ทวงถามนโยบายแรงงาน -ปรับขึ้นค่าจ้าง400-425 บาท ด้านหม่อมเต่า แจงรอก่อนให้ปลัดหามติ มองปรับขึ้นได้คนส่วนใหญ่ต้องพึงพอใจ
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2562 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) พร้อมด้วยเครือข่าย องค์กรแรงงานจากกลุ่มต่างๆ ได้เข้ายื่นหนังสือต่อม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว.แรงงาน) ถึงนโยบายด้านแรงงาน และข้อเรียกร้องวันกรรมกรสากลที่ได้ยื่นไว้ตั้งแต่ปี 2560 ตามที่คณะจัดงานวันกรรมกรสากล 2562 ประกอบด้วย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.)และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) ได้ยื่นหนังสือเพื่อติตามข้อเรียกร้องวันกรรมกรสากล ปี 2560 ลงวันที่ 25 เมษายน 2560 ต่อฯพณฯนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2562 ณ ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล 1111 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
นายสมพร ขวัญเนตร ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า ในการยื่นข้อเรียกร้องของคสรท.นั้นได้ยื่นมาทุกปี และยังไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ทั้งหมด 10 ข้อ ซึ่งข้อเรียกร้องที่จะเสนอต่อรัฐบาลในปีนี้ดังนี้
- รัฐต้องจัดให้มีรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าที่มีคุณภาพให้ประชาชนทุกคน ได้เข้าถึงอย่างเท่าเทียมโดยไม่เลือกปฏิบัติ ทั้ง ด้านสาธารณสุข ประชาชนทุกคนเข้าถึงโดยไม่มีค่าใช้จ่าย รวมถึงด้านการศึกษาตามความต้องการในทุกระดับ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเช่นกัน
- รัฐต้องกำหนดค่าจ้างแรงงานที่เป็นธรรมให้ครอบคลุมผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน โดยกำหนดนิยามค่าจ้างขั้นต่ำแรกเข้าที่มีรายได้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัว อีก 2 คน ตามหลักการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ และต้องเท่ากันทั้งประเทศ รวมถึงกำหนดให้มีโครงสร้างค่าจ้าง และปรับค่าจ้างทุกปี
- รัฐต้องให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกัน และอนุสัญญาฯ ฉบับที่ 98 ว่าด้วยการปฏิบัติตามหลักการแห่งสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง เพื่อสร้างหลักประกันในการรวมตัวและการเจรจาต่อรอง และอนุสัญญาฯ ฉบับที่ 183 ว่าด้วยการคุ้มครองความเป็นมารดา (ตามรัฐธรรมนูญ หมวด 3 มาตรา 48)
- รัฐต้องปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพรัฐวิสาหกิจในการให้บริการที่ดี มีคุณภาพ เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ดังนี้
– ยกเลิกนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจและการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจทุกรูปแบบ
– จัดตั้งกองทุนพัฒนารัฐวิสาหกิจ
-ให้มีการบริหารจัดการที่โปร่งใส ตรวจสอบได้และมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ
5. รัฐต้องยกเลิก นโยบายที่ว่าด้วยการลดสวัสดิการพนักงานรัฐวิสาหกิจและครอบครัว
6. รัฐต้องปฏิรูประบบประกันสังคม ดังนี้
- ปฏิรูปโครงสร้างการบริหารงานสำนักงานประกันสังคม ให้เป็นอิสระ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และให้ผู้ประกันตนมีส่วนร่วม
- จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ในสัดส่วนที่เท่ากัน ระหว่างรัฐ นายจ้าง ลูกจ้าง ตามหลักการของ พรบ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 และนำส่งเงินสมทบที่รัฐบาลค้างจ่ายให้เต็มตามจำนวน
- เพิ่มสิทธิประโยชน์ ผู้ประกันตน มาตรา 40 ให้เท่ากับ มาตรา 33
- เพิ่มสิทธิประโยชน์ ชราภาพ 50 เปอร์เซ็นต์ ของเงินเดือนสุดท้าย
5.ให้สำนักงานประกันสังคมประกาศใช้ อนุบัญญัติทั้ง 17 ฉบับที่ออกตาม พรบ.ประกันสังคม ฉบับแก้ไข พ.ศ. 2558
- ขยายกรอบเวลาการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ในกองทุนเงินทดแทน จนสิ้นสุดการรักษาตามคำวินิจฉัยของแพทย์
- รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด กรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย เช่น การปิดกิจการ หรือยุบเลิกกิจการในทุกรูปแบบ (ตามรัฐธรรมนูญ หมวด 5 มาตรา 53)
- รัฐต้องจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงจากการลงทุนโดยให้นายจ้างจ่ายเงินเข้ากองทุนเพื่อเป็นหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิแรงงาน เมื่อมีการเลิกจ้างหรือเลิกกิจการไม่ว่ากรณีใดก็ตาม ผู้ใช้แรงงานมีสิทธิได้รับเงินชดเชยจากกองทุน รวมทั้งการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างได้ (กรณีศึกษา บริษัท บริติช-ไทยซินเทติค เท็กสไทล์ จำกัด)
- รัฐต้องเร่งรัดให้มีการพัฒนากลไกการเข้าถึงสิทธิ์ การบังคับใช้ พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 อย่างจริงจัง ภายใต้การมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน และยกเลิกการใช้แร่ใยหินในทุกรูปแบบ
- รัฐต้องจัดสรรเงินงบให้กับสถาบันความปลอดภัยฯ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการเรื่องความปลอดภัย ให้มีประสิทธิภาพ
โดย มีประเด็นเร่งด่วนให้รัฐมนตรีแรงงานดังนี้
ประเด็นประกันสังคม คือ
- รัฐต้องจัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคมชุดใหม่แทนชุดเก่าที่ลาออกเป็นกรณีเร่งด่วน โดยเลือกผ่านตัวแทนองค์กรผู้ประกันตน 50 คนต่อ 1 เสียง
- รัฐต้องปฏิรูประบบประกันสังคม ดังนี้
2.1 ปฏิรูปโครงสร้างการบริหารงานสำนักงานประกันสังคม ให้เป็นอิสระ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และให้ผู้ประกันตนมีส่วนร่วม
2.2 จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ในสัดส่วนที่เท่ากัน ระหว่างรัฐ นายจ้าง ลูกจ้าง ตามหลักการของ พรบ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 และนำส่งเงินสมทบที่รัฐบาลค้างจ่ายให้เต็มตามจำนวน
2.3 ให้สำนักงานประกันสังคมประกาศใช้ อนุบัญญัติทั้งหมดที่ออกตาม พรบ.ประกันสังคม ฉบับแก้ไข พ.ศ. 2558
2.4 เพิ่มสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตนดังนี้
- สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ให้ได้รับสิทธิประโยชน์เหมือนกันกับ มาตรา 33
- เพิ่มเงินสิทธิประโยชน์ กรณีชราภาพร้อยละ 50 ของเงินเดือนสุดท้ายการสิ้นสุดเป็นผู้ประกันตน
- ขยายกรอบระยะเวลาและเพดานการรักษาทั้งกองทุนเงินทดแทนและกองทุนประกันสังคมจนสิ้นสุดการรักษาและให้ครอบคลุมการรักษาทุกโรค ยกเว้นเป็นการศัลยกรรมตกแต่ง
- เพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตรจาก 600 บาท เป็น 1,000 บาท และขยายอายุจาก 6 ปีเป็น 10 ปี
- กรณีส่งเงินสมทบครบ 15 ปีให้ได้รับสิทธิการรักษาพยาบาลตลอดชีวิต
- กรณีการขยายเวลาสิ้นสุดการเกษียณอายุจาก 55 เป็น 60 ปี ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานผู้ประกันตนต้องได้รับเงินชราภาพตามสิทธิเดิม ส่วนสิทธิจาก 55 ถึง 60 ปี ให้เป็นภาคสมัครใจหรือเป็นไปตามทางเลือกที่ตกลงกัน
- การได้สิทธิตามพระราชบัญญัติประกันสังคมจะต้องไม่ตัดสิทธิตามกฎหมายอื่น
ประเด็นการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ คือ
1.รัฐต้องดำเนินการปรับค่าจ้างขั้นต่ำตามที่ได้หาเสียงไว้กับประชาชนเป็นกรณีเร่งด่วน
2.รัฐต้องดำเนินการควบคุมราคาสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพไม่ให้แพงเกินจริงสอดคล้องกับการปรับค่าจ้าง
3.รัฐต้องกำหนดให้มีโครงสร้างค่าจ้าง และปรับค่าจ้างทุกปี ตามสภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้นและครอบคลุมลูกจ้างทุกสาขาอาชีพ
ด้านม.ร.ว. จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นพรรคการเมืองที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 5 คน ก็ต้องยอมรับตามนโยบายโดยรวมที่นายกรัฐมนตรีแถลงเนื่องจากมีพรรคการเมืองที่ร่วมรัฐบาลถึง 19 พรรค มีหลายนโยบาย จึงไม่ใช่ว่าจะปรับขึ้นค่าจ้าง 425 บาท สิ่งที่ผู้ใช้แรงงานชูป้ายวันนี้ ซึ่งเป็นข้อเสนอของพรรคหนึ่ง(พรรคพลังประชารัฐ)ที่ถือว่าเป็นพรรคใหญ่ในรัฐบาล หากทำแล้วคนงานทั้งหมดได้ หรือคนงานจากประเทศเพื่อนบ้านที่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้นจาก 2.8 แสนเป็น 8 แสนคน ของเรา เพราะขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจาก 2.8 ล้านคนเพิ่มเป็น 3.8 ล้านคน เพราะนายจ้างไม่ยอมปรับขึ้นค่าจ้างให้มากว่านั้นอีก 2 ปีต่อมาจำนวนแรงงานข้ามชาติลดเลือก 2.8 ล้านคน จึงคิดว่าหากมีการปรับขึ้นค่าจ้างตามที่ผู้ใช้แรงงานมาชูป้ายทวง 425 บาท นั้นจะมีความเปลี่ยนแปลงมหาศาลอาจมีคนตกงานจำนวนมาก และคนที่ไม่มีทักษะก็จะลำบาก คงต้องพยายามหาความพอดีพอเหมาะ แต่อย่างไรก็คงต้องขึ้นอยู่กับทางปลัดที่ลงมติ ส่งมาให้รัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีเพื่อลงความเห็นชอบประกาศซึ่งในฐานะพรรคเล็กก็ต้องดูความพึงพอใจของประชาชนส่วนใหญ่พอใจและอธิบายได้