นายจ้างอ้างผลกระทบจากโควิด-19 ปิดงานชั่วคราว

นายจ้างสิ่งทอ ตัดเย็บเสื้อผ้า อ้างโควิด-19ปิดงานชั่วคราว โรงงานเครืองประดับร่วมด้วยให้ลูกจ้างลาออก แนะใช้ประกันว่างงานประกันสังคม

วันที่ 10 เมษายน 2563 ด้วยสภาพปัญหาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ลุกลามไปทั่วโลก จึงทำให้หลายบริษัทมีการประกาศหยุดกระบวนการผลิตเป็นการชั่วคราว

นายสุทัศน์ เอี่ยมแสง รองประธานสหภาพแรงงานไทยเรยอน ได้กล่าวว่า บริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) ได้ประกาศ เรื่องกำหนดหยุดการทำงานบางส่วนเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2563 เรื่องกำหนดหยุดการทำงานบางส่วนในวันที่ 10-16 เมษายน 2563 โดย นายธีรธร คัมภีร์ รองประธานและหัวหน้างานฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งการประกาศปิดจะเป็นการผลัดกันหยุดทุกคนเพื่อไม่ให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกัน ทั้งพนักงานฝ่ายผลิต และพนักงานออฟฟิตด้วย กลุ่มแรกจำนวน 144 คน โดยเป็นการคัดเลือกกันในแต่ละแผนก โดยจะให้เวียนกันหยุดระยะเวลา 3 วัน บ้าง 7 วันบ้าง ครั้งนี้บริษัทฯให้มีการเลือกกันเอง แต่ก็ยังมีผลกระทบกันอยู่ด้วยบางส่วนก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับบริษัทในการหยุดรับค่าจ้างร้อยละ 75 แต่บางส่วนก็ไม่ค่อยพอใจเนื่องจากมีภาระหนี้สิน ภาระครอบครัว ค่าใช่จ่ายที่สูงเมื่อรายได้หายไปร้อยละ 25 ถือว่ามากทีเดียว ตอนนี้ทางออมทรัพย์สหภาพแรงงานไทยเรยอน จำกัด ซึ่งเป็นสหกรณ์ของสหภาพแรงงาน ก็กำลังพิจารณาเรื่องผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเช่นกัน

“การหยุดงานชั่วคราวครั้งนี้คิดว่าทุกคนกระทบหมดไม่ว่าจะเป็นพนักงานที่อยู่ในกระบวนการผลิตราว 700 คน และพนักงานออฟฟิตที่ส่วนกลางราว 200 คน รวม 900 คน ซึ่งหากถามว่า ผลกระทบจากโควิดที่เกิดขึ้นในจังหวัดอ่างทองก็ยังไม่พบคนป่วย แต่ผลกระทบเท่าที่ทราบคือฝ่ายที่ผลิตส่งแถบยุโรปถูกตีกลับซึ่งฝ้ายนี้จะนำไปผลิตเสื้อกันหนาว ตอนนี้ก้มีการปรับตัวมาผลิตฝ้ายที่ใช้ทางการแพทย์ เช่นสำลี หรือหน้ากากอนามัย เป็นต้น ” สุทัศน์ กล่าว

นายสุทัศน์ ยังกล่าวอีกว่า อยากให้รัฐบาลเข้ามาดูแลรายได้ที่ขาดหายไปของคนทำงานในระบบด้วย เพราะรายได้ของคนทำงานไม่ได้มากอะไร เมื่อรายได้หายไปถึงร้อยละ 25 ถือว่าเริ่มทุกยากแล้ว แต่ละคนก็มีภาระปกติการทำงานยังต้องทำงานล่วงเวลาเพื่อหารายได้เพิ่มอีกคน ซึ่งคนงานไทยเรยอน ส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่ราวร้อยละ 80 อีกราวร้อยละ 20 เป็นคนนอกพื้นที่จังหวัดอ่างทองที่ต้องมีการเช่าหอพักอยู่ และไม่สามารถเดินทางไปไหนได้ ด้วยมาตรการป้องกันความปลอดภัยของทั้งจังหวัดอ่างทอง

ทั้งนี้ หนังสื่อที่บริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) ได้ประกาศ เรื่องกำหนดหยุดการทำงานบางส่วนเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2563 เรื่องกำหนดหยุดการทำงานบางส่วนในวันที่ 10-16 เมษายน 2563 ลงนามโดย นายธีรธร คัมภีร์ รองประธานและหัวหน้างานฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ ในประกาศมีเนื้อหาดังนี้ สืบเนื่องจากสถานการณ์ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ลุกลามไปทั่วโลกจึงทำให้บริษัทฯ กำลังเผชิญกับปัญหาร้านแรงที่ยอดคำสั่งซื้อสินค้าล็อดใหม่ขอองเส้นใยเกรย์ (Grey fibre) และเส้นใยโมดาล (Modal fibre) ขาดหายไป ตลาดส่งออกสำคัญของบริษัทฯคือปากีสถาน บังกลาเทศ และตุรกี ซึ่งขณะนี้ต่างอยู่ในมาตรการห้ามเข้า-ออกประเทศ และสถานการณ์ฉุกเฉิน ห่วงโซ่มูลค่าของสิ่งทอทั้งหมดหยุดชะงัก การสั่งซื้อจำนวนมากถูกระงับไว้ก่อนชั่วคราว หรือถูกยกเลิกลูกค้าหลายรายของบริษัทฯไม่ได้ทำการเปิดตราสารเครดิต (LCs) หรือทำการชำระเงินล่วงหน้าตามเงื่นไขของสัญญา เนื่องจากผลกระทบทางธุรกิจที่เกิดขึ้นต่อตัวลูกค้าเอง และในลูกค้าบางรายได้รับผลกระทบเนื่องจากผู้ให้บริการด้ดานส่งสินค้าออกนอกประเทศ, ปัญหาทางด้านระบบธนาคาร การบริการขนส่งหยุดให้บริการ แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทเองยังสามารถดำเนินการจัดส่งเส้นใยนอนวูเว่น ซึ่งเป็นเส้นใยที่ๆไม่ใช่สำหรับสิ่งทอ (non-woven fibre) ให้ลูกค้าได้ต่อไป เนื่องจากความต้องการเส้นใยนอนวูเว่นส่วนใหญ่ลูกค้านำไปใช้ในผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพและสุขอนามัย

ในขณะที่บริษัทฯ กำลังเผชิญกับความสูญเสียทางการเงินในช่วงสองสามไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งเกิดขึ้นก่อนที่จะเกิดผลกระทบจากไวรัสโคโรนา ยอดการสั่งซื้อที่ขาดหายและการยกเลิกการสั่งซื้อบางส่วน ซึ่งคาดการณ์ว่า จะนำไปสู่การแบกรับภาระต้นทุนที่มากขึ้น และบริษัทฯไม่สามารถแบกรับภาระของต้นทุนคงที่นี้ได้ ด้วยเหตุดังกล่าว บริษัทฯ จึงมีความจำเป็นต้องพิจารณา และตัดสินใจหยุดการทำงานบางส่วนเป็นการชั่วคราวตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2551 มาตรา 75 โดยจะเริ่มหยุดการทำงานบางส่วนเป็นการชั่วคราวตั้งแต่ วันที่ 10-16 เมายน 2563 โดยบริษัทฯจะจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างในอัตรา 75% ของค่าจ้างปกติที่ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับตลอดระยะเวลาที่หยุดกิจการชั่วคราวให้แก่ลูกจ้าง

การหยุดการทำงานในบางส่วนในครั้งนี้ไม่มีผลกระทบต่อการประเมินผลการปฏิบัติงาน และไม่ส่งผลต่อการคำนวณเบี้ยขยันประจำเดือนและรางวัลความเพียรประจำปี

เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2563 โดย นางสาวสงวน ขุนทรง ผู้ประสานงานกลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย – อ้อมใหญ่ ได้กล่าวถึงปัญหาของแรงงานในกลุ่มว่า ขณะนี้บริษัทนครหลวงถุงเท้าไนล่อน จำกัดได้มีการประกาศปิดงานใช้มาตรา 75 กฎหมายคุ้มครองแรงงาน จ่ายค่าจ้างร้อยละ 75 ตั้งแต่วันที่ 7 -11 เมษายน 2563 โดยอ้างว่าไม่มีคำสั่งซื้อ และขนส่งสินค้าไม่ได้ ซึ่งตอนนี้ทางบริษัทได้ทำงานผลิตเสื้อผ้ามีออเดอร์ทั้งส่งต่างประเทศ และในประเทศ ซึ่งไม่มากนัก มีการปรับไลน์ผลิตมาผลิตหน้ากากผ้าบ้าน ตอนนี้มีคนทำงาน 200 คน เป็นแรงงานข้ามชาติ 50 คน เนื่องจากไม่มีงานล่วงเวลาทำให้แรงงานข้ามชาติลาออกไปบ้าง ซึ่งแรงงานไทยก็อยู่ในวัยใกล้เกษียณกันแล้ว ซึ่งทำงานกันมายาวนาน 30-40 กว่าปี ได้ค่าจ้างอยู่ที่วันละ 344 บาท หากนายจ้างจ่ายตค่าจ้างเพียงร้อยละ 75 ค่าจ้างหายไปคงลำบากมากทีเดียวด้วยค่าจ้างก็ต่ำอยู่แล้วภายใต้ภาวะวิกฤติแบบนี้ ซึ่งวันที่ 13 เมษายน 2563 โรงงานจะเปิดแต่ก็ไม่แน่ใจว่าจะสั่งหยุดอีกหรือไม่เพราะสถานการณ์โควิด-19 ยังไม่ดีขึ้น

นางสาวสงวน กล่าวอีกว่า ยังมีกรณีของบริษัทบริษัทผลิตจิวลี่เครื่องประดับเพชร พลอย แห่งหนึ่งในย่านนี้ ได้มาร้องเรียนเรื่องนายจ้างประกาศหยุดงานชั่วคราว อ้างผลกระทบการระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยเสนอให้ลูกจ้างทั้งหมดลาออกจากงานแล้วไปขอใช้สิทธิประกันสังคมกรณีว่างงาน ตามมาตรการที่รัฐบาลประกาศให้จ่ายกรณีว่างงานร้อยละ 62 โดยให้ลาออกในวันที่ 6 เมายน 2563 ซึ่งโรงงานแห่งนี้มีคนงาน 200-300 คน ซึ่งทางกลุ่มฯได้แจ้งสิทธิให้คนงานที่ร้องเรียนทราบ พร้อมเสนอแนะว่าไม่ควรลาออกจากงานเนื่องจากผลกระทบครั้งนี้ นายจ้างต้องร่วมรับผิดชอบและหากนายจ้างใช้มาตราการหยุดงานชั่วคราวต้องจ่ายร้อยละ 75 ของค่าจ้าง หากนายจ้างเลิกจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

ด้านนายมานิตย์ พรหมการียืกุล ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์ กล่าวว่า มีคนงานร้องเรียนเข้ามาเรื่องการไปใช้สิทธิประกันสังคมกรณีว่างงานโดยการลาออก เพื่อรับสิทธิประโยชน์ใหม่ของประกันสังคมในระยะนี้ ตามแนวทางที่รัฐบาลประกาศให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 ไปใช้สิทธิเมื่อได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 นั้นไม่ ยังมีปัญหาอยู่ในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่อ้างยังไม่มีกฎกระทรวงประกาศออกมาทำให้ยังจ่ายสิทธิประโยชน์เดิมคือลาออกจากงาน ได้รับเงินชดเชยการว่างงานเพียงร้อยละ30 เป็นเวลา 90 วัน ซึ่งใหม่จะเป็นร้อยละ 45 เป็นเวลา 90 วัน ยังไม่ได้ มีเพียงเรื่องลดเงินสมทบที่มีการดำเนินการแล้ว

ในวันเดียวกัน ( 10 เม.ย. 63) ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกระทรวงแรงงาน ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน ถึงแนวทางแก้ปัญหาแรงงานตกงานและว่างงาน ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 หลังจากคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เปิดเผยข้อมูลผลสำรวจว่า ภายในเดือนมิถุนายนนี้ จะมีแรงงานตกงานมากถึง 7.13 ล้านคน จากแรงงานในระบบประกันสังคมประมาณ 38 ล้านคน หรือคิดเป็น 18.5% ของแรงงานทั้งหมด โดยได้วางแนวทางเยียวยาแรงงานในระบบประกันสังคมที่ได้รับผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยระยะสั้นคือการจ่ายเงินเยียวยาแรงงานในระบบที่อยู่ในมาตรา 33 ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มแรงงานที่ว่างงานจากเหตุสุดวิสัย ที่รัฐบาลประกาศให้หยุดสถานประกอบการ จะได้รับเงินเยียวยาเป็นเวลา 3 เดือน ในอัตรา 62 เปอร์เซ็นต์ บนฐานเพดานไม่เกิน 15,000 บาท ซึ่งกลุ่มนี้ได้รับเงินเยียวยาไปแล้ว

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2563 ทางภาครัฐได้ ประกาศล่าสุด  ตกงาน ว่างงาน จากโควิด-19 ได้รับ สิทธิประกันสังคม อะไรบ้าง

1.ผู้ประกันตนที่ไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน ประกันสังคมจะจ่ายกรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัย อัตราร้อยละ 62 ของค่าจ้าง เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน

2.กรณีหน่วยงานภาครัฐ มีคำสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราว ประกันสังคมจะจ่ายกรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัย ร้อยละ 62 ของค่าจ้าง เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน

การลดอัตราเงินสมทบนายจ้างในอัตราร้อยละ 4 เและ ผู้ประกันตนมาตรา 33 ในอัตราร้อยละ 1 ส่วน ผู้ประกันตนมาตรา 39 จ่ายเงินสมทบเดือนละ 86 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน พร้อมขยายกำหนดเวลาการนำส่งเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตนมาตรา 33, 39 สำหรับงวดค่าจ้างเดือนมีนาคม, เมษายน และ พฤษภาคม 63 ออกไปอีก 3 เดือน ดังนี้

งวดค่าจ้างเดือนมีนาคม 63 ให้นำส่งเงินภายใน 15 กรกฎาคม 63

งวดค่าจ้างเดือนเมษายน 63 ให้นำส่งเงินภายใน 15 สิงหาคม 63

งวดค่าจ้างเดือนพฤษภาคม 63 ให้นำส่งเงินภายใน 15 กันยายน 63

4.เพิ่มเงินทดแทนการขาดรายได้แก่ผู้ประกันตนมาตรา 33 ดังนี้

เงินทดแทนว่างงานจากกรณีลาออก ในร้อยละ 45 ของค่าจ้าง (จากเดิมร้อยละ 30 ของค่าจ้าง) เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน

เงินทดแทนว่างงานจากกรณีเลิกจ้าง ในร้อยละ 70 ของค่าจ้าง เป็นระยะเวลาไม่เกิน 200 วัน (จากเดิมร้อยละ 50 ของค่าจ้าง เป็นระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน)

แต่อย่างไรก็อัตราของค่าจ้างจะคิดจากฐานเงินสมทบสูงสุด 15,000 บาท ตัวอย่างเช่น

เงินเดือน 10,000 บาท จะได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงานจากเลิกจ้าง เดือนละ 7,000 บาท เป็นระยะเวลาไม่เกิน 200 วัน

เงินเดือน 20,000 บาท จะได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงานเลิกจ้าง เดือนละ 10,500 บาท (คิดจากฐานเงินสมทบสูงสุด 15,000 บาท) เป็นระยะเวลาไม่เกิน 200 วัน

ช่องทางรับ สิทธิประกันสังคม กรณีได้รับผลกระทบจากโควิด-19

ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ ตกงาน เลิกจ้าง ว่างงาน จากผลกระทบของโควิด-19 สามารถยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย ให้ยื่นแบบคำร้องได้ที่  www.sso.go.th หัวข้อขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน online โดยผู้ประกันตนกรอกแบบขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย

ตกงาน เลิกจ้าง ว่างงาน ยังใช้ สิทธิประกันสังคม ในการรักษาพยาบาลได้ไหม

ผู้ประกันตนมาตรา 33 ถูกเลิกจ้างหรือลาออกเอง และไม่ได้ส่งเงินสมทบ ยังสามารถใช้ สิทธิประกันสังคม ได้เหมือนเดิมต่ออีก 6 เดือน หลังจากลาออก ไม่ว่าจะเจ็บป่วย (ครอบคลุมถึงการเจ็บป่วยด้วยโรคโควิด-19) ทุพพลภาพ คลอดบุตร และเสียชีวิต ซึ่งหลังจาก 6 เดือน หากยังไม่ได้เริ่มงานที่ใหม่ก็สามารถเปลี่ยนมาเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 หรือ 40 ก็ได้

วาสนา ลำดี รายงาน