ตึกสตง.ถล่ม จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ไม่ใช่เป็นกรณีแรกที่เกิดขึ้นในสังคมไทย
โดย รศ.ดร. วรวิทย์ เจริญเลิศ นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์แรงงาน และการเมือง
เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ทั้งโรงงานไฟไหม้ ตึกถล่ม โรงงานสารเคมีระเบิด ทำให้คนงานกลายเป็นผู้รับเคราะห์ เสียชีวิต บาดเจ็บเป็นจำนวนมากและชุมชนมักจะเป็นผู้รับเคราะห์ไปด้วย แต่ละเหตุการณ์ ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของครอบครัวคนงาน ชีวิตและจิตใจรวมทั้งคนใกล้ชิด ไม่สามารถย้อนกลับให้เหมือนเดิมแต่สามารถป้องกันหลีกเลี่ยงได้ แม้เราจะมีกฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน พรบ. ความปลอดภัย ฯแต่ ไม่มีการบังคับใช้กฎหมาย ตรวจสถานที่ทำงานอย่างจริงจัง จัดลำดับความเสี่ยงเพราะ อุตสาหกรรมก่อสร้างมีสถิติการบาดเจ็บและเสียชีวิตอันดับต้นๆ สังคมไทยเป็นสังคมเสี่ยงภัย คนงานและผู้กระทบ (ครอบครัวผู้เสียชีวิต) สามารถทำอะไรได้เพื่อเข้าถึงความยุติธรรมในสังคม?
(1) รวมกลุ่มคนงานที่เหลือ แต่งตั้งตัวแทนและ คณะทำงานเจรจาเพื่อสิทธิประโยชน์ของคนงานและครอบครัวคนงานที่เสียชีวิต
(2) ให้ได้ข้อมูลจำนวนคนงานที่เข้าทำงานในวันนั้น จึงต้องอาศัยกระทรวงมหาดไทยเรียกข้อมูลนี้มาจากบริษัท
(3) ทำข้อเรียกร้อง เพื่อใช้ในการเจรจาสิทธิ์ประโยชน์ ทั้ง ประเด็นเฉพาะหน้าคือ การได้รับความช่วยเหลือเยียวยาเบื้องต้น การเข้าถึงการคุ้มครองของกฎหมายแรงงาน ประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน ภายใต้ ข้อคิดที่ว่า ทำงานเหมือนกันก็ต้องได้รับการคุ้มครองเช่นเดียวกัน ไม่มีการเลือกปฏิบัติ และประเด็นข้อเรียกร้องที่จะให้มีการชดเชยครอบครัวคนงานที่เสียชีวิตนอกเหนือกฎหมาย
(4) ให้มีกฎหมายที่คนงานสามารถหยุดทำงานได้ถ้าสถานที่ทำงานไม่ปลอดภัยจนกว่าจะมีการแก้ไข
(5) เคลื่อนไหวต่อเนื่องให้อยู่ในพื้นที่ของสื่อเพื่อสร้างอำนาจต่อรองกับรัฐและทุนที่จะต้องแสดงความรับผิดชอบ การรวมกลุ่มเคลื่อนไหวจึงเป็นสิทธิอันขอบธรรม มีคนงานที่เป็นผู้ถูกกระทบจริง ทางรัฐควรสนับสนุนข้อเรียกร้องของคนงาน มองการเคลื่อนไหวของคนงานในแง่บวก สามารถสร้างโอกาสให้รัฐใช้เป็นกรณีที่นำมาสู่การปฏิรูประบบสุขภาพและสถาบันความปลอดภัยในการทำงานให้เป็นองค์กรอิสระ