แถลงการณ์ร่วมว่าด้วยอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ C188

ขบวนการแรงงาน ออกแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ C188

วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2561 สหพันธ์แรงงานขนส่งระหว่างประเทศ (ITF) เครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานประมง (FRN) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) สมาพันธ์สหภาพแรงงานสากล (ITUC) สหพันธ์แรงงานและสภาแรงงานอุตสาหกรรมแห่งสหรัฐอเมริกา (AFL-CIO) ด้วยความเคารพจากพวกเราทุกองค์กร พวกเราขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยให้สัตยาบันและปฏิบัติตามอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ C 188 ว่าด้วยการทำงานภาคการประมง

แรงงานประมงข้ามชาติ จากประเทศกัมพูชา และเมียนมาที่ทำงานในกิจการประมงในประเทศไทยนั้นยังคงต้องประสบกับปัญหาการถูกละเมิดสิทธิด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชนอยู่ ในหลายๆครั้งพวกเขายังถูกบังคับให้ทำงานโดยเจ้าของเรือและไต๋ก๋งที่ยังประกอบธุรกิจประมงอย่างผิดกฎหมายหรือยังคงทำกิจการแบบ IUU อยู่ และในหลายๆครั้งในทุกวันนี้เรายังพบเห็นแรงงานประมงถูกปฏิเสธการเข้าถึงการรักษาพยาบาลเนื่องจากสถานะการเข้าเมืองของพวกเขา การให้สัตยาบันกับอนุสัญญาฉบับที่ C188 จะช่วยให้เราส่งข้อความไปยังผู้ประกอบการที่ยังคงทำการประมงแบบผิดกฎหมาย กลุ่มเจ้าของเรือที่ไร้ยางอายที่ยังคงแสวงหาผลประโยชน์ การประกอบกิจการประมงที่ไม่สร้างความยังยืนและผิดกฎหมายไม่เป็นที่ยอมรับ สิทธิแรงงานสำหรับคนงานประมงจะต้องได้รับการความคุ้มครองโดยต้องไม่คำนึงถึงสัญชาติแต่อย่างใด

การรับรองอนุสัญญา ฉบับที่ C188 จะถือเป็นการส่งข้อความไปยังสหภาพยุโรปและประชาคมนานาชาติว่าประเทศไทยนั้นได้ทำการปฏิรูปและยกระดับไปสู่ใบเหลืองเพื่อให้หลุดจากข้อจำกัดทางการค้าต่างๆในประเภทอาหารที่มีต่อสหภาพยุโรป

นอกจากนี้รัฐบาลไทยควรจะก้าวไปอีกระดับหนึ่งคือการรับรองอนุสัญญาฉบับที่ 87 และ 98 ว่าด้วยเสรีภาพในการรวมตัวและการเจรจาต่อรองร่วม แรงงานทุกคนไม่ว่าจะมาจากที่ใด หรือมีสถานะการข้าเมืองเช่นไร พวกเขาจะต้องได้รับเสรีภาพในการรวมตัวเป็นสหภาพแรงงานและมีสิทธิในการเจรจาต่อรองร่วม สิทธิในการจัดตั้งสหภาพแรงงานจะช่วยส่งเสริมให้พวกเขามีความเป็นอยู่ที่มีคุณค่าในสถานประกอบการและในกิจการประมง

ทั้งนี้บริษัทเอกขนขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรมอาหารทะเล ซึ่งรวมถึง Thai Union มีแนวคิดที่จะเริ่มสร้างการเปลี่ยนแปลงไปยังบริษัทคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานของเขาแล้วโดยการสร้างความเข้าใจต่อบทบัญญัติของอนุสัญญาฉบับที่ C188 เพราะเนื่องจากผู้บริโภค และความต้องการในตลาดขนาดใหญ่ที่มีความต้องการสูงต่อประเด็นด้านแรงงานและมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการปฏิบัติใช้อย่างมีประสิทธิภาพต่อบทบัญญัติของ อนุสัญญาฉบับที่ C 188 จะทำให้ประชาคมนานาชาติ ผู้ซื้ออาหารทะเลและตลาดอาหารทะเลที่ซื้อสินค้าจากประเทศไทยจะช่วยยืนยันถึงจรรยาบันและมาตรฐานแรงงานต่างๆว่าอุตสาหกรรมอาหารทะเลไทยเป็นที่ยอมรับในมาตรฐานสากล

ตัวอย่างเช่น ผู้ค้าปลีกในสหราชอาณาจักรได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนกฎหมายแรงงานไทย (เพื่อให้แรงงานข้ามชาติสามารถรวมตัวก่อตั้งสหภาพแรงงานได้) และควรที่จะปฏิบัติใช้พิธีสารปี 2014 แรงงานงานบังคับ ฉบับ P 29 อย่างเข้มงวด เพื่อให้พวกเขาทำธุรกิจกับคู่ค้าในประเทศไทยต่อไปได้ รัฐบาลไทยควรได้รับการยกย่องจากความพยายามที่ผ่านมาในการผ่านพระราชบัญญัติบังคับใช้แรงงานและการกำจัดอุตสาหกรรมแสวงหาประโยชน์จากคนงาน และเข้มงวดต่อการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งถือเป็นความท้าทายต่อไป

นอกจากนี้การให้สัตยาบันและการบังคับใช้อนุสัญญาฉบับที่ C 188 นั้นรัฐบาลไทยควรจะปฏิบัติดังนี้

  • การกำจัดแรงงานขัดหนี้ ซึ่งร่วมไปถึงค่าธรรมเนียมในการทำหนังสือเดินทาง บัตรสีชมพู ใบอนุญาตทำงานจากตัวแทนและนายหน้า
  • การเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 12,000 บาท (375 เหรียญสหรัฐ) ต่อเดือน
  • แรงงานประมงทุกคนต้องได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน พร้อมทั้งมีสิทธิถือสมุดบัญชีธนาคาร บัตร ATM และรหัสกดในครอบครอง (ไม่ได้เก็บไว้โดยเจ้าของเรือหรือไต๋ก๋ง)
  • แรงงานประมงทุกคนต้องได้รับสัญญาจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรในภาษาของตนเอง
  • แรงงานประมงทุกคนจะต้องได้รับการฝึกอบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้นและสามารถเข้าถึงชุดปฐมพยาบาลที่จัดไว้บนเรือแต่ละลำ
  • เรือทุกลำต้องมีขั้นตอนและแนวทางปฏิบัติในกรณีการรักษาพยาบาลฉุกเฉินที่เกิดขึ้นในสถานที่ทำงาน
  • การจัดให้มีจรรยาบรรณในการเดินเรือบนเรือทุกลำที่ทำประมงในน่านน้ำไทย
  • การแก้ไขกฎหมายแรงงานไทยเพื่อให้แรงงานข้ามชาติสามารถจัดตั้งและมีส่วนร่วมในสหภาพของพวกเขา

สหพันธ์แรงงานขนส่งระหว่างประเทศ (ITF) เป็นองค์กรแรงงานในระดับสากลที่มีสมาชิกสหภาพแรงงานกว่า 670 แห่ง จาก 140 ประเทศ และมีสมาชิกที่เป็นแรงงานกว่า 19.7 ล้านคน เครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานประมง (FRN) เป็นสหภาพแรงงานประมงอิสระแห่งเดียวในประเทศไทยและอยู่ภายใต้โครงการของ ITF ประจำภูมิภาคเอเชียแลแปซิฟิก สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) องค์กรสมาชิกสมาพันธ์แรงงานสากล (ITUC) ที่มีสหภาพแรงงาน 47 แห่งจากในภาครัฐวิสาหกิจและเอกชน มีสมาชิกกว่า 180,000 คนทั่วประเทศไทย  คณะกรรมการสมาฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เครือข่ายองค์กรแรงงาน ที่มีสหภาพแรงงานในภาครัฐวิสาหกิจ และเอกชน รวมถึงองค์กรพัฒนาเอกชน และนักวิชาการด้านแรงงาน สหพันธ์แรงงานและสภาแรงงานอุตสาหกรรมแห่งสหรัฐอเมริกา (AFL-CIO) สหพันธ์แรงงานประชาธิปไตยโดยอิสระ ที่มีสมาชิกเป็นสหภาพแรงงานในระดับชาติและสากลกว่า 55 แห่ง และมีสมาชิกชายและหญิงกว่า 12.๕ ล้านคน สมาพันธ์สหภาพแรงงานสากล (ITUC) เป็นองค์กรแรงงานที่ทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงให้กับแรงงานทั่วโลกมีสมาชิกกว่า 207 ล้านคนจาก 163 ประเทศ และมีองค์กรสมาชิกที่เป็นสภาแรงงานระดับชาติกว่า 331 แห่ง