ผนึกกำลังเสนอรัฐบาลให้สัตยาบันILOฉบับที่ 144 ว่าด้วยการปรึกษาหารือร่วม ด้านรัฐดอดรับอนุสัญญาฉบับที่ 29 และฉบับที่ 188 ส่วนฉบับที่ 87 และ98 ยังต้องรอ
เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2561 ได้มีการสัมมนา “อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO.) ฉบับที่ 144 การทำงานของไตรภาคีในประเทศไทย” จัดโดยสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย สนับสนุนโดย องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO.) เนื่องจากทางสภาฯเล็งเห็นความสำคัญของการหารือร่วมของไตรภาคีก่อนที่จะมากำหนดนโยบายด้านแรงงานของประเทศ ด้านความร่วมมือในระดับไตรภาคีจึงมีความจำเป็นต้องยกระดับและพัฒนาขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
“การพัฒนาด้านเทคโนโลยีใหม่ ทำให้นายจ้าง และลูกจ้าง และรัฐต้องมีการพัฒนากลไกในหารปรึกษาหารือ ซึ่งระบบไตรภาคีมีความสำคัญที่จะพัฒนากลไกการปรึกษาหารือร่วมกัน 3 ฝ่าย แต่ละปีILOจะมีการกำหนดอนุสัญญาใหม่ๆออกมาและILOก็มีการเรียกร้อง ส่งเสริมให้มีการให้สัตยาบันอนุสัญญาILO) ฉบับนี้เป็นเรื่องการสร้างแนวทางปรึกษาหารือร่วม 3” นายเอกสิทธิ์ คุณานันทกุล ประธานสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย กล่าว
นายยัง โมยุน ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO.) กล่าวว่า ในปี2018นี้จะครบ 100 ปี การจัดตั้งองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO.) เรื่อง อนุสัญญาILO ฉบับที่ 144 ที่ว่าด้วยการปรึกษาหารือร่วม ซึ่งเป็นมาตรฐานในทางปฏิบัติระหว่างประเทศ ซึ่งจะทำอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลมากที่สุดของทุกฝ่าย ทุกประเทศมีการใช้ระบบไตรภาคี อย่างเช่นเกาหลีใต้ ได้มีการปรับปรุงกฎหมายภายในเพื่อการปรึกษาหารือร่วม เป็นสภาไตรภาคี ว่าด้วยเรื่องเศรษฐกิจสังคมและแรงงาน เพื่อส่งเสริมการปรึกษาหารือร่วม เป็นต้น
รูปแบบของอนุสัญญาILO ฉบับที่ 144 เกี่ยวข้องกับแนวปฏิบัติที่ให้ตรงตามหลักการสัมพันธ์แบบไตรภาคีที่ต้องปรากฏ ซึ่งอนุสัญญาไม่ได้ระบุว่าให้ตั้งองค์กรไตรภาคีอย่างไร หัวใจคือให้มีการปรึกษาหารือกัน 3 ฝ่ายเกี่ยวกับมาตรฐานอนุสัญญาฉบับนี้
- ใครต้องเข้าไปมีส่วนร่วมปรึกษาหารือ ซึ่งแรกปรึกษากับองค์กรที่มีสมาชิกเสียงข้างมากที่สุด ทั้งองค์กรนายจ้าง และองค์กรลูกจ้าง แต่ไม่ได้บอกว่าให้เลือกตั้ง หรือสรรหาตัวแทนอย่างไร ตัวแทนเสียงข้างมากจากการทำงานเกี่ยวกับคนส่วนใหญ่อย่างไร บางประเทศอาจกำหนดเงื่อนไขเอง หลักการใหญ่ๆคือทำให้ทุกกลุ่ม ทุกฝ่ายมาร่วมปรึกษาหารือ
- อนุสัญญาฉบับนี้ คือรัฐบาลเป็นหลักในการนำเรื่องต่างๆไปปรึกษาหารือ ซึ่งมีอนุสัญญาฉบับนี้มีประเทศที่รับแล้ว 139 ประเทศ จาก 187 ประเทศ และจาก 10 ประเทศในอาเซียนให้สัตยาบันรับรองแล้ว 6 ประเทศ เหลือเพียง 4 ประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย ที่ยังไม่ได้รับรองสิตยาบันดังกล่าว ซึ่งอนุสัญญาILO144 เป็นการทำงานแบบปรึกษาหารือร่วมกัน จึงถือเป็นอนุสัญญาที่ว่า ด้วยความโปร่งใส มีธรรมาภิบาล ควรเป็นอนุสัญญาที่ต้องพิจารณาเป็นแนวปฏิบัติ สิ่งสำคัญต้องมีการกำหนดเนื้อหาสาระกันเอง เพื่อความยืดหยุ่นในการนำไปใช้สะท้อนความคิดว่า ILO คือสร้างกฎหมาย มาตรฐาน จำเป็นต้องใช้หลักการไตรภาคี ต้องมีองค์กรลูกจ้าง นายจ้างเข้าไปร่วมกับภาครัฐ ต้องยึดหลักการมีส่วนร่วม อนุสัญญาILO ฉบับที่ 144 กำหนดขึ้นมาเพื่อลดช่องว่าง และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม
ปีนี้ก็มีการกำหนดอนุสัญญาฉบับใหม่ขึ้นในวาระการประชุมประจำปี เป็นอนุสัญญาว่า ด้วยการล่วงละเมิดในที่ทำงาน ซึ่งมีการประชุมประจำปีในปีต่อไป ซึ่งเป็นการประชุหารือกันก่อนทุกประเทศสมาชิกมีการทำแบบสอบถามความต้องการซึ่งเป็นการปรึกษาหารือกัน 3 ฝ่าย ซึ่งรัฐบาลต้องให้ความเห็นว่า ต้องการที่จะให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญา หากมีการออกกฎหมายใหม่และอาจมีขั้นตอนในการหารือกันทั้ง 3 ฝ่ายเมื่อรัฐบาลเห็นควรรับรองต้องหารือกัน 3 ฝ่าย หลักการคือต้องแสดงความความคิดเห็นที่อาจไม่ใช่การเห็นพ้องต้องกัน ซึ่งสุดท้ายรัฐบาลต้องเป็นผู้สรุปผลของการหารือซึ่งต้องตรงต่อความต้องการของทุกคนหรือไม่ต้องหารือแลกเปลี่ยนกันซึ่งต้องเป็นการหารือแบบมีประสิทธิภาพ ซึ่งสุดท้ายรัฐบาลจะตัดสินใจ
ด้านนางอังคณา เตชะโกเมนท์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ สำนักพัฒนามาตรฐานแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงานได้กล่าวว่า การดำเนินงานทางรัฐบาลก็ให้ความสำคัญด้วยการใช้แนวทางการปรึกษาหารือร่วม เป็นระบบไตรภาคี ซึ่งกำหนด
โดยกฎหมายอยู่ ซึ่งมีการทำระบบสอบถามส่งไปให้องค์กรแรงงานได้ตอบแสดงความคิดเห็นส่งกลับมาที่กระทรวงแรงงาน โดยมีหลักตามมาตรฐานองค์การแรงงานระหว่างประเทศ คือ
- ต้องมีการให้ความคิดเห็น การตอบแบบสอบถาม โดยรัฐบาลเกี่ยวกับวาระการประชุม
- เมื่อมีอนุสัญญาฉบับใหม่ออกมาต้องมีการส่งสู่การพิจารณาให้สัตยาบัน หรือการปฏิบัติ ซึ่งหลักการของILOให้มีการเสนอผ่านการปรึกษาหารือร่วมกับองค์กรนายจ้าง และองค์กรลูกจ้าง และส่งให้รัฐสภารับรู้ และปรึกษาหารือร่วม
- เมื่อให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาฯและปฏิบัติตาม โดยให้มีการตรวจสอบในช่วงเวลาที่เหมาะสม ตามแนวปฏิบัติที่ประเทศได้กำหนดไว้
- หากรัฐบาลให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาแล้ว ประเทศสมาชิกต้องมีการจัดทำรายงาน เรื่องการนำอนุสัญญาไปปฏิบัติในทางกฎหมายและในทางปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ โดยต้องมีการปรึกษาหารือร่วมขององค์กรนายจ้าง และลูกจ้าง
- กานบอกยกเลิกการให้สัตยาบันอนุสัญญา ซึ่งสามารถขอยกเลิกการให้สัตยาบันอนุสัญญาซึ่งต้องมีการปรึกษาหารือกับองค์กรนายจ้างและองค์กรลูกจ้างก่อนตัดสินใจในขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งประเทศไทยยังไม่เคยยกเลิกการให้สัตยาบันอนุสัญญา
การที่ILO ออกอนุสัญญาใหม่ๆก็ตามที่ประเทศสมาชิกประชุมร่วมกัน การกำหนดหาผู้แทนที่เข้ามาสู่องค์กรไตรภาคี เนื่องจากไม่สามารถรวมตัวกันได้องค์กรนายจ้าง ลูกจ้างมีหลาย อย่างกรณีการหาผู้แทนแรงงานนอกระบบ กลุ่มคนทำงานบ้าน หาไม่ได้ว่าใครเป็นตัวแทนและมีส่วนร่วมจริง ซึ่งมีการเรียกร้องให้รัฐให้สัตยาบัน ซึ่งการประชุมที่ผ่านมารัฐบาลได้ให้อนุสัญญาILOฉบับที่ 29 ว่าด้วยการเกณฑ์แรงงานหรือแรงงานบังคับ และฉบับที่ 188 ว่าด้วยการทำงานในภาคการประมง ซึ่งเมื่อให้สัตยาบันแล้วก็มีการสอบถามผู้ประกอบการประมงทะเล เจ้าของเรือประมง คนทำงาน และภาครัฐ
ในส่วนของข้อเสนอความต้องการให้รัฐให้สัตยาบันอนุสัญญาILOฉบับที่ 87 และ98 หรือว่าอนุสัญญาฉบับที่ 144 ซึ่งรัฐก็มีแนวทางอยู่และต้องให้มีการปรึกษาหารือร่วมกัน
ส่วนนายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.)กล่าวว่า อนุสัญญาILO ฉบับที่ 144 มีความจำเป็น ซึ่งจริงๆมีการเสนอมาหลายปีแล้ว ด้วยสถานการณ์ทางการเมืองจึงยังไม่มีการให้สัตยาบัน ซึ่งตนได้กรอกเพื่อให้ข้อมูลต่อที่ประชุมองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ด้วยเป็นสมาชิกองค์กรแรงงานระดับสากล ซึ่งได้รายงานถึงสภาพปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงาน และการที่รัฐไม่รับรองอนุสัญญาที่ถือว่าเป็นอนุสัญญาด้านสิทธิขั้นพื้นฐาน ซึ่งถือเป็นกลไกกลางในการที่จะปรึกษาหารือ หรือพูดคุยกัน รัฐต้องใช้กลไกที่ซึ่งมีไม่เพียงพอในการดูแล อนุสัญญาเป็นเพียงเครื่องมือที่ต้องใช้เพื่อการปฏิบัติ การให้สัตยาบัน การเปิดโอกาสให้มีช่องทางหรือกลไกร่วมกัน เพื่อสร้างความสงบสุข ซึ่งกลไกรัฐอย่างเดียวไม่เพียงพอ ด้วยไม่ว่าจะเป็นกลไกปกติที่มีอยู่จนถึงกระบวนการศาลยังไม่สามารถทำให้แรงงานเข้าถึงความยุตธรรม หรือไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิแรงงานได้ ด้วยการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการจ้างงานรูปแบบใหม่ๆที่กระทบต่อการมั่นคงในการทำงาน สิทธิการรวมตัวเพื่อเจรจาต่อรองร่วม กระบวนการไตรภาคี หรือว่า กลไกทางสากลจึงเป็นอีกช่องทางที่จะทำให้เกิดความเป็นธรรม โดยเห็นด้วยว่ารัฐบาลควรรับรองอนุสัญญาILOฉบับ 144 และต้องส่งเสริม คุ้มครองเรื่องสิทธิการรวมตัวและการเจรจาต่อรองร่วมโดยการให้สัตยาบันอนุสัญญาILO ฉบับที่ 87 และ98 ด้วย
นายวรพงษ์ รวิรัฐ ผู้แทนนายจ้าง กล่าวว่า อนุสัญญาILO ฉบับที่ 144 เป็นความต้องการเปิดโอกาสให้ลูกจ้าง นายจ้าง มีส่วนร่วมกับรัฐ ที่เคยใช้อำนาจเพียงฝ่ายเดียวเดิมที่ภาคีนายจ้างกับลูกจ้างเจรจากันเกือบผ่านการเห็นชอบร่วมกันแต่ว่าเมื่อรัฐเข้ามาแสดงความคิดเห็นว่าเป็นเรื่องของความสงบเรียบร้อย สิ่งที่รัฐบอกว่าระบบไตรภาคีนั้นมีอยู่แล้วแต่เห็นว่า เป็นอำนาจเพียงในนามเท่านั้น ไม่ได้มีบทบาทอะไร หรือหากเห็นต่างรัฐก็ไม่เชิญเข้าร่วม เรื่องความเป็นตัวแทนจะเลือกเฉพาะคนที่คิดแบบเดียวกับรัฐเท่านั้น การได้มาซึ่งผู้แทนคณะกรรมการไตรภาคี มีทั้งมาจากการเลือกตั้ง และมาจากการสรรหา อะไรที่เป็นปัญหาตกลงกันไม่ได้ให้ลูกจ้าง กับนายจ้างไปตกลงกัน ให้ประจักษ์ต่อสายตาโลกด้วยว่าตกลงกันไม่ได้ เพราะว่า ใครเสียงดัง ตัวใหญ่ก็ได้ไปเป็นผู้แทน ซึ่งต่อไปนายจ้าง ลูกจ้าง ควรมาจับมือกันแก้ไขปัญหาใช้ระบบทวิภาคี อย่างประเทศที่ศรีวิไลแล้วเขายอมรับการรวมตัวกันเพื่อต่อรองของลูกจ้าง อะไรที่คิดต่างต้องคุยกันได้ ใช้คำว่าแสวงหาจุดร่วม สงวนจุดต่าง นายจ้าง ลูกจ้างอยู่ร่วมกันได้
นายพนัส ไทยล้วน ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ได้มีส่วนร่วมเขียนกฎหมายหลายฉบับ จึงไม่กังวลใจว่ารัฐบาลจะให้สัตยาบันอนุสัญญาหรือไม่ เพราะคิดว่า การให้สัตยาบันอนุสัญญาแล้วหากไม่ปฏิบัติ หรือไม่ให้สัตยาบันแต่ว่าปฏิบัติตามมาตรฐานกำหนด เพราะหากลูกจ้าง นายจ้างไม่ทะเลาะกันเลยศาลแรงงานก็ไม่มีงานทำ จึงคิดว่า อนุสัญญาILO ฉบับที่ 144 ว่าด้วยการปรึกษาหารือร่วม ซึ่งประเทศไทยยังไม่ได้ให้สัตยาบัน แต่ว่าปัจจุบันก็มีคณะกรรมการไตรภาคีประมาณ 17 หรือ 18 คณะ ซึ่งช่วงแรกระบบไตรภาคีมีการเลือกตั้งระบบตัวแทนแต่พอรัฐบาลปฏิวัติก็มีการนำระบบสรรหามาใช้ มีการแบ่งพรรคแบ่งพวกกัน มาจากการเลือกตั้งอีก ส่วนขององค์กรแรงงานขนาดใหญ่ได้รับเลือกตั้งตลอดก็ถูกกล่าวหาจากกลุ่มคนที่แพ้ว่า ชนะผูกขาดอำนาจ แต่ไม่เคยมาเรียนรู้ว่าทำไมเขาถึงได้รับการเลือกตั้งชนะตลอด ไม่ดูว่าทำไมถึงแพ้การเลือกตั้ง การเลือกตั้ง หรือการสรรหาระบบไตรภาคีก็ดูว่าเข้าไปร่วมคณะแล้วมีปัญหาหรือไม่ หากเลือกตั้งผู้ที่ชนะทั้งลูกจ้าง นายจ้างเข้มแข็ง เพราะมาจากกลุ่มคนที่มีสมาชิกมาก การที่ลูกจ้าง และนายจ้างทะเลาะกัน ทำให้รัฐสบาย การรับรองอนุสัญญาไม่มีแน่เพราะไม่ใช่รัฐบาลประชาธิปไตย ซึ่งตนไม่ได้สนใจเรื่องให้หรือไม่ให้สัตยาบัน อนุสัญญาILOฉบับที่ 87 และ98 หรือ144 เพราะวันนี้เรามีการรวมตัวเป็นสหภาพแรงงานได้ หรือว่ารวมตัวล่าลายมือชื่อยื่นข้อเรียกร้องได้ และอยากเตือนว่า หามีการให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับที่ 87 จะเกิดการตั้งสหภาพแรงงานแบบเสรีหรือไม่ เพราะไม่ต้องจดทะเบียน จะทำให้การแก้ไขปัญหายากขึ้นหรือไม่ เพราะใครก็ตั้งสหภาพแรงงานได้อาจมีสหภาพแรงงานมากกว่าหนึ่งสหภาพในสถานประกอบการก็ได้