องค์กรแรงงาน ยื่นUN ยกเลิกสิทธิบัตรยา-วัคซีนโควิด-19

            คสรท. และสรส. เรียกร้อง UN แก้ทำหน้าที่เจรจายกเลิกสิทธิบัตรยา และวัคซีนป้องกันโควิค-19 เสนอให้ทุกประเทศผลิตยา และวัคซีนเองเพื่อประชาชนทุกคนเข้าถึงอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม

วันที่ 21 มิถุนายน 2564 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ได้ยื่หนังสือต่อเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ (UN)นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เรื่อง ขอให้องค์การสหประชาชาติกำหนดมาตรการให้ประชากรโลกเข้าถึงวัคซีนป้องกันโควิด-19

นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานคสรท. และเลขาธิการสรส. กล่าวว่า การมาของคสรท. และสรส.เป็นเรื่องของมวลมนุษยชาติ ด้วยการเข้าถึงวัคซีนค้อนข้างยากเพราะมีเรื่องสิทธิบัตรซึ่งอยู่ในมือของบรรษัทขนาดใหญ่ เพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นในขณะที่ประชากรโลกติดเชื้อไวรัสโควิด-19กันจำนวนมาก และเสียชีวิตเกือบ 3 ล้านคนแล้ว และติดเชื้อกว่า 200 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นภัยพิบัตที่สร้างความเสียหายอย่างมา จึงขอให้ทางสหประชาชาติมาทำหน้าที่ ตรงนี้ เพราะหากปล่อยให้แต่ละประเทศจัดการ หรือบางหน่วยงานมาทำเช่น WHO หรือองค์การอนามัยโลกทำไปนั้นอาจเกิดความล้าช้าไม่คล้องตัวจึงเสนอว่า เป็นภาระกิจบทบาทหลักของสหประชาชาติที่จะเจรจากับประเทศสมาชิกรวมถึงบรรษัททั้งหลาย รวมถึงสถาบันองค์กรโลกบาลที่จะทำให้ประชาชนทั้งโลกเข้าถึงวัคซีน โดยให้ประเทศต่างๆสามารถที่จะผลิตวัคซีนของตนเองได้

ด้วยวัคซีนโควิด-19 ได้สร้างผลกำไรให้กับบรรษัทที่ผลิตวัคซีนอย่างมโหฬารยิ่งกว่าการค้าอาวุธสงคราม แต่การฉีดวัคซีนที่รณรงค์ให้ประชากรแต่ละประเทศฉีดวัคซีนไม่ว่าจะเป็นยี่ห้ออะไรก็ตามซึ่งต้องฉัดอย่างน้อย 2 โดสตามสถานการปัจจุบัน แต่ว่า ในอนาคตข้างหน้าซึ่งยังไม่ทราบว่าการระบาดของโควิด-19 จะกลายพันธ์เป็นอย่างไรบ้าง ประชากรโลกจึงมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับวัคซีนเพื่อลดความรุนแรงของไวรัสโควิด-19 โดยเท่าเทียม พร้อมกับยกเลิกระบบสิทธิบัตร ยา และวัคซีนป้องกันโรค ให้ประเทศที่มีความพร้อมสามารถผลิตวัคซีนได้อย่างเสรี สำหรับประเทศไหนที่ไม่มีความพร้อม ฐานะทางเศรษฐกิจอ่อนแอ ก็ให้องค์การสหประชาชาติ เข้าช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วน

โดยหนังสือข้อเสนอมีเนื้อหาดังนี้ นับเป็นความเลวร้ายในการดำเนินชีวิตของมวลมนุษยชาติทั่วทั้งโลกที่กำลังเผชิญกับภัยพิบัติ จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเป็นจำนวนมหาศาลอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน นับตั้งแต่ปลายปี 2019 จนมาถึงปัจจุบัน แต่ละประเทศต่างพยายามที่จะช่วยเหลือประชากรของตนเองเท่าที่สามารถจะทำได้ในสภาวะที่แตกต่างกันไป ในความแตกต่างกันเหล่านี้ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สังคม สาธารณสุข และการเมือง เป็นเหตุอันสำคัญที่ทำให้การจัดการเพื่อหยุดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และการเสียชีวิตเป็นไปได้ยากยิ่งจนเป็นเหตุให้ประชากรโลกเสียชีวิตเป็นจำนวนมหาศาล โดยเฉพาะการป้องกันที่จำเป็นต้องใช้วัคซีน แต่โอกาสการเข้าถึงวัคซีนเป็นไปด้วยความยากลำบาก มีความเหลื่อมล้ำเพราะความแตกต่างดังที่กล่าวมา การผลิตวัคซีนจึงตกอยู่ในมือภายใต้สิทธิบัตรของบริษัทเอกชนเพียงไม่กี่ราย และรัฐบาลเพียงไม่กี่ประเทศ การทำกำไรจากวัคซีนในราคาที่แพงและยากต่อการเข้าถึงเป็นสาเหตุสำคัญต่อการแพร่ระบาดและการเสียชีวิตของประชากรโลก จึงไม่ควรอย่างยิ่งที่จะเอาความตายของประชากรโลกไปทำการค้าและหากำไร

องค์การสหประชาชาติมีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งเพื่อ “ระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศคู่กรณีด้วยสันติวิธี เป็นแกนกลางในการนำสันติภาพอันถาวรมาสู่โลก เป็นศูนย์กลางความร่วมมือช่วยเหลือระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม และส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ” โดยมีหลักการสำคัญที่กำหนดไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ ได้กล่าวไว้ว่า “โรคโควิด-19 กำลังเป็นภัยคุกคามมวลมนุษยชาติ ฉะนั้นพวกเราทุกคนต้องร่วมกันต่อสู้กับภัยครั้งนี้ การรับมือของประเทศใดประเทศหนึ่งเพียงลำพังนั้นไม่เพียงพอ เราต้องให้ความช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอและเปราะบางที่สุด ซึ่งมีมากมายหลายล้านคนที่ไม่อาจปกป้องตนเองได้ นี่เป็นเรื่องมนุษยธรรมขั้นพื้นฐานและเป็นสิ่งจำเป็นในการรับมือกับไวรัส และนี่คือเวลาที่เราต้องยื่นมือไปช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในภาวะเปราะบาง” ซึ่งเป็นคำประกาศในหลักการสำคัญ น่าชื่นชมจึงควรอย่างยิ่งที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นจริง

เมื่อเป็นดังนี้ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ซึ่งเป็นองค์การของผู้ใช้แรงงานในประเทศไทยมีจำนวนสมาชิกกว่า 400,000 คนจึงขอเรียกร้องให้องค์การสหประชาชาติประสานความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกพร้อมเป็นกลไกหลักในการกำหนดมาตรการต่าง ๆ ที่เหมาะสมเพื่อให้มวลมนุษยชาติเข้าถึงมาตรการการป้องกันโรคโควิด-19 เข้าถึงวัคซีนป้องกันอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมพร้อมกับยกเลิกระบบสิทธิบัตร ยา และวัคซีนป้องกันโรค ให้ประเทศที่มีความพร้อมสามารถผลิตวัคซีนได้อย่างเสรี สำหรับประเทศไหนที่ไม่มีความพร้อม ฐานะทางเศรษฐกิจอ่อนแอ ก็ให้องค์การสหประชาชาติ เข้าช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อเสนอนี้จะได้รับการพิจารณาไปดำเนินการ

ฉบับภาษาอังกฤษ ….

SERC/TLSC 004/2021

21 June 2021

Subject     Demand the United Nations to set measures for the world’s population to access to a COVID-19 vaccination

Dear         Mr. Secretary-General, Mr.António Manuel de Oliverira Guterres

Mankind all over the world are terribly facing the calamity of the COVID-19 pandemic. It causes an unprecedented number of infections and deaths. From the end of 2019 until the present, every country has been trying to support its own population as much as they can. However, there are different potentials and capabilities in terms of economic, society, public health, and politics make the cease of COVID-19 pandemic more challenging, causing the death of the world’s population in large numbers. The vaccination to end the pandemic is also one of the challenges due to the mentioned inequality of those. Vaccine production is in the hands of a few private companies’ patents and a few countries governments. Vaccine profiting from an expensive price and a hard-to-reach vaccines are major causes of pandemic and deaths of global populations. The death of the world’s population should not be absolutely taken for trade and profit.

The purpose of the United Nations was to “bring about, by peaceful means, adjustment or settlement of international disputes or situations; to develop peaceful relations among nations, and to take other appropriate measures to strengthen universal peace; to achieve international co-operation in solving international problems of an economic, social, cultural, or humanitarian character, and in promoting and encouraging respect for human rights and for fundamental freedoms for all”, with key principles written in the Universal Declaration of Human Rights.

United Nations Secretary-General António Guterres said: “COVID-19 is menacing the whole of humanity – and so the whole of humanity must fight back. Individual country responses are not going to be enough. We must come to the aid of the ultra-vulnerable – millions upon millions of people who are least able to protect themselves.  This is a matter of basic human solidarity. It is also crucial for combating the virus. This is the moment to step up for the vulnerable.” which is a key statement. It should be highly and admirably put into action.

The State Enterprise Workers’ Relations Confederation (SERC) and the Thai Labor Solidarity Committee (TLSC), both workers’ organizations in Thailand with their memberships and organizational affiliates consisting of state enterprise sector, private sector, informal workers, and migrant workers, with the total number of 400,000 workers, would like the United Nations, working together with the member countries around the world, to be the main mechanism for setting appropriate measures to allow humanity access to preventive measures against COVID-19 and access to equal and fair vaccination. In addition, the abolition of the patent system for medicines and vaccines will allow the potential countries to produce vaccines freely. Countries lacking of potential with weak economic position should be urgently supported by the United Nations. We sincerely hope that you will give this suggestion consideration.

Yours sincerely,

(Mr.Sawit Kaewvarn)
President of Thai Labor Solidarity Committee (TLSC)
General Secretary of State Enterprises Workers’ Relations Confederation (SERC)

(รายงานโดยวาสนา ลำดี)