คสรท.ทวงข้อเรียกร้องเก่าวันกรรมกรสากล-วันงานที่มีคุณค่า

คสรท.และเครือข่าย ยื่นข้อเรียกร้องซ้ำ เตือนความจำรัฐบาล ให้แก้ปัญหาแรงงานทั้งระบบ หวังให้ “ยกเลิกการจ้างงานที่ไม่มั่นคง เร่งสร้างงานที่มีคุณค่าแห่งอนาคต”

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2562 ที่ศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ชั้น 1 อาคารสำนักงาน ก.พ. (เดิม) ถนนพิษณุโลก เขตดุสิตกทม. คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ได้เข้ายื่นหนังสือต่อฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์   จันทร์โอชา โดยมีนายสมภาสนิลพันธ์ ที่ปรึกษาสำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับเรื่องแทน

นายสมพร ขวัยเนตร ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า การมาวันนี้เพื่อมาฟังคำตอบในการแก้ขปัญหาของผู้ใช้แรงงาน ซึ่งทางคสรท.และเครือข่ายได้ยื่นข้อเรียกร้องวันกรรมกรสากลไว้ตั้งแต่ปี 2560 ทั้งหมด 10 ข้อ โดยมีหัวข้อใหญ่ ดังนี้

  1. รัฐต้องจัดให้มีรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าที่มีคุณภาพให้ประชาชนทุกคน ได้เข้าถึงอย่างเท่าเทียมโดยไม่เลือกปฏิบัติ
  2. รัฐต้องกำหนดค่าจ้างแรงงานที่เป็นธรรมให้ครอบคลุมผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน
  3. รัฐต้องให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกัน และอนุสัญญาฯ ฉบับที่ 98 ว่าด้วยการปฏิบัติตามหลักการแห่งสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง เพื่อสร้างหลักประกันในการรวมตัวและการเจรจาต่อรอง และอนุสัญญาฯ ฉบับที่ 183 ว่าด้วยการคุ้มครองความเป็นมารดา (ตามรัฐธรรมนูญ หมวด 3 มาตรา 48)
  4. รัฐต้องปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพรัฐวิสาหกิจในการให้บริการที่ดี มีคุณภาพ เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ดังนี้
  5. รัฐต้องยกเลิก นโยบายที่ว่าด้วยการลดสวัสดิการพนักงานรัฐวิสาหกิจและครอบครัว
  6. รัฐต้องปฏิรูประบบประกันสังคม ดังนี้
  7. รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด กรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย เช่น การปิดกิจการ หรือยุบเลิกกิจการในทุกรูปแบบ (ตามรัฐธรรมนูญ หมวด 5 มาตรา 53)
  8. รัฐต้องจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงจากการลงทุนโดยให้นายจ้างจ่ายเงินเข้ากองทุนเพื่อเป็นหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิแรงงาน เมื่อมีการเลิกจ้างหรือเลิกกิจการไม่ว่ากรณีใดก็ตาม ผู้ใช้แรงงานมีสิทธิได้รับเงินชดเชยจากกองทุน รวมทั้งการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างได้ (กรณีศึกษา บริษัท บริติช-ไทยซินเทติค เท็กสไทล์ จำกัด)
  9. รัฐต้องเร่งรัดให้มีการพัฒนากลไกการเข้าถึงสิทธิ์ การบังคับใช้ พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 อย่างจริงจัง ภายใต้การมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน และยกเลิกการใช้แร่ใยหินในทุกรูปแบบ
  10.  รัฐต้องจัดสรรเงินงบให้กับสถาบันความปลอดภัยฯ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการเรื่องความปลอดภัย ให้มีประสิทธิภาพ

วันนี้ยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด และเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2562 ทางคสรท. และเครือข่ายได้มีการเดินรณรงค์ พร้อมยื่นข้อเรียกเร่งรัดให้รัฐบาลหามาตรการแก้ปัญหาการจ้างงาน โดยให้ “ยกเลิกการจ้างงานที่ไม่มั่นคง เร่งสร้างงานที่มีคุณค่าแห่งอนาคต” เสนอให้รัฐบาลหามาตรการที่เร่งด่วนมาแก้ไขปัญหา โดยปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยี และเครื่องจักรใหม่มาใช้ในกระบวนการผลิต สามารถทดแทนกำลังแรงงานได้ ส่งผลให้มีการเลิกจ้าง ลดคนงาน เปิดโครงการสมัครใจลาออก นักศึกษาจบใหม่หางานทำไม่ได้ และยังทำให้เกิดปัญหาการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรมเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแรงงานในระบบเอกชน แรงงานรัฐวิสาหกิจ ข้าราชการ แรงงานนอกระบบ และแรงงานข้ามชาติ เกิดการจ้างงานแบบเหมาค่าแรง รับเหมาช่วง การจ้างงานแบบชั่วคราว การจ้างงานแบบสัญญาจ้างที่กำหนดระยะเวลา เป็นต้น เกิดความเหลื่อมล้ำด้านค่าจ้างสวัสดิการ เกิดความไม่มั่นคงในการมีงานทำ ซึ่งในแต่ละปีคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.)ได้รวบรวมประเด็นปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ใช้แรงงาน บรรจุเป็นข้อเรียกร้องยื่นต่อรัฐบาล วัตถุประสงเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างมั่นคงยั่งยืน และได้ติดตามข้อเรียกร้อง และขับเคลื่อนประเด็นปัญหาแรงงานมาอย่างต่อเนื่อง แต่ข้อเรียกร้องและปัญหาของผู้ใช้แรงงานก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขปรับปรุงอย่างที่ควรจะเป็น  ในทางกลับกันปัญหาที่เกิดขึ้นบางเรื่องลุกลามบานปลาย ขยายขอบเขตไปอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ขณะที่การดำเนินการของเจ้าหน้าที่รัฐตามนโยบาย การบังคับใช้กฎหมายยังขาดประสิทธิภาพไม่ทันต่อเหตุการณ์

ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และเครือข่ายแรงงานจึงขอเข้าพบ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์   จันทร์โอชา เพื่อติดตามข้อเรียกร้องและหารือรวมทั้งข้อเสนอการแก้ไขปัญหาแรงงาน ซึ่งวันนี้ทางภาครัฐได้นัดให้มาเพื่อพูดคุยหาทางออกแต่พบว่า ทางรัฐบาลไม่ได้มีการส่งผู้แทนมาร่วมพูดคุยด้วยจึงได้ยื่นข้อรัยกร้องอีกครั้ง เพื่อให้รัฐบาลประสานงานองค์กรที่เกี่ยวข้องมาร่วมพูดคุยอีกครั้ง ซึ่งอยากให้เชิญทางกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กองแรงงานสัมพันธ์ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน องค์การแรงงานระหว่างประเทศหรือ (ILO) ฝ่ายการเมืองของรัฐบาล และองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องมาร่วมปรึกษาหารือร่วมกัน เพื่อให้เกิดทางออกที่ดี

ด้านนายสมภาสนิลพันธ์ ที่ปรึกษาสำนักงานปลัด กล่าวว่า ทางภาครัฐยินดีที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหาและจะประสานงานองค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นกระทรวงแรงงาน เช่น กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กองแรงงานสัมพันธ์ ประกันสังคม และภาครัฐบาลที่เกี่ยวข้องมาพูดคุยปรึกษาหารื่อแนวทางแก้ปัญหาร่วมกัน

ทั้งนี้คสรท.ได้มีข้อเสนอเร่งด่วนเพิ่มเติม ที่ต้องการให้แก้ปัญหา ดังนี้

ประเด็นประกันสังคม

1.การเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม

2.การนำเงินประกันสังคมไปปล่อยกู้(ให้ตั้งคณะทำงาน)

ประเด็นการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ

1.รัฐต้องดำเนินการปรับค่าจ้างขั้นต่ำตามที่ได้หาเสียงไว้กับประชาชนเป็นกรณีเร่งด่วน

2.รัฐต้องดำเนินการควบคุมราคาสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพไม่ให้แพงเกินจริงสอดคล้องกับการปรับค่าจ้าง

3.รัฐต้องกำหนดให้มีโครงสร้างค่าจ้าง และปรับค่าจ้างทุกปี ตามสภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้นและครอบคลุมลูกจ้างทุกสาขาอาชีพ

ประเด็นการคุ้มครองสิทธิพิเศษทางการค้าและคุ้มครองสิทธิแรงงาน

1.ปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงาน (กรณี 13 แกนนำรถไฟ กรณี สร. มิตซูแอร์)

2.การแก้ไขปัญหาถูกตัดสิทธิพิเศษ

ประเด็นการจ้างงานไม่มั่นคง (ตั้งคณะทำงาน) และประเด็นอื่นๆ ตามที่ประชุมเสนออีกด้วย