คึกคักจัดวันแรงงาน 2 ขบวน ยื่นข้อเรียกร้อง ขบวนละ 10 ข้อให้ดูแลแรงงาน

2 ขบวน ชูประเด็นรับรองอนุสัญญาILO ฉบับที่ 87 ฉบับที่ 98 เรียกร้องให้ปรับค่าจ้างที่เป็นธรรม และหยุดการจ้างงานไม่มั่นคง ขยายสิทธิประกันสังคม ดูแลเรื่องความปลอดภัย

วันที่ 1 พฤษภาคม 2562 วันกรรมกรสากล และวันแรงงานแห่งชาติ ปี2562 ปีนี้ขบวนแรงงานแบ่งจัดเป็น 2 กลุ่มหลัก กลุ่มแรก คณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ คือสภาองค์การลูกจ้าง 15 สภา 1 สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ และ 1องค์กรแรงงานนอกระบบ รวมเป็น 17 องค์ ซึ่งได้รับทุนการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐในการจัดงาน ภายใต้คำขวัญ “แรงงานก้าวหน้า เศรษฐกิจก้าวไกล เทิดไท้องค์ราชัน” โดยจัดกิจกรรมทำบุญที่กองทัพบก และเดินขบวนมาที่ ณ อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ดินแดง  โดยมีนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา มาเปิดงาน และรับข้อเรียกร้อง 10 ข้อ

และอีกขบวน คณะกรรมการจัดงานวันกรรมกรสากลคือ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ร่วมกับสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ได้นัดร่วมตัวกันที่ โกดังสเตเดียม การท่าเรือแห่งประเทศไทย  คลองเตย กรุงเทพฯ ชูคำขวัญ “สามัคคีกรรมกร ต้านทุนนิยมครอบโลก สร้างสังคมใหม่ ประชาธิปไตยประชาชน ” ซึ่งกล่าวเปิดงานโดย ..กมลศักดิ์ พรหมประยูร ผู้อำนวยการ การท่าเรือแห่งเรือแห่งประเทศไทย  ในช่วงก่อนเข้าสู่เวทีการจัดงานในโกดัง ได้มีการแสดงเชิงสัญลักษณ์ ด้วยการทลายกำแพง “ทุนนิยมครอบโลก” นำโดยผู้นำแรงงานจากองค์กรต่างๆ

ในส่วนของข้อเรียกร้องทั้ง 2 ขบวนแรงงานมีดังนี้

คณะกรรมการวันแรงงานแห่งชาติ 2562 คณะกรรมการจัดงานวันกรรมกรสากล 2562
1. เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ให้รัฐรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 ในเรื่องการคุ้มครองการจัดตั้งสหภาพแรงงาน และฉบับที่ 98 เรื่องคุ้มครองการเจรจาต่อรอง 1. รัฐต้องจัดให้มีรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าที่มีคุณภาพให้ประชาชนทุกคน ได้เข้าถึงอย่างเท่าเทียมโดยไม่เลือกปฏิบัติ อันประกอบด้วย

1.1 ด้านสาธารณสุขประชาชนทุกคนเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพและไม่มีค่าใช้จ่าย

1.2 ด้านการศึกษาตามความต้องการในทุกระดับโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

2. ขอให้รัฐบาลเร่งดำเนินการนำร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมที่ผ่านประชาพิจารณ์มาแล้ว เข้าสู่กระบวนการพิจารณาในรัฐสภาฯโดยเร่งด่วน 2. รัฐต้องกำหนดค่าจ้างแรงงานที่เป็นธรรม ครอบคลุมทุกภาคส่วน
2.1 กำหนดนิยามค่าจ้างขั้นต่ำแรกเข้าที่มีรายได้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวอีก 2 คนตามหลักการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และต้องเท่ากันทั้งประเทศ
2.2 กำหนดให้มีโครงสร้างค่าจ้างและปรับค่าจ้างทุกปี
3. ขอให้รัฐบาลแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2561

3.1 กำหนดการเกษียณอายุของลูกจ้างอยู่ที่ 60 ปี ในกรณีลูกจ้างมีอายุ 55 ปี ประสงค์จะลาออกจากการเป็นลูกจ้าง ให้นายจ้างอนุญาตให้ลาออกได้ โดยได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับลูกจ้างที่เกษียณอายุทุกประการ

3.2 ให้กระทรวงแรงงานดำเนินการหามาตรการให้สถานที่มีลูกจ้างรับเหมาค่าแรงปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ตามมาตรา 11/1 อย่างเคร่งครัด

3. รัฐต้องให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคม และการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกัน และ ฉบับที่  98 ว่าด้วยการปฏิบัติตามหลักการแห่งสิทธิในการรวมตัว และการร่วมเจรจาต่อรอง และอนุสัญญาILO ฉบับที่ 183 ว่าด้วยการคุ้มครองความเป็นมารดา (ตามรัฐธรรมนูญหมวด 3 มาตรา 48)

 

4. ให้รัฐบาลปฏิรูป แก้ไข เพิ่มเติม เกี่ยวกับประกันสังคม ดังนี้

4.1 ปรับฐานการรับเงินบำนาญ โดยให้มีอัตราเริ่มต้นที่ 5,000 บาท

4.2 ในกรณีผู้ประกันตนเกษียณอายุและรับบำนาญแล้ว เมื่อสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ต่อให้มีสิทธิรับเงินบำนาญต่อไป และผู้ประกันตนที่รับบำนาญชราภาพให้คงสิทธิประโยชน์ไว้ 3 กรณี ได้แก่ การรักษาพยาบาล ทุพพลภาพ และค่าทำศพเหมือนเดิม

4.3 ในกรณีผู้ประกันตนพ้นสภาพจากมาตรา 33 และประกันตนต่อมาตรา 39 การคำนวณเดิมค่าจ้าง 60 เดือนเป็น ค่าทดแทนต่างๆ ขอให้ใช้หลักฐานค่าจ้างจากมาตรา 33

4.4 เพิ่มสิทธิประโยชน์ การรักษาพยาบาล ผู้ประกันตน มาตรา 40 เหมือนผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39

4.5 ขยายอายุผู้ประกันตน จาก 15-60 ปี (เดิม) ขยายเป็น 15-70 ปี เพื่อให้เข้ากับสังคมผู้สูงอายุ

4.6 ในกรณีผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เพื่อสร้างแรงจูงใจและลดความเหลื่อมล้ำ ให้รวมทางเลือกที่ 1 และทางเลือกที่ 2 เป็นทางเลือกเดียวกัน

4. รัฐต้องปฏิรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพในการบริการที่ดี มีคุณภาพ มีคุณภาพเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนดังนี้

4.1  ยกเลิกนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจและการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจทุกรูปแบบ
4.2 จัดตั้งกองทุนพัฒนารัฐวิสาหกิจ

4.3  ให้มีการบริหารจัดการที่โปร่งใส ตรวจสอบได้และมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ

 

5. ให้รัฐบาลรวมกองทุนเงินทดแทนกับกองความปลอดภัยแรงงาน และยกระดับเป็นกรมความปลอดภัยแรงงาน 5. รัฐต้องยกเลิกนโยบายที่ว่าด้วยการลดสวัสดิการพนักงานรัฐวิสาหกิจและครอบครัว
6. ให้รัฐบาลเร่งดำเนินการ พ.ร.บ. กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ เข้าสู่การพิจารณาต่อรัฐสภาให้บังคับใช้โดยเร่งด่วน 6. รัฐต้องปฏิรูประบบประกันสังคม ดังนี้

6.1 ปฏิรูปโครงสร้างการบริหารงานสำนักงานประกันสังคม ให้เป็นอิสระ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และให้ผู้ประกันตนมีส่วนร่วม
6.2 จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ในสัดส่วนที่เท่ากัน ระหว่างรัฐ นายจ้าง ลูกจ้าง ตามหลักการพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และนำส่งเงินสมทบที่รัฐค้างจ่ายให้เต็มตามจำนวน
6.3 เพิ่มสิทธิประโยชน์ ผู้ประกันตนมาตรา 40 ให้เท่ากับ มาตรา 33

6.4 เพิ่มสิทธิประโยชน์ ชราภาพร้อยละ 50 ของเงินเดือนสุดท้าย

6.5 ให้สำนักงานประกันสังคมประกาศใช้อนุบัญญัติทั้ง 17 ฉบับ ที่ออกตามพระราชบัญญัติประกันสังคม ฉบับแก้ไข พ.ศ. 2558

6.6 ขยายกรอบเวลาการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ในกองทุนเงินทดแทน จนสิ้นสุดการรักษาตามคำวินิจฉัยของแพทย์

7. ให้รัฐบาลออกกฎหมายคุ้มครอง ส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพแรงงานนอกระบบ และมีสิทธิจัดตั้งองค์กรได้ 7. รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดกรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย เช่น การปิดกิจการ หรือยุบเลิกกิจการในทุกรูปแบบ (ตามรัฐธรรมนูญ หมวด 5 มาตรา 53)
8. ให้รัฐบาลจัดระบบสวัสดิการ หรือกองทุนสวัสดิภาพของรัฐวิสาหกิจให้กับพนักงานรัฐวิสาหกิจ ทั้งยังมีสถานภาพเป็นพนักงาน และที่พันสภาพความเป็นพนักงานให้ได้รับไม่น้อยกว่าลูกจ้างภาคเอกชนที่ได้รับตามระบบประกันสังคม มาตรา 33 และมาตรา 39 8. รัฐต้องจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงจากการลงทุน โดยให้นายจ้างจ่ายเงินเข้ากองทุนเพื่อเป็นหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิแรงงาน เมื่อมีการเลิกจ้าง หรือเลิกกิจการไม่ว่ากรณีใดก็ตาม ผู้ใช้แรงงานมีสิทธิได้รับค่าชดเชยจากกองทุน รวมทั้งการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างได้ (กรณีศึกษา บริษัท บริติช-ไทยซิน เท็กสไทล์ จำกัด)
9. ให้กระทรวงแรงงานปฏิบัติการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ 2560 ตามมาตรา 74 รัฐพึงจัดให้มีระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการดำเนินการ 9. รัฐต้องเร่งรัดให้มีการพัฒนากลไกการเข้าถึงสิทธิ การบังคับใช้ พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 อย่างจริงจัง ภายใต้การมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน และยกเลิกการใช้แร่ใยหินในทุกรูปแบบ
10. ให้รัฐมนตรีว่า การกระทรวงแรงงาน แต่งตั้งคณะทำงานติดตามข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติปี 2562 10. รัฐต้องจัดสรรงบให้กับสถาบันความปลอดภัยฯเพื่อใช้บริหารจัดการเรื่องความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวปราศรัยว่า วันแรงงานแห่งชาติ เป็นวันสำคัญของคนทำงาน ที่เป็นผู้ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญเติบโต รัฐบาลจึงมุ่งหวังให้ประเทศมีภาคการผลิตที่เป็นอุตสาหกรรม 4.0 โดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและนวัตกรรมใหม่ๆ การพัฒนาศักยภาพแรงงานให้มีความสามารถเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง โดยรัฐบาลมีความตั้งใจที่จะทำให้ผู้ใช้แรงงานเข้าถึงสิทธิต่างๆ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ขอให้เข้าใจว่ากฎหมายนั้น ไม่ได้ออกมาง่ายๆ กระทรวงแรงงานมีแนวทางช่วยส่งเสริมและสร้างฝีมือทุกอย่างตามลำดับ และรัฐบาลสนับสนุนแรงงานทั้งในประเทศและแรงงานส่งออกให้มีประสิทธิภาพที่ดี รวมถึงการวางแผนตั้งแต่ระบบการศึกษา ให้ผลิตแรงงานออกมาให้ตรงกับตลาด เข้าสู่ยุค Big Data ที่เป็นระบบข้อมูลและมุ่งมั่นให้แรงงานไทยพัฒนาสู่ความเป็นสากล สร้างความเป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ ผ่านการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งการออกกฎหมายคุ้มครองครอบคลุมทุกมิติ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และตลอด 5 ปี ความร่วมมือต้องมีพื้นฐานของความเข้าใจกัน ทั้งรัฐบาลและผู้ประกอบการ ทุกคนต้องเรียนรู้เกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจ เพราะกระทบกับแรงงานโดยตรง ต้องช่วยกันทำให้มีความเท่าเทียมกัน และสืบสานต่อในรัฐบาลใหม่ พร้อมทั้งพยายามที่จะให้ประเทศมีความสงบเรียบร้อย เพราะในช่วงนี้อยู่ในห้วงใกล้ถึงงานพระราชพิธีฯต้องทำให้ประเทศเรียบร้อย ผ่านไปอย่างสวยงาม ทุกอย่างต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคนให้ประเทศปลอดภัย มีความสงบเหมือน 5 ปีที่ผ่านมา

พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกรทรวงแรงงาน (รมว.แรงงาน) กล่าวว่า ในส่วนข้อเรียกร้องทั้ง 10 ข้อนั้น สามารถดำเนินการไปได้แล้ว 4 ข้อ คือ จัดระบบสวัสดิการกองทุนให้พนักงานรัฐวิสาหกิจตามระบบประกันสังคม ระบบการจ้างงาน ได้คืนสิทธิแรงงานประกันตนตามมาตรา 39 ไปแล้วกว่า 3 แสนคน และมีอัตราการว่างงานเพียงร้อยละ 9 ส่วนข้อที่เหลืออยู่ระหว่างการทบทวนและพิจารณาข้อกฎหมายถึงแนวทางความเป็นไปได้ ที่ผ่านมารัฐบาลชุดนี้ดูแลกลุ่มแรงงานอย่างเต็มที่ ทั้งส่วนทิศทางแรงงาน หลังจากนี้รัฐบาลเน้นเรื่องการจ้างงานที่มีคุณค่า และความปลอดภัยในการทำงาน  ส่วนเรื่องการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ปัจจุบันค่าครองชีพสูงขึ้น ทางกระทรวงฯได้ดำเนินการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำไปแล้ว 5 เปอร์เซ็นต์อยู่ที่ประมาณ 340 บาท ซึ่งสูงเป็นอันดับ 3 ของอาเซียน ซึ่งในปีนี้อยู่ในขั้นตอนไตรภาคี ต้องหารือร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ

ส่วนในเวทีที่การท่าเรือนั้น ..กมลศักดิ์ พรหมประยูร ผู้อำนวยการ การท่าเรือแห่งเรือแห่งประเทศไทย  ได้กล่าวถึงความสำคัญของผู้ใช้แรงงาน ที่ทำงานพัฒนาเศรษฐกิจมา ทำให้เกิดสินค้า และการขนส่ง ซึ่งในการท่าเรือเองก็มีแรงงานจำนวนมากที่ทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งเกือบ 70 ปี และยังคงทำหน้าที่ขนส่งสินค้าเข้าออก ด้านการแรงงานสัมพันธ์ทางการท่าเรือก็ใช้ระบบแรงงานสัมพันธ์โดยการปรึกษาหารือกับทางสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการท่าเรือแห่งประเทศไทย วันนี้การจัดงานวันกรรมกรสากล ณ ที่แห่งนี้เป็นพื้นที่เก่ามีประวัติศาสตร์ เป็นโกดังที่อยู่มานานคู่กับการท่าเรือ และเป็นพื้นที่ที่มีการจ้างแรงงานจำนวนมาก

ด้านนายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ได้กล่าวว่า สถานการณ์แรงงานในประเทศไทยมีกำลังแรงงานราว 40 ล้านคนเป็นแรงงานในระบบ 10 กว่าล้านคน เป็นแรงงานนอกระบบ 22 ล้านคน และมีแรงงานข้ามชาติ ราว 4 ล้านคน วันนี้ เป็น วันสำคัญทางสากล การพัฒนาประเทศที่เปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมใหม่ ที่มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนำแรงงานเข้าสู่สังคมสูงวัย มีแรงงานจำนวนมากที่อาจปรับตัวไม่ได้กับเทคโนโลยีใหม่ที่ต้องออกจากงาน หรือว่างานใหม่ที่เข้ามาไม่ต้องการใช้แรงงาน  และแรงงานเหล่านี้ต้องตกงาน เป็นแรงงานนอกระบบ ซึ่งตอนนี้เราก็จะเห็นภาพของแรงงานธนาคารที่มีการปรับตัวของอุตสาหกรรม และกระทบกับแรงงานโดยตรงแล้ว ซึ่งก็จะมีอีกแรงงานอีกจำนวนมากที่ต้องตกงานก่อนวันอันสมควร หรือว่า อาจอยู่ในวัยสูงอายุ ซึ่งคสรท. และสรส. ได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลเพื่อให้มีการแก้ไขปัญหาแรงงานจำนวน 10 ข้อตั้งแต่ปี 2560 วันนี้ รัฐบาลยังไม่ได้มีการแก้ไข ซึ่งคงต้องมีการขับเคลื่อนและผลักดันกันต่อไป

ส่วนนายยงยุทธ์ เม่นตะเภา ประธานสมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิคส์ ยานยนต์ และโลหะแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สถานการณ์แรงงานที่ปรับตัว การรวมตัวของแรงงานปัจจุบันอยู่ในอาการทรงๆ หากย้อนอดีตการพัฒนาอุตสาหกรรมยุคทองของสิ่งทอมีความเข้มแข็งด้วยแรงงานจำนวนมาก เมื่อมีการยุบย้ายของแรงงานสิ่งทอทำให้แรงงานอ่อนแอ การรวมตัวของแรงงานในแระเทศไทยน้อยลง ซึ่งในแนวคิดการรวมตัวในอนาคตของ สมาพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (CILT) คือการรวมตัวข้ามอุตสาหกรรมออกไปเพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง ซึ่งขณะนี้ทั่วโลกได้มีการรวมตัวแบบนี้แล้ว และในนโยบายการรวมตัวแบบอุตสาหกรรม ตอนนี้คือนโยบาย หนึ่งต้องมีการจัดตั้งสหภาพแรงงาน ประเทศไทยมีสมาชิกสหภาพแรงงานเพียง 6 แสนคนเท่านั้นซึ่งน้อยมากหากเทียบกับแรงงานทั้งประเทศ 40 ล้านคน สอง ต้องมีการควบรวม ยุบรวมสหภาพแรงงานในประเภทอุตสาหกรรมเดียวกัน และสาม คือต้องมีพรรคการเมืองของแรงงาน เพื่อการต่อสู้ในสภาผู้แทนราษฎร

ยังมีประเด็นแรงงานสตรี แรงงานข้ามชาติ แรงงานนอกระบบที่กล่าวถึงประเด็นปัญหา และข้อเสนอต่างๆ ซึ่งรัฐบาลควรต้องนำไปแก้ไขอีกด้วย และช่วงท้ายประธานคสรท.โดยนายสมพร ขวัญเนตร ได้ประกาสเจตณารมณ์ของวันกรรมกรสากล และเรียกร้องให้ร่วมกันทวงถามรัฐบาลในการแก้ปัญหาแรงงานตามข้อเรียกร้องปี 2560 ที่ทางกลุ่มได้ยื่นไป

วาสนา ลำดี รายงาน