จดหมายเปิดผนึกเครือข่ายเด็กเท่ากันถึงรัฐ หยดุการละเมิดสิทธิเด็กสิทธิชุมชน กรณีกระเหรี่ยงบางกลอย

เครือข่ายเด็กเท่ากัน ส่งจดหมายเปิดผนึก “หยดุการละเมิดสิทธิเด็กสิทธิชุมชนท้องถิ่นดั่งเดิมและการใช้ความรุนแรงอย่างไร้มนุษยธรรม” กรณีกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย อ.แกง่ กระจาน จ.เพชรบุรี วันที่ 1 เมษายน 2564 ที่บ้านบางกลอยล่าง

จากกรณีเจ้าหน้าที่อุทยานแก่งกระจานสนธิกำลังผลักดันและอพยพชาวกะเหรี่ยงบางกลอยที่ขอกลับไปทำกินในที่ดินไร่หมุนเวียนดั้งเดิม ที่ เคยถูกบังคับอพยพและเผาบ้านพักในปี 2554 ทำให้เดือนกุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมาชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย ได้มาชุมนุมขอความเป็น ธรรมจากรัฐบาลจนมีการทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน โดยรัฐมนตรีสำนัก นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง ลงนามร่วมกับตัวแทนราษฎร และเครือข่ายภาคี save บางกลอย โดยให้ยุติการใช้ความรุนแรง ยุติการจับกุม และตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาข้อมูลและพิจารณาแก้ไขปัญหาให้ ชาวบ้านบางกลอย แต่รัฐบาลไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเพียงสองสัปดาห์ หลังทำข้อตกลงวันศุกร์ที่ 5 มี.ค. 2564 เจ้าหน้าที่อุทยานฯ และหลายหน่วยงานจากจังหวัดเพชรบุรีก็ใช้เฮลิคอปเตอร์ไปอพยพชาวบ้าน ซึ่งรวมทั้งเด็กและผู้สูงอายุจำนวน 85 คนลงมาทั้งหมด และดำเนินคดี 30 คน ส่งเข้าเรือนจำทันทีโดยไม่ยอมให้พบทนายและญาติพี่น้องที่พยายาม ขอเข้าพบจนมีภาพที่สะเทือนใจไปทั้งสังคมเมื่อญาติพี่น้องพากันก้มลง กราบกับดินต่อเจ้าหน้าที่ที่ติดกำลังอาวุธท่าทีขึงขังจำนวนมาก ปานประหนึ่งจับกุมอาชญากรร้ายแรง แต่ก็ไม่ยอมให้ญาติพี่น้องและทนายความพบผู้ที่ถูกคุมขัง และเร่งส่งเข้าเรือนจำทันที มีแม่ลูกอ่อนที่ยังกินนมแม่3 คนต้องถูกพรากออกไปจากอกแม่ไม่ยอมให้ส่งให้ญาติที่มาขอเยี่ยมที่อุทยานฯต้องไปตามหาเอาเอง แม้วันอาทิตย์ที่ 7 มี.ค. 2564ชาวบ้านจะถูกปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่มีหลักประกัน แต่ทั้งหมดนี้เป็นการละเมิดสิทธิเด็ก ละเมิดสิทธิในกระบวนการยุติธรรม และละเมิดสิทธิชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม พวกเขายังไม่มีโอกาสพบทนายที่เตรียมมาประกันตัวในวันจันทร์แต่มีการให้ชาวบ้านเซ็นยอมรับเงื่อนไขว่าจะไม่กลับไปทำไร่ที่ข้างบนอีก หากฝ่าฝืนแต่ละครั้งจะถูกปรับเป็นเงิน 50,000 บาท ถ้าไม่ยอมเซ็นก็จะไม่ได้ออกมา

เครือข่ายองค์กรด้านเด็ก ผู้หญิง นักศึกษา และด้านแรงงาน ในนาม เครือข่ายเด็กเท่ากัน มีความเห็นว่ากลุ่มชนเผ่ากะเหรี่ยงมีถิ่นฐานอยู่ที่ ชุมชนบางกลอย/ใจแผ่นดินมายาวนานก่อนที่จะมีการประกาศตั้งอุทยาน แก่งกระจานในปี 2524 ประจักษ์พยานชัดเจน เช่น ปู่คออี้ ที่อยู่ในพื้นที่ และดำรงวิถีชีวิตไร่หมุนเวียนมาจนมีอายุถึง 70 ปี ขณะที่เพิ่งมีการประกาศตั้งอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานและมีข้อเท็จจริงชัดเจนว่า ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำวินิจฉัยให้กรมอุทยานฯ จ่ายค่าเสียหายต่อการเผาบ้านพักของปู่คออี้และลูกหลานรวม 6 คนที่ยื่นฟ้องหลังละ 50,000 บาท พี่น้องกะเหรี่ยงบางกลอยร้องทุกข์ต่อรัฐบาลมายาวนานแล้วว่าพวกเขากำลังได้รับความเดือดร้อนแสนสาหัสจากการกระทำของรัฐ โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชได้ใช้ความรุนแรงและละเมิดสิทธิใน การอยู่อาศัยตั้งถิ่นฐาน การทำไร่หมุนเวียนตามวิถีวัฒนธรรมที่ได้รับการลงทะเบียนว่าเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมไทย อย่างไร้มนุษยธรรม และการบังคับอพยพมาสองละลอกใหญ่ในปี 2539 และปี 2554 ไม่ได้รับที่ดินทำกินที่สามารถรักษาวิถีชีวิตภูมิปัญญาแบบไร่หมุนเวียน บางส่วนไม่ได้รับการจัดสรรที่ดินทำกินบางส่วนที่ดินไม่สามารถทำเกษตรได้ขาดแคลนน้ำทำให้มีความจำเป็นต้องดิ้นรนเพื่อให้ครอบครัวอยู่รอดมีข้าวพอกิน ส่วนหนึ่งจึงกลับไปยังบางกลอยบนอีกครั้ง

ชาวบ้านพยายามต่อสู้เพื่อกลับถิ่นเดิมอยู่เสมอมา ผู้ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนชาวบ้าน อ.ทัศน์กมล โอบอ้อม ถูกฆ่าตาย ผู้นำชุมชน บิลลี่ รักจงเจริญ ถูกฆ่าอย่างทำรุณทั้งสองคนยังไม่สามารถจับใครมาลงโทษได้ คนหนุ่ม สาวพยายามไปทำงานหารายได้ในเมืองส่งเงินกลับมา ซื้อข้าวกินพอประทังชีพ แต่ช่วงปี 2556 เป็นต้นมา ประเทศไทยเกิด ปัญหาเศรษฐกิจย่ำแย่และวิกฤติโควิดสองครั้งยิ่งทำให้คนไม่มีงานทำ ไม่มีรายได้ ต้องกลับมาชุมชนและหาที่ทำกินเลี้ยงชีพ แต่ไม่มีที่ดินและอาชีพ รองรับ ไม่มีข้าวและอาหารเพียงพอ ทั้งที่วิถีชุมชนกะเหรี่ยงถ้ามีที่ทำกิน และทำไร่หมุนเวียนไม่เคยต้องขอข้าวใครกิน เครือข่ายองค์กรภาค ประชาชนต้องรณรงค์รับบริจาคข้าวและอาหารตั้งเป็นกองทุนช่วยเหลือแก้ความยากลำบากเฉพาะหน้า

พวกเราในนามเครือข่ายองค์กรด้านเด็ก ผู้หญิง นักศึกษา และด้านแรงงาน (เครือข่ายเด็กเท่ากัน) เห็นว่าการกระทำของรัฐบาลดังกล่าวข้างต้นเป็นการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มชาติพันธุ์ชนเผ่า ไม่เคารพหลักการสิทธิ มนุษยชน ละเมิดต่อสิทธิเด็กขั้นพื้นฐาน และสิทธิเสรีภาพของกลุ่มชุมชน ท้องถิ่นดั้งเดิม และยังใช้ความรุนแรงอย่างไร้มนุษยธรรมข่มขู่คุกคามและ จับกุมดำเนินคดี ปิดกั้นไม่ให้เข้าถึงทนายและปกป้องสิทธิของตนเองใน การต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรม อันเป็นการกระทำที่ผิดไปจากข้อตกลง ในอนุสัญญาต่างๆ ที่ประเทศไทยลงนามให้สัตยาบันไว้

จึงเรียกร้องให้ เคารพต่อบันทึกข้อตกลงร่วมกันที่ลงนามโดยรัฐมนตรีสองกระทรวง และ ดำเนินการศึกษาข้อเท็จจริงบนฐานการเคารพสิทธิเด็ก สิทธิผู้หญิง และ สิทธิชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม บันทึกและแถลงในโอกาสที่เครือข่ายเด็กเท่ากันมาเยี่ยมเยียนให้กำลังใจ แม่ลูกอ่อน เด็กๆ คนพิการ และครอบครัวที่ถูกจับดำเนินคดี พร้อมร่วมสนับสนุนข้าวสาร อาหารแห้ง ที่บ้านบางกลอยล่าง