สรุปเสวนา 1สิงหา วันสตรีไทย”เสวนา”พบเห็นผู้หญิง ถูกทำร้าย สังคม ช่วยได้”

ทุกวันที่ 1 สิงหาคม ของทุกปี ประเทศไทยถือวันนี้เป็นวันสตรีไทย มีหลายหน่วยงานของภาครัฐที่ทำงานด้านการให้ความช่วยเหลือเด็ก ผู้หญิง และครอบครัว ได้จัดกิจกรรม โดยปีนี้มูลนิธิเพื่อนหญิง ร่วมกับมูลนิธิพิทักษ์สตรี และเครือข่ายสตรี 4 ภาค ได้จัดเวทีเสวนาทางวิชาการ เรื่อง”พบเห็น ผู้หญิง ถูกทำร้าย สังคม ช่วยได้” ที่ The conneccion  MRT ลาดพร้าว

การเสวนาครั้งนี้ ต้องการสะท้อนภาพสถานการณ์ความรุนแรงของผู้หญิงเด็ก เยาวชน ที่ถูกทุบตี ทำร้าย ฆ่า ข่มขืน นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ  ในขณะเดียวกันการช่วยเหลือของผู้คนในสังคมที่พบเห็นเหตุการณ์กับมีภาพที่ให้การช่วยเหลือน้อยลง จนบางครั้งเป็นการนิ่ง เฉย มองดู แล้วก็เดินจากไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น กลายเป็นภาพความเคยชิน และจบลงด้วยการสูญเสีย ซึ่งก่อนการเสวนาประธานมูลนิธิเพื่อนหญิง คุณสุรภี ชูตระกูล ได้กล่าวเปิดงานเสวนา และพูดถึงสถานการณ์ความรุนแรงต่อผู้หญิงการทำงานของมูลนิธิเพื่อนหญิง และความคาดหวังต่อการเสวนาครั้งนี้จะนำไปสู่การมีข้อเสนอเพื่อแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิง ในสังคมไทยให้ดีขึ้น จากนั้นคุณ พัชรี ไหมสุข หัวหน้าฝ่ายศูนย์พิทักษ์สิทธิสตรี มูลนิธิเพื่อนหญิง ได้รายงานผ่านการับเรื่องร้องทุกข์ของศูนย์พิทักษ์สิทธิสตรี มูลนิธิเพื่อนหญิงในรอบ 1 ปี 6 เดือน (ม.ค. 2559 – มิ.ย.2561) มีผู้หญิงที่มาขอคำปรึกษาทั้งมาด้วยตนเอง มาทางโทรศัพท์ และทางเพช เฟสบุ๊ค รวมทั้งสิ้น 2,199 ราย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกรณีการถูกใช้ความรุนแรงในครอบครัว มีมากถึง 1,825 ราย รองลงมาเป็นกรณีท้องไม่พร้อม การล่วงละเมิดทางเพศ แต่งงานในวัยเรียน ข่มขืน ลวนลาม และอนาจาร รวมกัน 185 ราย ส่วนที่เหลือจะเป็นกรณีสังคมสงเคราะห์ถูกทอดทิ้ง 154 ราย และสุดท้ายเป็นกรณีที่ถูกข่มขู่เผยแพร่คลิป 32 ราย ถูกล่อลวงค้าประเวณี และค้ามนุษย์ด้านแรงงาน 8 ราย จากภาพรวมจะเห็นแนวโน้มสภาพปัญหาอนาคต ในมิติความสัมพันธ์ชีวิตคู่จะมีความรุนแรงในครอบครัวเพิ่มมากขึ้น การคุกคามทางเพศจะเป็นคนใกล้ชิด ซึ่งจะเกิดกับเด็ก เยาวชน ผู้หญิงพิการในเขตชนบทที่ไม่มีช่องทางการต่อสู้ พิทักษ์สิทธิ มีมากเป็นลำดับ ในขณะเดียวกัน ปัญหาเรื่องการข่มขืน มีความสัมพันธ์ทางเพศก่อนวัยอันควร มีการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ และต้องออกจากโรงเรียน จนนำไปสู่การยุติการตั้งครรภ์ จะมีแนวโน้มที่สูงมากจนเป็นวาระของชุมชน จังหวัด และชาติในขณะนี้ ในเวทีเสวนามีนักวิชาการ และนักปฏิบัติการทางสังคม ด้านเด็ก เยาวชน สตรี ได้นำเสนอประเด็นเชิงสถานการณ์และแนวทางแก้ไขในอนาคตไว้อย่างน่าสนใน กล่าวคือ

  • ดร.รัชดา ธนาดิเรก อดีตนักการเมืองหญิงพรรคประชาธิปัตย์ มองว่า สังคมไทยมีปัญหาหญิงชายในเชิงทัศนะคติ ที่ชายคิดว่าหญิงเป็นวัตถุทรัพย์สมบัติ เป็นความคิดแบบชายเป็นใหญ่ ในขณะเดียวกันผู้หญิงเองก็ยังมองตนเองว่าอ่อนแอ ไม่กล้าออกมาปกป้องสิทธิเนื้อตัว ร่างกาย จิตใจ ของตนเอง ทางแก้ไขที่จะทำให้ผู้หญิงไม่ถูกทำร้ายคือ ผู้ชายต้องเคารพในสิทธิ ศักดิ์ศรีของผู้หญิง ปรับรากฐานคิดพ่อ แม่ ครู ให้สอนลูกหลาน เรื่องความรุนแรงในครอบครัว ความรุนแรงทุกรูปแบบ ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว และไม่ต้องกลัวความเป็นหมาหัวเน่า ต้องมีจิตใจอยากจะช่วยเหลือ อีกทั้งต้องกล้าที่จะสนับสนุนเชิดชู ผู้หญิงที่ถูกระทำ แล้วกล้าออกมาต่อสู้ เพื่อเป็นกำลังใจ และแบอย่างที่ไม่ยอมจำนนท์ ดร.รัชดาทิ้งท้ายไว้อย่างน่าสนใจคือ ”เราอย่ารับรู้เพียงคาสถิติตัวเลข แต่เราควรตื่นรู้ และสนับสนุนคนที่ออกมาพูดและต่อสู้เรื่องเหล่านี้”
  • ผศ.ดร.รัก ชุณหกาญน์ นักวิชาการคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวงว่า ในทาง จิตวิทยา ความรุนแรงเป็นเรื่องของอำนาจ ที่แสดงความเหนือกว่าคนอื่นโดยมีบริบทการใช้อำนาจการทำร้ายทางร่างกาย และจิตใจการแสดงความโกรธ เป็นพฤติกรรมการแสดงออกมาซึ่งทุกคนมีอยู่ในตัว แต่ เราคิดว่า “การทำร้ายฆ่าคนที่เราเคยรัก” เราทำได้ถึงขนาดนั้นหรือ สังคมไทยเต็มไปด้วยความรุนแรง และการเอาเรื่องความรุนแรงมาทำเป็นเรื่องตลกขบขัน สื่อทุกฉบับเปิดมาดูมีเรื่องความรุนแรงทุกหน้า มันเริ่มจากจุดเล็กๆ เช่นเริ่มโมโหก็กระแทกข้าของ และขยับมาลงไม้ลงมือ ในทางจิตวิทยา เรียกว่า”จิตใต้สำนึก” ส่วนปัจจัยความรุนแรงคงหนีไม่พ้น เหล้า สุรา และละครฯลฯ ที่เป็นปัจจัยกระตุ้นให้กระทำความรุนแรงโดยไม่รู้ตัว ทางแก้ไข เราต้องใช้รูปแบบความรัก ให้อภัย ปรับทัศนะคติมองผู้หญิงไม่อ่อนแอ และสำคัญคือการเข้าใจในเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
  • คุณชลีรัตน์ แสงสุวรรณ ผู้อำนวยการมูลนิธิพิทักษ์สตรี กล่าว่า การค้ามนุษย์กับความรุนแรง มาจากสื่อโซเชี่ยลมีเดียร ร้อยละ 60 มีเด็กอายุน้อยเข้ามาขายบริการทางเพศ มีสาเหตุมาจาก ครอบครัวทิ้ง และการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มาเหมาะสม เด็กไม่รู้ว่าการได้มาซึ่งวัตถุ ดโยใช้ตัวเองเข้าเสี่ยงจะอันตรายและตกเป็นผู้ถูกค้ามนุษย์ ตัวอย่างที่ภาคอีสานบางจังหวัดพบว่า ส่วนใหญ่ถ้าแม่ทำอาชีพค้าบริการมาก่อนเด็กก็จะมีอาชีพตามแม่ ประสบการณ์การช่วยเหลือเคสที่ตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์จากต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะมีครอบครัวที่มีการใช้ความรุนแรง และผ่านการท้องไม่พึงประสงค์ มีลูกอายุน้อย หรือตัวอย่างกรณีเคสที่แม่ฮ่องสอน จะเห็นว่าเมื่อสืบไปแล้วเด็กผู้เสียหายมาจากครอบครัวที่เปาะบาง ครอบครัวยากจน ขาดความอบอุ่น มีการศึกษาน้อย และไม่มีทางเลือกมากนักในอาชีพการศึกษาเป็นต้น ทางแก้ไข ต้องมีการรวบรวมองค์ความรู้ เขียนออกมาเป็นบทเรียน เผยแพร่รณรงค์ เรื่องทักษะการจัดการยุติความรุนแรงในเรื่องการใช้เครื่องมือ เทคโนโลยี เพื่อช่วยเหลือตนเองหรือเหตุการณ์ความรุนแรง เป็นต้น อีกทั้งต้องมีการปฏิบัติการ กระตุ้นขับเคลื่อนให้คนในสังคมได้ช่วยกันช่วยเหลือเมื่อพบเห็นเหตุการณ์ความรุนแรงเป็นต้น
  • ทนายเดชา กิตติวิทยานันท์ ทนายคลายทุกข์ จากรายการถามตรงกับจอมขวัญ ไทยรัฐทีวี มองว่า ทุกคนในสังคมเป็นคนดีถ้าผู้หญิงจะต่อสู้กับผู้ชายต้องมีการฝึกฝน โดย ผู้หญิงต้องฝึกศิลปะป้องกันตนเอง ผู้หญิงต้องรู้สิทธิของตนเองทางกฎหมาย ผู้หญิงต้องใช้เครื่องมือสื่อสารให้เป็นประโยชน์ ซึ่งต้องเปิดให้มีการสอนทักษะการใช้โทรศัพท์สื่อสาร และรู้เรื่องการเตรียมพร้อมเครื่องมือให้ใช้ได้ตลอดเวลา เช่นการถ่ายคลิป การไล้น์สดต้องทำให้เป็น และต้องให้การใช้สื่อ เพื่อทำให้ผู้กระทำความผิดไม่มีที่ยืนอีกต่อไปในสังคม สำคัญสุดท้ายคือผู้หญิงต้องลดการเผชิญหน้า เพื่อลดความรุนแรง ทางแก้ไข ผู้หญิงต้องรู้กฎหมาย เช่น รัฐธรรมนูญ หรือความรู้เรื่องกฎหมายอาญา การช่วยเหลือขนาดไหนถือว่าไม่มีความผิด การมีสติ และการออกมา Action ช่วยเหลือ หรือการใช้เจรจาต่อรอง การใช้พฤติกรรมทาทีที่เป็นมิตร และสำคัญคือ การกระตุ้นให้หน่วยงานรัฐที่ทำงานช่วยเหลือเด็ก สตรี ได้มีทักษะในการช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อน

ในช่วงสุดท้ายของการเสวนาฯ ดร.ปิยพร ท่าจีน มหาวิยาลัยราชภัฎจันทรเกษม ผู้ดำเนินการเสวนา ได้ถามปิดท้ายกับวิทยากร ในเรื่อง “เจ้าหน้าที่รัฐ ควรมีบทบาทอย่างไรในการช่วยเหลือผู้ถูกกระทำความรุนแรง “ ซึ่งสรุปภาพรวมจากวิทยากร

หนึ่ง ประชาชน ผู้หญิงต้องเข้ามาใช้ พรบ.ยุติความรุนแรงในครอบครัว ที่มีอยู่ให้มาก เพื่อให้เจ้าหน้าที่ ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนี้ต้องกระทำการช่วยเหลือ

สอง ต้องปรับทัศนะคติ ตำรวจ และเจ้าหน้าที่รัฐในการช่วยเหลือ ไม่ใช่มองว่า ความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องผัวเมีย และไม่ควรมีการยกเลิกการรับผู้หญิงเป็นพนักงานสอบสวน หรือการเป็น นักเรียนนายร้อยหญิง อีกทั้งการรับพนักงานสอบสวนต้องจบเนติบัณฑิต เพราะจะมีความเชี่ยวชาญในการรวบรวมหลักฐานและการทำสำนวนที่ต้องใช้ภาษากฎหมายอย่างถูกต้อง

สาม คดีความรุนแรงต่อผู้หญิงต้องมีนักจิตวิทยา ร่วมทำสำนวนสอบ เหมือการมีพนักงานสอบสวนหญิง เพื่อแก้ปัญหาการทำสำนวนอ่อน และสุดท้ายผู้กระทำผิดก็ไม่ถูกลงโทษ เพราะปัจจุบัน”สังคมไทยคุ้นชินกับความรุนแรง เราต้องปิดช่องโหว่เหล่านี้ให้ได้”

สี่ รัฐต้องมียุทธศาสตร์การจัดการความรุนแรง และเคารพในสิทธิของผู้ถูกกระทำ เช่นการไม่ถ่ายภาพและออกสื่อซ้ำๆ ต้องปกปิดชื่อ และที่อยู่เป็นต้น

ห้า รัฐต้องมีการบรรจุเรื่องของความรุนแรง และสถาบันครอบครัวเข้าไปไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียน โดยเฉพาะประเด็นเรื่องความรู้ความเข้าใจมนบทบาทหญิงชาย

หก ประชาชน และผู้หญิงที่ถูกกระทำความรุนแรง สามารถได้รับบริการ และใช้กลไกรัฐสภาได้อย่างสะดวก ซึ่งจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการปกป้องสิทธิไม่ให้ถูกกระทำที่ไม่เป็นธรรม

สรุปโดย บัณฑิต แป้นวิเศษ มูลนิธิเพื่อนหญิง