สภาแรงงานยานยนต์ เสนอ 4 ข้อเรียกร้องหวั่นกระทบหนักหลังนายจ้างปิดงานยาว

วันที่ 27 มีนาคม 2563 สภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย(ส.อ.ย.ท.) ได้ยื่นหนังสือถึง นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา, หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีวาการกระทรวงแรงงาน,และยื่นต่อ นายสุเทพ อู่อ้น ประธานกรรมาธิการ การแรงงานสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้รัฐบาลตั้งงบประมาณช่วยเหลือแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากโรคไวรัส Covid 19

นายมานิตย์ พรหมการีย์กุล ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย(ส.อ.ย.ท.) กล่าวว่า สภาพปัญหาผลกระทบจากไวรัส ดคโรนา (Covid-19) สร้างผลกระทบกับแรงงานจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นแรงงานในระบบอุตสาหกรรม หรือแรงงานนอกระบบอุตสาหกรรม ที่ไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และยังมีประเด็นแรงงานข้ามชาติด้วย นายจ้างมีการปิดงานจำนวนมากบางส่วนกระทบจากการประกาศปิดงานของภาครัฐซึ่งตรงนี้รัฐบาลมีการออกมาตรการมาดูแยียวยาบางส่วน แต่แน่นอนว่ายังไม่มีการดูแลแบบครอบคลุมแรงงานทุกกลุ่ม และมีความตกหล่นอีกมากมาย ทางสภาฯจึงได้มีการยื่นหนังสือถึงรัฐบาล โดยส่งถึงนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และประธานกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฏร ซึ่งมีข้อเรียกร้องจำนวน 4 ข้อ โดยมีเนื้อหา ดังนี้

จากปัญหาสถานการณ์โรคไวรัส Covid -19 ที่เกิดขึ้นในเกือบทุกประเทศทั่วโลกรวมทั่งประเทศไทย ยังไม่มีทีท่า ว่าจะจบลงได้เมื่อไหร่จากปัญหาดังกล่าวได้มีผลกระทบกับเศรษฐกิจ สถานประกอบการ ภาคการผลิต การบริการ ท่องเที่ยว และอื่นๆอีกมากมายมีหลายสถานประกอบการต้องลดกำลังการผลิตลงหรือแม้กระทั่งปิดกิจการเป็นการชั่วคราวและถาวรทำให้ลูกจ้างหลายๆ คนไม่มีงานทำไม่ได้รับค่าแรงยิงเป็นการซ้ำเติมลูกจ้าง มนุษย์เงินเดือนเป็นอย่างมากเพื่อบรรเทาความ เดือดร้อนของลูกจ้างที่โดนปิดงาน เลิกจ้างหรือลาออกจากงาน ให้เขาสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ต่อไป

สภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทยจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือลูกจ้างดังต่อไปนี้

  1. ให้รัฐบาลจ่ายเงินช่วยเหลือจา นวน 100% ของเงินเดือน เดือนสุดท้ายก่อนที่บริษัทจะมีคำสั่งปิดงานเป็นเวลา 6 เดือน (180วัน)
  2. ให้รัฐบาลจ่ายเงินช่วยเหลือลูกจ้างที่โดนเลิกจ้างจำนวน 100% ของเงินเดือน เดือนสุดท้ายโดยคำนวณเหมือนกับพรบ. คุ้มครองแรงงานมาตรา 118
  3. ให้รัฐบาลจ่ายเงินช่วยเหลือลูกจ้างที่ลาออกจากงานจำนวน 100 % ของเงินเดือน เดือนสุดท้ายโดยให้คำนวณ เหมือนกับพรบ. คุ้มครองแรงงานมาตรา 118
  4. ให้รัฐบาลส่งเสริมอาชีพพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อให้ลูกจ้างสามารถที่จะกลับเข้าไปทำงานใหม่ได้ตามความ ต้องการของตลาดแรงงานและอุตสาหกรรมต่างๆ

ทั้งนี้ หากสวัสดิการอื่นๆที่บริษัท มีอยู่และจ่ายให้ที่ดีอยู่แล้วให้คงไว้เหมือนเดิมไม่นับรวมกับข้อเรียกร้องนี้