ในวาระ 100 วัน คุณราณี หัสสรังสี จัดสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “สถานการณ์สวัสดิการในสังคมไทย 2018” ชี้สวัสดิการในไทยยังเป็นแบบต่างสวัสดิการผสมยังไม่ถ้วนหน้า ยังเป็นการแยกจัด เน้นคนจนแต่คนจนจริงเข้าไม่ถึง รวมถึงสวัสดิการเด็ก
กิจกรรมวิชาการในวาระ 100 วัน คุณราณี หัสสรังสี วันที่ 16 กรกฎาคม 2561 สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต โดยช่วงเช้าได้มีการทำบุญ 100 วัน และปาฐกถาธรรม เรื่อง การใช้ชีวิตสร้างสรรค์สังคม โดยพระดุษฎี เมธังกุโร และช่วงบ่ายสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “สถานการณ์สวัสดิการในสังคมไทย 2018” ดำเนินรายการโดย นางสุนทรี หัตถี เซ่งกิ่ง ซึ่งสรุปได้ ดังนี้
ดร.ธร ปิติดล คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กล่าวถึงสวัสดิการในสังคมไทยว่า ช่วงแรกสวัสดิการแบบลดทอน คือ การเมืองกำหนดเรื่องทิศทางเศรษฐกิจ โดยใช้ข้าราชการเป็นฐานในการพัฒนา และงบการศึกษาชั้นประถมค้อนข้างมาก เป็นการผลิตคนเพื่อมาทำงานในเมือง และเน้นโรงพยาบาลในเมืองเป็นหลัก พอถึงยุค 90 สวัสดิการที่คล้ายที่จะดีขึ้น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองมีบทบาทการตอบสนองด้านสวัสดิการให้กับแรงงาน และชาวนา โดยมีการจัดระบบประกันสังคม ให้กับแรงงานเกิดขึ้น และมีการอุดหนุนชาวนาด้านกองทุน สวัสดิการเพื่อการผลิต และผสมกับสวัสดิการแบบถ้วนหน้า เกิดอะไรขึ้นกับสวัสดิการไทย
เส้นทางระบบสวัสดิการไทย คือ ระบบสวัสดิการไทยขยายตัวช่วงที่เป็นระบบประชาธิปไตย แนวคิดที่ชัดเจนด้านสวัสดิการสังคมแบบทุกคนได้รับสวัสดิการเท่ากันหรือไม่ก็ไม่ใช่แต่ว่า แนวคิดสวัสดิการไทยยังเป็นการเน้นการช่วยเหลือเป็นหลัก และช่วงที่ขยายตัวมีความซับซ้อนมาก มีการแตกตัวและมีการนำเอาประเด็นไหนทำได้ก็ทำก่อน และระบบสวัสดิการยังถูกเซฟจากรัฐ มีระบบสวัสดิการแบบลดทอนคือ สวัสดิการราชการ มีสวัสดิการแบบร่วมจ่ายอย่างประกันสงคม ยังมีแบบสวัสดิการแบบถ้วนหน้าอีกอย่างกรณีผู้สูงอายุ คนพิการ ซึ่งระบบซ้อนกันอยู่ อย่างประกันสังคมมีกรณีชราภาพ ข้าราชการมีบำนาญ คือใครจะทำก็ทำ แต่เป็นการแยกกันทำหน่วยงานไหนพร้อมก็ทำ เพราะมีความทับซ้อนเป็นต้นทุนที่สูงมาก หากจะมีการรวมกันได้เช่น หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กับการรักษาของประกันสังคม
ต่อมาคือนโยบายช่วยเหลือคนจน นโยบาย แบบนี้มีนัยสำคัญมองการช่วยแบบไทย เป็นการเซฟจากการเมืองไทย มีลักษณะการเมืองที่เป็นเจ้าของอำนาจแล้วเข้าไปช่วยทำให้คนที่ได้รับความช่วยเหลือคำนึงสำนึกถึงบุญคุณของผู้ที่ดำเนินนโยบายนั้นๆ ลักษณะการเข้าไปช่วยคือทำให้เห็นและช่วยใคร เช่นงบสนับสนุนเรื่องอาชีพ หรือคนไร้ที่พึ่ง ทำให้เห็นว่า รัฐบาลใครช่วยใคร รัฐบาลอุดหนุนใครอยู่ เป็นรัฐอุปถัมภ์ แต่ไม่ได้ช่วยเหลือใครจริง เช่น การตั้งงบประมาณอุดหนุนชาวนา เป็นต้น ระบบแบบนี้เรียกว่า เป็นระบบประชานิยม และมีการทำตลอดมาของทุกรัฐบาลที่ช่วยและคนกลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์มาขอบคุณ คำถามคือ สวัสดิการไปไม่ถึงคนจนจริงๆ แล้วจะรัฐแก้อย่างไร?
ความท้าทายอะไรบ้าง แน่นอนจะเข้าสู่ระบบผู้สูงอายุ ภาพทรัพยากรทางการคลังจะไม่เพียงพอ ประมาณปี 2574-2575ต้นทุนจะขึ้น ด้วยระบบเศรษฐกิจที่เปลี่ยนและส่งผลกับภาคทางการที่น้อยลง การจัดสวัสดิการในยุคต่อไปจะตอบสนอง หนึ่งปี ถึงสองปีที่ผ่านมามีการทำบัตรคนจน คนที่มีบัตรถึงได้รับสวัสดิการ และจะทำให้การปฏิบัติด้านสวัสดิการเข้าถึงคนจนจริงไหม เป็นสวัสดิการทีควรให้ทุกคนหรือเลือกให้บางคน
ความท้าทายเมื่อการเมืองปรับตัวเข้าสู่การเมืองที่เขาอาจอยู่กับเราอีกพอสมควร เราจะเข้าสู่การเมืองรูปแบบใดสวัสดิการจะไปในรูปแบบไหน
นายคมสันต์ จันทร์อ่อน เครือข่ายสลัมสี่ภาค ได้กล่าวถึงการถอดบทเรียนเรื่องสวัสดิการคนจนมาว่า บัตรสวัสดิการของรัฐเป็นการสงเคราะห์ด้วยมองว่า คนที่ถือบัตรเป็นคนจนที่น่าสงสาร รายได้ต่ำกว่า 3,000 บาท หรือไม่มีรายได้ และหากคนอื่นมองว่า คนกลุ่มนี้เป็นภาระทางสังคม และการที่นำไปใช้คนที่ถือบัตรก็ถูกมองแบบไม่มีศักดิ์ศรีเสียเลย คนที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเป็นคนอีกกลุ่มหนึ่งทางสังคม แต่คนจนจริงๆไม่สามารถเข้าถึงบัตรนี้ได้ แต่คนที่เข้าถึงคือคนที่เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การประชาสัมพันธ์ ซึ่งระบบนี้ก้มองว่า เป็นนโยบายประชานิยมที่หวังผลทางการเมืองในอนาคต เช่นกัน
เกณฑ์การเข้าถึงบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ตอนนี้มีการลงทะเบียนอีกครั้ง หลักๆคือว่า ด้วยความจน ไม่มีเงินฝากในธนาคารหากมีไม่เกิน 100,000 บาท เป็นผู้ว่างงาน มีบ้านทาวน์เฮ้าส์ไม่เกิน 25 ตารางวา ปัญหาหลักคือการตีความคนที่จะรับรอง หรือให้ได้สิทธิ โดยเครือข่ายมีตัวอย่างของลุงดำที่เป็นนายกสมาคม ซึ่งถือบัญชีเงินฝากของกลุ่มเกิน 1 แสนบาท เมื่อยื่นขอรับสิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ถูกตีความว่าไม่จนเพราะมีเงินฝากในบัญชีเกินหลักเกณฑ์กำหนดทำให้ไม่ได้รับสิทธิบัตร ปัญหาความจน คือแม้มีสิทธิๆได้รับบัตรแต่ไม่มีเปิดบัญชีก็ไม่ได้สิทธิ เช่นกัน ซึ่งความต้องการของกลุ่มคนจน คือ ปัจจัยสี่ มีอาหารกิน มีบ้านที่อยู่อาศัย มียารักษาโรค มีเครื่องนุ่งห่ม ในการดำรงชีวิตเท่านั้น
จึงมองว่า บัตรสวัสดิการแห่งรัฐเป็นเพียงยาชาสำหรับคนจนเท่านั้น การแก้ไขปัญหาให้ประชาชน รัฐต้องเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วม ซึ่งเพียงปัจจัยพื้นฐานยังไม่เกิดทั้งที่อยู่อาศัย ปัญหาที่ดิน ยารักษาโรค ค่าครองชีพหากรัฐควบคุมได้ตามที่เขาหารายได้ต่อวันบัตรสวัสดิการก็ไม่จำเป็น การให้บัตรนี้ทำให้สวัสดิการอื่นๆหดหายหรือไม่ เช่นอย่างการรักษาพยาบาลรัฐมีการพูดถึงหลักประกันสุขภาพเฉพาะผู้ถือบัตรนี้ การศึกษาไม่ได้ฟรีจริงตอนนี้ให้แค่มัธยมปีที่ 3 หากจะเรียนต่อก็ต้องกู้เรียน เป็นต้น
นางสาวกรรณิการ์ กิจติเวชกุล กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อทช์) กล่าวว่า ระบบบัตรทองสามารถช่วยเหลือคนที่ล้มละลายในการเข้ารับการรักษาพยาบาล ทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงสวัสดิการด้านสุขภาพราว 48.8 คน ซึ่งคนได้เข้าถึงการรักษามากขึ้นทั้งคนที่เป็นผู้ป่วยใน และผู้ป่วยนอก ภาพพจน์บัตรทองดีขึ้น ใครๆก็รู้ว่า ขณะนี้บริการดีกว่าระบบประกันสังคมหลายตัวทีเดียว ซึ่งช่วง 4 ปีที่ผ่านมาสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)ได้ปรับขึ้นเงินเดือนศาลย้อนหลัง 4 ปี ปรับฐานเงินเดือนที่คิดบำนาญเพิ่มมากขึ้น แค่สวัสดิการรักษาพยาบาลวงเงินสูงมากขึ้นในส่วนของข้าราชการปีที่ผ่านมาเบิกค่ารักษาพยาบาลเกินวงเงินถึง 7 พันกว่าล้านค่าหัว 1.4 หมื่นบาท ช่วงที่ผ่านมาทั้งเพิ่มเงินเดือน เพิ่มฐานขยายบำนาญ เป็นระบบข้าราชการนิยม ส่วนลูกจ้าง พนักงานของรัฐที่มีการจ้างอยู่กลับไม่ได้รับการดูแลไม่ได้รับประโยชน์อะไรเลยด้านการดูแลด้านสวัสดิการ ได้เพียงค่าจ้างขั้นต่ำ
บัตรทองนั้น นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันเคยพูดว่า “บัตรทองเป็นนโยบายประชานิยม ประเทศไทยไม่ได้รวยช่วยไม่ได้ทุกคน” ซึ่งจริงแล้วบัตรทองถือเป็นสวัสดิการ ไม่ใช่การช่วยเหลือ บัตรทองทำให้อุตสาหกรรมประกันชีวิตกระทบ และมีความพยายามที่จะบอกว่า บัตรทองไม่ดีมีการโน้มนาวให้คนที่ซื้อประกันชีวิตเพื่อนำมาลดภาษีได้ มีการต่อรองเรื่อง บริษัทยาด้านราคา พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมมีตัวแทนของประชาชนในการเข้าไปร่วม ซึ่งมาจากเรื่องสุขภาพการรักษาพยาบาลที่ทุกคนต้องเข้าถึงสิทธิการรักษา มียาไม่มียา ที่ผ่านมามีการพยายามที่จะเซาะจากด้วยโรงพยาบาลเอกชน เนื่องจากขาดทุน มีการล็อบบี้เรื่องการรักษา เรื่องสิทธิบัตรทองเช่น การที่บัตรทองให้สิทธิล้างไตได้ โรงพยาบาลเอกชนมีการคัดค้านไม่ให้บัตรทองทำ ซึ่งมีการแก้ไขกฎหมายเพื่อลดบทบาทประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสัดส่วนที่ไม่สมดุลก็นำไปสู่เรื่องการโหวตเสียงหากฝ่ายใดรู้ว่าตัวเองจะชนะ เรื่องการร่วมจ่าย ซึ่งเขาจะถามว่า มีเงินไหมหากมีจะได้รับอีกแบบหนึ่ง หากไม่จ่ายอีกแบบหนึ่ง เป็นต้น
ตอนนี้มีเรื่องบัตรคนจน หรือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเป็นตัวกำหนดด้านสิทธิ หากไม่มีบัตรต้องร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาล หากมีบัตรคนจนไม่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล แต่ว่า ประเทศไทยคือ มีกลุ่มเกือบจน หากต้องจ่ายเงินรักษาพยาบาล อาจมีคนล้มละลายด้วยการรักษาพยาบาลจนเข้าไม่ถึงระบบสุขภาพอีก
ระบบการจัดซื้อยาจัดจ้างประมาณ 60 % หากไม่จับตาเฝ้าระวังก็จะถูกทำให้ยาแพงขึ้นทันที การที่จะลุกขึ้นมาชุมนุมประท้วงทำได้ยากแต่ว่าก็ต้องสู้แค่ตาย
นางสุนี ไชยรส วิทยาลัยนวตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวถึงสวัสดิการเด็กเล็กถ้วนหน้าคือ จุดเริ่มต้น ซึ่งเป็นสวัสดิการเด็กทั้งระบบ ซึ่งต้องมีระบบประชาธิปไตย และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิ่งที่ต้องเห็นคือสวัสดิการต่างๆมาจากการต่อสู้ของขบวนการที่มีการพัฒนามาขององค์กรต่างๆเป็นการต่อสู้ที่หลากหลายที่พัฒนาได้เพราะรัฐบาลทุกชุดที่มีการผ่อนปรนบ้างให้เกิดสวัสดิการด้านต่างๆ และมีการสนับสนุนรัฐบาลเหล่านั้น และทำให้รัฐบาลทุกรัฐพยายามที่จะมีการพัฒนาสวัสดิการเป็นเรื่องๆ ซึ่งหากนำสวัสดิการต่างๆมาต่อกันนั้นคือ ฐานสวัสดิการทางสังคม ที่ต้องเป็นสวัสดิการจากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน
การต่อสู้ของขบวนการแรงงานเรื่องสวัสดิการ การได้ระบบประกันสังคมกรณีสงเคราะห์บุตรที่ได้รับ อายุ0-6 ปี เดือน 400 บาทในปัจจุบัน เป็นเพียงสวัสดิการเฉพาะแค่กลุ่มแรงงานส่วนน้อยเท่านั้นยังไม่ครอบคลุมแรงงานทุกกลุ่ม ยังมีช่องว่าง การที่มีโครงการเงินอุดหนุนเด็กเล็กแรกเกิดตั้งแต่อายุ 0-3 ปี ซึ่งเป็นการนำร่องมาแต่ว่า ที่ต้องให้ และต้องถ้วนหน้า มีการเคลื่อนไหวจากองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยฐานใหญ่ 0-3 ปีในปัจจุบัน แต่ต้องการขยายให้เป็น 0-6 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่สำคัญมากสำหรับช่วงวันเด็ก ซึ่งไม่ได้ปฏิเสธเรื่องคนจน และมีคำถามมากมายทำไมต้องให้คนจน แต่ว่า เป็นหลักทางสากลที่มีกติกาว่า ด้วยสิทธิแม่และเด็ก ทุกคนทุกวัยต้องมีสิทธิ การกำหนดว่าเฉพาะคนจน และต้องมีคนมารับรองในการแสดงตนว่าเป็นคนจน ซึ้งทำให้คนจนจริงๆที่เข้าไม่ถึงสวัสดิการดังกล่าวจำนวนมาก ด้วยรู้สึกว่าถูกตีตราไม่มีศักดิ์ศรี แต่คนที่ไม่จนจริงกลับเข้าถึงสวัสดิการนี้ด้วยการรับรองจำนวนมากมาย
จากการที่ได้ทำกลุ่มศึกษาหลายกลุ่มไม่ว่า จะแรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ แรงงานรัฐวิสาหกิจ คนในสลัม พบว่า ยังเข้าไม่ถึงสิทธิ และการเปิดรับสิทธิขึ้นทะเบียนโครงการเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ตั้งงบประมาณไว้ 3 แสนคน แต่พบว่ามีผู้ลงทะเบียนแล้ว 5 แสนคน ส่งผลให้เงินไม่เพียงพอที่จะจ่ายให้อีก ซึ่งเป็นปัญหาในการบริหารจัดการ และการที่กำหนดว่าต้องเป็นผู้ที่มีรายได้ต่ำไม่เกิน 3,000 บาท ปัญหาว่าชีวิตของแรงงานปัจจุบันไม่มีความมั่นคง วันนี้มีรายได้มีกิน แต่พรุ่งนี้ตกงานเป็นคนจนทันทีจะแก้ปัญหาให้เด็กได้รับการดูแลอย่างไร? จึงจำเป็นต้องดูแลเด็กให้ได้รับสวัสดิการเท่ากัน โดยไม่มีการตีตราที่ความยากจน หากมาดูการเกิดของเด็กน้อยลง คนสูงวัยเพิ่มขึ้น การอุดหนุนเรื่องเด็กจึงถือเป็นสวัสดิการที่รัฐต้องดูแล
ศ.ดร.วรเวศม์ สุวรรณระดา คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเรื่อง สวัสดิการผู้สูงอายุ ว่า ประชากรสูงวัย ที่สูงมากขึ้น อีกประมาณ 20-25 ปีข้างหน้าจะมีผู้สูงอายุวัยกลาง และวัยปลาย 12 ล้านคน จากปัจจุบันนี้4-5 ล้านคน ประชากรวัยทำงาน และวัยเด็กแนวโน้มลดลง ซึ่งข้อมูลนี้ไม่ต่างกับประเทศอื่น แต่ประเทศไทยที่ประสบคือ การเกิดใหม่ของเด็กลดลงอย่างมาก คนไทยมีลูกน้อยกว่า 2 คน แต่คนไทยอายุยืนขึ้น ซึ่งเป็นเหมือนกันทั้งโลก เมื่อมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นความต้องการสวัสดิการต่อผู้สูงอายุก็เพิ่มขึ้น มีสถานการณ์ หลักประกันทางการเงิน บำนาญ การรักษาพยาบาลหลักประกันทางสุขภาพ และการอยู่ในภาวะพึ่งพาที่พึ่งการช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ การมีภาวะพึ่งพาอาจมากจากการป่วย หรือความชราก็ได้ เช่น กินอาหารเองไม่ได้ ช่วยเหลือตัวเองในการใช้ชีวิตประจำวันไม่ได้ เป็นต้น
เรื่องบำเหน็จ บำนาญ ประเทศไทยมีระบบครอบคุลมคนทุกคนทั้งหมดไม่มีการตกหล่น เป็นไปตามอาชีพและการทำงาน มีหลายชั้นมากน้อยต่างกันไป เช่นแรงงานในระบบ และแรงงานนอกระบบ คนทำงานได้ระบบประกันสังคม หากไม่ทำงานก็ได้จากหลักประกันสุขภาพ แต่ผู้สูงอายุในภาวการณ์พึ่งพานั้น ยังไม่เป็นระบบดี คนที่ด้อยโอกาสอาจได้รับการดูแลจากบ้านบางแค แต่ก็รับดูแลคนชรา คนที่มีศักยภาพจ่ายเงินได้ก็มีบ้านพักคนชราเอกชน หรือจ้างผู้มาดูแลที่บ้านได้ คนที่รวยครึ่งๆกลางๆก็มีระบบของชุมชน โดยร่วมกันในการดูแลแบบรีสอร์ทในชุมชน รัฐบาลก็มีการใส่งบลงไปบ้าง
ในเรื่องผู้สูงอายุมีการก้าวมาแล้วมีการกำหนดไว้ในแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ มีโรดแมป ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีการขยายตัวของผู้สูงอายุ การเริ่มต้นของการวางแผนผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นประชาธิปไตยหรือเป็นประชาธิปไตยรัฐบาลมีการรับไม้ต่อในการทำงานด้านสวัสดิการ ซึ่งรัฐบาลนำเงินมาจากภาษีบาปซึ่งไม่ได้มากอะไร แต่ก็พยายามผลักดันให้สถาบันที่ดูแลผู้สูงอายุที่ได้มาตรฐานดูแลทุกกลุ่ม
การที่หลายกลุ่มมีการผลักดันทำให้เกิดการขับเคลื่อนดูแลผู้สูงอายุเป็นระบบมากขึ้น ระบบบำนาญประเทศไทยเป็นระบบที่ต่างคิดต่างทำ มีลักษณะที่ไม่ต่อเนื่อง มีทุกกระทรวง แบบใครอยากทำอะไรก็ทำไม่มีหน่วยงานใดดูแลแบบภาพรวม นอกจากนายกรัฐมนตรี
บำนาญข้าราชการคนที่ดูแลคือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ลูกจ้างราชการได้เบี้ยยังชีพ ได้บำนาญประกันสังคม ซึ่งความท้าทายระบบบำนาญปัจจุบัน คือ ความครอบคลุม ความเพียงพอ ความยั่งยืน การอภิบาลระบบบำนาญ เกณฑ์ที่จะดำรงชีพอยู่ ใครจะดูภาพรวมระใช้ระบบการออม หรือรัฐให้เป็นระบบถ้วนหน้า
ที่หน้ากลัวไม่ใช่เงิน ไม่ควรหวังพึ่งเงินจากภาครัฐอย่างเดียว สิ่งที่น่าติดตามคือสัดส่วนของวัยทำงานกับผู้สูงอายุตอนนี้วันทำงาน 4 ต่อ1 แต่ในอนาคตจะลดลง2 ต่อ2 และลดลงเรื่อยๆ ระบบจะเป็นการลงขันเพื่อดูแลเมื่อเข้าสู่ภาวะสูงวัยการที่ต้องการสวัสดิการที่ดีขึ้น
นายชาลี ลอยสูง รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวถึงสวัสดิการที่แรงงาน หรือลูกจ้างที่ได้รับคือสวัสดิการตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนด ที่ได้รับนอกเหนือกฎหมายนั้นมาจากการเรียกร้องของสหภาพแรงงาน ที่มีการรวมตัวกันตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ซึ่งไม่ได้หมายถึงว่า ลูกจ้างทุกคนจะมีสวัสดิการแบบเดียวกัน ซึ่งตอนนี้กฎหมายคุ้มครองแรงงานได้มีกำหนดเรื่องเงินสำรองเลี้ยงชีพแล้วแต่ว่ากฎหมายไม่ได้บังคับให้นายจ้างต้องจัดให้มี จึงมีบางบริษัทที่ตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อการสะสมเงินไว้ในอนาคตเมื่อต้องเกษียณอายุหรือออกจากงาน จะเป็นเงินสะสมที่นายจ้างกับลูกจ้างร่วมกัน บางบริษัทกำหนดเงินในการสะสม เช่นร้อยละ 5 เท่ากัน หรือตอนนี้มีบางแห่งเจรจาต่อรองเพื่อสะสมเพิ่ม
สิ่งที่เป็นปัญหาอยู่ สวัสดิการอีกตัวคือ ระบบประกันสังคม ที่ถือว่าเป็นสวัสดิการที่ร่วมจ่ายประกอบด้วยนายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐ เพื่อการจัดสวัสดิการดูแลแรงงาน ตอนนี้ปัญหาที่กระทบกองทุนคือ เรื่องระบบบำนาญชราภาพที่เริ่มมีการจ่ายเงินให้กับแรงงานที่เกษียณอายุแล้ว ตอนนี้รัฐต้องการที่จะแก้ไขกฎหมายขยายวัยเกษียณออกไปเพื่อไม่ให้เงินกองทุนประกันสังคมหมด โดยไม่สนใจว่า จริงแล้วแรงงานทำงานหนักอาจทำงานไม่ไหว การขยายการเกษียณอายุจาก 55ปี เป็น 60 ปี จึงไม่สอดคล้องในส่วนของแรงงานที่ทำงานหนัก และการประกันสังคมควรต้องดูแลระบบ เพื่อให้กองทุนมีความมั่นคง แต่ไม่ใช่การเลี่ยงการจัดสวัสดิการโดยการขยายยืดระยะเวลาออกไป ซึ่งปัจจุบันนี้เงินบำนาญของลูกจ้างที่จ่ายสมทบนั้น ได้รับเดือนละไม่เกิน 3,000 บาทต่อเดือนต่อคน ซึ่งน้อยมากในการดำรงชีวิต
ระบบประกันสังคมประกอบด้วย มาตร 33 สำหรับแรงงานในระบบ มาตรา 40 สำหรับแรงงานนอกระบบ และมาตรา 39 แรงงานออกจากในระบบมาตรา 33 ซึ่งในส่วนของประกันสังคมนั้นยังมีการบริหารไม่โปร่งใสเพียงพอ ทำให้เกิดการเรียกร้องให้มีการทำให้เกิดความโปรงใส มีส่วนร่วม เป็นองค์กรอิสระ แม้ว่าแรงงานจะจ่ายเงินสมทบเข้าสู่ระบบประกันสังคม แต่ว่าไม่ได้รับการดูแลแม้แต่ระบบรักษาพยาบาล การดูแลด้านสิทธิสงเคราะห์บุตร
นางสาวอุษา เลิศศรีสันทัด มูลนิธิผู้หญิง กล่าวว่า สวัสดิการสำหรับผู้หญิงอาจมีเรื่องลาคลอด 90 วัน ซึ่งการจัดสวัสดิการทางสังคมมีการกำหนดเป็นพระราชบัญญัติแต่ว่า การจัดสวัสดิการโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นผู้ดูแลแต่ว่า อาจยังไม่เห็นถึงการพัฒนาสวัสดิการมากนัก การจัดสวัสดิการทางสังคมต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ที่ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และถือเป็นสิทธิ ซึ่งผู้หญิงกับสวัสดิการทางสังคม คลอดบุตรเดิม 2 คน ตอนนี้ประกันสังคมก็ปรับเพิ่มแล้ว และหลักประกันสุขภาพก็มีการไม่กำหนดแล้ว
เรื่องบ้านผู้หญิงได้เข้าถึงเรื่องบ้านมั่นคงหรือไม่ และการตั้งครรภ์ใครดูแลการคลอดบุตรผู้หญิงต้องออกจากงานไปดูแลบุตร และการตั้งครรภ์ก็ถูกเบิกจ้าง และผู้หญิงต้องรับภาระมากที่สุด และการเรียนผู้หญิงต้องแบกรับภาระในการดูแลทั้งการกินการอยู่ ด้วยหากไม่ได้ทำงาน สวัสดิการทางสังคมที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นสวัสดิการการรักษาพยาบาล เบี้ยผู้สูงอายุ การได้รับเงินอุดหนุนเด็กเล็ก หรือระบบประกันสังคมทำให้ภาระของผู้หญิงร้อยลง ซึ่งการที่มีการเรียกร้องให้มีการพัฒนาสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กถ้วนหน้า เป็นการที่จะให้เด็กทุกคนได้รับเท่ากัน และเงินสงเคราะห์ผู้ยากไร้ คนด้อยโอกาส ควรมีการจัดเป็นระบบสวัสดิการ มากกว่าการที่ให้มีการหาคนมารับสิทธิจนกกลายเป็นการคอรัปชั่น ศูนย์คนไร้ที่พึ่ง
ศูนย์การออกกำลังกายทำไมคนถึงไม่อยากเข้ามีความปลอดภัยหรือไม่ การจัดสวัสดิการต้องคำนึงถึงมิติทางเพศด้วย ต้องมีระบบการให้คำปรึกษา ผู้หญิงที่ออกงานมาการที่จะเข้าทำงานก็ยาก ด้วยอายุอาจเกินแล้ว จำนวนคนว่างงานของผู้หญิงมีมากกว่าผู้ชาย และการเป็นหนี้มีมากกว่าผู้ชายด้วยต้องมีภาระ และผู้หญิงยังทำงานเข้าระบบน้อยกว่าผู้ชายหากมองว่าเมื่อสูงอายุผู้หญิงก็เป็นกลุ่มเสี่ยง การไปทำงานต่างประเทศผู้ชายก็สูงกว่าผู้หญิง แต่ผู้หญิงที่ไปทำงานต่างประเทศก็มีความเสี่ยงไม่ปลอดภัย บางส่วนถูกลอยแพ ไม่งานถูกหลอก และบางส่วนต้องไปทำงานบริการทางเพศ และเข้าสู่วังวนยาเสพติด
สวัสดิการทางสังคมไม่ได้ตอบโจทย์ความเป็นผู้หญิง ในปัจจุบันสวัสดิการที่หายไปของกลุ่มผู้หญิงแล้วจะช่วยผู้หญิงเหล่านี้อย่างไร ผู้ชาย และคนในครอบครัวมีความสำคัญในการช่วยเหลือผู้หญิงทำอย่างไรจะให้มีการเข้าถึงการปรึกษา การไม่เลือกปฏิบัติในการทำงาน มีระบบการช่วยเหลือ ตัดสถานที่พักพิง ช่วยเหลือฟื้นฟู กองทุนช่วยเหลือผู้หญิงที่ประสบความรุนแรง ฯลฯ ทำอย่างไรที่จะให้มีระบบสวัสดิการในการดูแลผู้หญิง เด็ก อย่างเป็นระบบ และรื้อระบบสวัสดิการที่ไร้คุณภาพ สร้างระบบครอบครัวที่ยั่งยืน
วาสนา ลำดี รายงาน