรือเพิ่มให้เล็กน้อย แต่บางส่วนก็มีการดิ้นเพื่อความอยู่รอดอาจทำแค่ตามกฎหมาย หรือแม้อาจมีน้อยกว่ากฎหมาย แต่ตรงนี้ผิดกฎหมายเสี่ยงต่อการมีปัญหา

วิกฤติโลกหดตัวมากกว่า ต้มยำกุ้งซึ่งมีความรุนแรงมากกว่า ด้วยเป็นคนข้างล่าง Un skilled Labour ด้วยประเทศเรายังอยู่ภายใต้การปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตยมานาน และการเลือกตั้งที่ยังไม่เป็นประชาธิปไตยเต็มใบ และที่น่าเสียใจคือแรงงานส่วนมากที่สนับสนุนการยึดอำนาจ ด้วยจริงแล้วแรงงานควรสนับสนุนประชาธิปไตย และน่าเสียใจว่าผู้นำแรงงานไม่มีจุดยืนที่มั่นคงในระบอบประชาธิปไตย ด้วยสหภาพแรงงานเป็นขบวนการจัดตั้งภายใต้ระบบประชาธิปไตย

ภาคธุรกิจและบริการที่ต่อเนื่องจากภาคการท่องเที่ยว

ประเทศไทยมีการเชื่อมกับเศรษฐกิจการท่องเที่ยวประเทศจีนอย่างมาก หากกล่าวว่าประเทศไทยเป็นการจัดการเรื่องการระบาดของโรคค้อนข้างดี แต่หากจะดีมากต้องไต้หวันที่เด็ดขาด เพราะว่าการนำเข้าของโรคระบาดนั้น เมื่อมีการจัดการที่ไม่ดีที่ประกาศปิดกิจการหลายประเภทโดยไม่มีมาตรการดูแลทำให้เกิดการระบาดไปทั่วประเทศ และการที่มีการคลายล๊อคในแง่เศรษฐกิจอาจดีขึ้น แต่ว่ายังไม่ถึงจุดต่ำสุดของการจ้างงานของแรงงาน

ปัญหาการว่างงานที่รุนแรงที่สุด ที่ประเทศไทยประสบคือวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง ตอนแฮมเบอร์เกอร์ ยังไม่มีมีปัญหาการว่างงานมากนัก ตอนวิกฤตต้มยำกุ้งมีอยู่ 4.4 เปอร์เซ็นต์ และกระทรวงแรงงานคิดว่า อัตราการว่างงานจะอยู่ที่ 3-4 เปอร์เซ็นต์ ราว 2-3 ล้านคน ซึ่งใกล้เคียงกับต้มยำกุ้ง แต่คิดว่า น่าจะอยู่ที่ 3.8 ล้านคน และคิดว่าตัวเลขวิ่งไปถึง 5 ล้านคน เป็นภาวะที่น่าเป็ยห่วงอย่างมากในจำนวนแรงงาน 38 ล้านคน ซึ่งจะกระทบกับสถาบันครอบครัวอย่างมาก และสังคมไทยที่ไม่ได้รับการดูแลดีนักจะกระทบจนทำให้คนออกมาก่อความวุ่นวายได้หากไม่ได้รับการดูแลดีพอ ซึ่งตอนนี้ต้องการการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมากขึ้น การที่มีการจัดการของอุดมการณ์ขวาจัดประเทศไทย วาทะกรรมอย่างชังชาติ ล้มเจ้าเป็นวาทะกรรมที่จะสร้างความขัดแย่งให้กับประชาชน หรือวาทะกรมแบบรสช.แย่มา เลวร้ายก็ต้องมีการคิดด้วยเช่นกัน แรงงานต้องไม่เป็ยเบี้ยให้ขบวนการช่วงชิงอำนาจนั้นมาหลอกใช้ ขบวนการแรงงานต้องไม่เป็นเครื่องมือให้เขา ขบวนการแรงานต้องสร้างเอง ทำไมขบวนการแรงงานไม่มีบทบาทในพรรคการเมืองได้ ทำไมถึงทำไม่ได้ องค์กรลูกจ้างทำไมมีจำนวนมาก ซึ่งไม่มีประเทศไหนมีมากเช่นนี้ ทำไมการเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อประโยชน์ของแรงงาน ต่อสังคมหาย จากเดิมที่มีการขับเคลื่อนประกันสังคมเมื่อในอดีตที่มีความเข้มแข็งอย่างมากทุกภาคส่วนมาร่วมกัน

ปี 2540 ที่มีการเคลื่อนไหวด้วยคนตกงานจำนวนมากและมีการเคลื่อนไหวให้เกิดประกันการว่างงานมีการบังคับใช้จนทุกวันนนี้ นักการเมืองไม่ว่าจะมีอุดมการณ์ความคิดทางไหน มีประโยชน์ต่อประชาชนเขาทำทั้งสิ้นหากเป็นช่องทางหาเสียง การปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาท นั้นเพราะขบวนการแรงงาน หรือว่ามีนักวิชาการแบบอาจารย์นิคม

คนที่มีเงินฝากในประเทศร้อยละ 90 มีเพียง 98 เปอร์เซ็นต์ ประเทศไทยคนไทยยังอยู่ในรายได้ระดับปานกลางอยู่นานมาก ปี 2475 หากมีการเปิดให้ประเทศไทยมีการพัฒนาแบบเต็มที่ประเทศจะเจริญมาก แต่วันนี้ที่ยังอยู่กันได้เพราะประเทศไทยยังมีดีอยู่มาก ขบวนการแรงงานมีคนอย่างไพศาล ธวัชชัยนันท์ และอารมณ์ พงศ์พงัน มีความผู้นำแรงงานปัญญาชน กรณีคุณทนง โพธิ์อ่าน ที่ถูกอุ้มหาย และยังมีการอุ้มหายตามมา ตอนนี้หนักมากที่มีการอุ้มหายถึงนอกประเทศ

การจะแก้ปัญหาต้องมีความสามัคคี และขี้ขาดไม่ได้  การต่อสู้ของผู้นำแรงงานต้องเสียสละ ต้องการคนที่อุทิศตัว ไม่ใช่เวทีที่อาศัยในการตั้งเป็นสว. การเข้ามาเพื่อตั้งพรรคการเมืองก็ทำ แต่ว่าหากทำต้องพร้อม และสู้เมื่อมั่นใจว่าชนะ หากไม่ชนะก็ไม่สู้เพราะสู้ไปก็ถูกทำลายอีก คนที่ต้องการให้ขบวนการแรงงานที่เข้มแข็ง ทำทุกอย่างเพื่อที่จะสร้างพลังให้ขบวนการแรงงานที่เข้มแข็งทำเพื่อที่ขบวนการแรงงานอย่างแท้จริง

การเพิ่มความหนืดมองแบบนักเศรษฐศาสตร์ หากมองแบบนักแรงงานต้องสู้ให้สุด แต่อาจไม่ได้อย่างที่คิด แต่ต้องมีคนมาช่วยแบบแรงงาน และต้องพบกันครึ่งทางต้องคุยกันว่า ตรงไหนที่พอคุยกันได้ และการเพิ่มความหนืดในการผ่อนคลายการเลิกจ้าง เพราะหากไม่เพิ่มความหนืดอาจมีการเลิกจ้างมากขึ้น ด้วยสถานการณ์โควิดมีความเสี่ยงและยาวนานไปอีก ซึ่งต้องมีการเสนอเพิ่มเงินชดเชยให้มากขึ้นอีก จริงๆแล้วแรงงานต้องการที่จะทำงานแต่ก็ต้องเห็นใจด้วยเมื่อเขาขายของไม่ได้จริง ใช้ระบบแรงงานสัมพันธ์เข้ามาคุยกัน

ต้องมีการสู้เพื่อให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาฉบับที่ 87 และ 98 ด้วยการจัดตั้งสหภาพแรงานขึ้นอยู่กับอำนาจรัฐ หากรัฐไม่เอาการจัดตั้ง และหากมีการจัดตั้งสหภาพแรงงานได้เลยแบบเสรี ต้องคิดแบบเปิดกว้าง การบริหารแบบมีส่วนร่วมนายจ้างคิดแบบนี้ ให้ลูกจ้างเป็นคนในครอบครัว และทุนที่มีคนงานร่วมเป็นเจ้าของ

ปัญหาการว่างงาน นโยบายการเงินที่มีการความเกี่ยวข้องกับการเงินที่มีดอกเบี้ย และเกี่ยวกับธนาคารแห่งประเทศไทย แลเป็นนโยบายอนุรักษ์นิยม แต่ไม่ได้คิดโจทย์ที่ก้าวหน้ากว่านี้ ไม่ได้มีนโยบายการเงินแก้ปัญหาวิกฤติอย่างไร ไม่ได้สนใจคนเป็นอย่างไร ประเทศไทย

มาตรการการคลังก็เกี่ยวกับภาษี รายได้ ซึ่งก็เมื่อมีการล็อกดาวน์ก็มีการชดเชยการขาดรายได้ และอีก 4 แสนแสนล้านบาท แรงงานยังไม่มีบทบาทเรื่องนี้ และตอนนี้มีคนเสนอโครงการมาแล้ว 1ล้านล้านบาท ซึ่งตนก็เสนอให้เน้นไปที่การส่งเสริมการจ้างงาน แต่ก็เท่าที่รู้ข้อมูลคือจะเป็นงบสนับสนุนเชิงโครงสร้าง เมื่อเลยเวลา การเสนอคงช้าไป คงต้องไปร่วมกับรัฐที่มีเสนอไป และต้องมีกระบวนการตรวจสอบ

ผศ.ดร.อนุสรณ์ ยังกล่าวอีกว่า อยู่ที่ราชการ และการเมืองที่ต้องเข้าใจมีความก้าวหน้าในการจัดสรรงบประมาณมาให้สหภาพแรงงาน เพื่อการจัดการพัฒนาให้กับแรงงานโดยตรง แต่สิ่งนี้ไม่เกิด แต่เราต้องเป้นสหภาพแรงงานที่เข้าไปหางบประมาณกับรัฐเพื่อให้ได้งบมา แต่เสนอแล้วจะได้หรือไม่ก็ต้องทำใจ

เรื่องแรงงานกับการเมืองก็ได้มีการทำงานวิจัยกับนักวิชาการบางท่านในสมัย 2475 และคณะราษฏร์ได้มีการให้ความสนับสนุนแรงงานอย่างมาก แต่เป็นระยะสั้นๆเมื่อจอมพลป.เข้ามามีอำนาจ และจากนั้นก็ไม่มีอีกเลยในการที่จะสนับสนุนขบวนการแรงงาน หากไม่เปลี่ยนประเทศนี้เป็นประชาธิปไตยก็จะมีการแบ่งแยกแบบนี้ไปเรื่อยๆ โดยมีการใช้วิธีครอบทางความคิดมากกว่าทำให้ทำอะไรไมได้ หรือว่า จะทำให้แรงงานเข้มแข็งก่อนถึงจะเป็นประชาธิปไตย ก็ยาก แต่ว่า หากมีการรับรองอนุสัญญา87 และ98 ก็จะทำให้พลังแรงงานขึ้นมา แต่อย่างไรก็ตามมีการเปลี่ยนแปลงแน่นอน แต่จะในรูปแบบไหนแบบลุกฮือกันขึ้นมาเพื่อเปลี่ยนแปลง อยู่ที่บริบทไม่ได้มีสูตรสำเร็จ

การจ้างงานในอนาคตจะมีการจ้างงานแบบให้ทำงานอยู่ที่บ้านมากขึ้นแน่นอน ประเด็นคือต้องทำให้เกิดมาตรฐานด้านการจ้างงานที่มีเกณฑ์

โดยข้อเสนอ การต่อสู้ร่วมกับขบวนการทางสังคมแบบมีส่วนร่วม ระยะยาวให้มีการแก้ไขพรบ.คุ้มครองแรงงาน และมีการแก้ไขพรบ.แรงงานสัมพันธ์ และขับเคลื่อนILO ฉบับที่ 87 และ98 ด้วยปัฐหาแรงงานมีทั้งการจ้างงานไม่มั่นคง และการจัดตั้งสหภาพแรงงาน