2 ปี พระราชบัญญัติประกันสังคม ฉบับที่ 4/2558 การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค มาตรา 63 (2) ผู้ประกันตนได้อะไร ?

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม 2560 ณ ห้องประชุมจอมพล ป. พิบูลสงคราม ชั้น 5 กระทรวงแรงงาน สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแห่งประเทศไทย ร่วมกับเครือข่าย ประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) และโครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่าย เพื่อพัฒนานโยบายการสร้างเสริมสุขภาวะ และการมีหลักประกันทางสังคมสำหรับคนทำงาน (คสปค.) ได้จัดเวทีสรุปประชุมเวทีสาธารณะ 2 ปี พระราชบัญญัติประกันสังคม ฉบับที่ 4/2558 การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค มาตรา 63 (2) ผู้ประกันตนได้อะไร ?

หม่อมหลวงปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวเปิดงานว่า เพื่อติดตาม ความก้าวหน้าในการดำเนินงานต่างๆ จากการบังคับใช้ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2558 ที่เป็นฉบับใหม่นี้ มีการแก้ไขหลายเรื่อง และในช่วงที่ ผ่านมาก็ได้มีกฎหมายลูกออกมาบังคับใช้ในหลายฉบับ สำหรับในเรื่องการส่งเสริมป้องกันโรคนั้น ทุกคนต่างก็เห็นตรงกันว่า การรักษาความเจ็บป่วยต้องใช้เวลาและใช้งบประมาณไม่น้อย และผู้ประกันตนก็เจ็บป่วยไปแล้ว ดังนั้นการป้องกันก่อนจึงมีความสำคัญมากกว่า ซึ่งกระทรวงแรงงานก็ไม่ได้นิ่งนอนใจในเรื่องนี้ รวมทั้งเรื่องอื่นๆ เช่นเดียวกัน แน่นอนการบังคับใช้กฎหมายอาจไม่ครอบคลุม การปฏิบัติย่อมมีปัญหา ทำให้นี้เป็นความ จำเป็นต้องฟังเสียงผู้ใช้ เสียงผู้ประกันตน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียว่ามีปัญหาอะไร อย่างไร ตัวอย่างเช่น คุณมนัส โกศล มาหารือกรณีเรื่องทำฟันที่กำหนดเพดานที่ 600 บาท จะขอปรับเป็น 1,200 บาท ได้หรือไม่ อย่างไร ทางกระทรวงแรงงานก็รับเรื่องมาและนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการ การแพทย์ และหน่วยงานด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย ของสำนักงานประกันสังคม มาพิจารณาคำนวณว่า ต้องใช้เงินเท่าไหร่ถ้าเพิ่มค่าใช้จ่ายตรงนี้ ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมา 26 ปี ของการมีกองทุนประกันสังคม อัตราเงิน สมทบเท่าเดิม แต่สิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้นตลอดเวลา แต่ในที่สุดเมื่อพิจารณาแล้วพบว่า สามารถเพิ่มได้เป็น 900 บาท และต่อมาคุณมนัส โกศล ก็ขอหารือ ต่อว่าให้สามารถใช้ที่คลินิกได้และเรียกเก็บเงินที่ประกันสังคมแทน ทางสำนักงานประกันสังคมก็เห็นชอบ และ นี้ทำให้ผู้ประกันตนจำนวนมากก็เข้าถึงสิทธิได้มากขึ้น ง่ายขึ้น เรื่องแบบนี้ต้องสะท้อนให้กระทรวงแรงงานรู้ว่า มีปัญหา อะไร อย่างไร และแนวทางการปรับให้สมดุลระหว่างผู้ใช้ ผู้ให้บริการ และกองทุนก็ต้องอยู่ได้ด้วยใน อนาคตต่อไป

นอกจากนั้นแล้วยังมีการตรวจสอบระบบโรงพยาบาลในการให้บริการในหลายๆเรื่อง โดยเฉพาะการ ตรวจสุขภาพประจำปีก่อน เพื่อแก้ไขปัญหาการเจ็บป่วย แต่พบว่า ยังมีการมาใช้บริการน้อยอยู่ จึงอยากให้ มีการตั้งอาสาสมัครระดับสถานประกอบการขึ้นมาในเรื่องนี้เพื่อให้ผู้ประกันตนเข้าถึงได้จริง หรือกรณีคนพิการ พอมีการจ้างงานคนพิการ มีกฎหมายออกมาหลายปี แต่พบว่า มีนายจ้างเลือก จ่ายเงินแทนการจ้างงานคนพิการ กระทรวงแรงงานก็พยายามเชิญชวนให้เกิดการจ้างงาน แต่ทางคนพิการก็ ร้องเรียนว่า เมื่อเขาเข้าสู่ระบบประกันสังคมแล้ว สิทธิประโยชน์หลายอย่างไม่ทัดเทียมกับระบบสปสช. ทำให้ ทาง สปส. ก็มาปรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น กายอุปกรณ์ เป็นต้น เพื่อให้ระบบการให้บริการเกิดความ ทัดเทียมกับผู้ประกันตนทุกคน

วันนี้ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีในการมาติดตามความคืบหน้าดังกล่าว โดยเฉพาะเรื่องการส่งเสริมและ ป้องกันโรค จำเป็นมากเพราะต้องดูแลก่อน เป็นการป้องกันโรคก่อนดีกว่ามารักษาโรคที่ยากมากกว่า มีการหารือกับคลินิกโรคจากการทำงานเพื่อรณรงค์ให้ผู้ใช้แรงงานป้องกันตนเอง นอกจากนั้นยังมีอีกหลายๆเรื่อง เช่น การเยียวยา รวมถึงในเรื่องแรงงานนอกระบบ ที่รัฐบาลเป็นห่วง คนกลุ่มนี้มากกว่า 20 กว่าล้านคนที่ไม่มีระบบการคุ้มครองทางสังคม เดือนที่แล้วทางกระทรวงแรงงานได้มีการนำเสนอทางเลือกที่ 3 มาตรา 40 เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ที่ผู้ประกันตนจ่าย 300 บาท ได้รับประโยชน์เรื่องการเจ็บป่วย นอนโรงพยาบาลได้ 300 บาท 90 วัน ถ้าไม่นอนโรงพยาบาลได้ 200 บาท มีเรื่องเงินสงเคราะห์บุตร กรณีการเกิดทุพพลภาพเพิ่มจาก 15 ปี เป็นตลอดชีวิต มีเรื่องเงินบำเหน็จชราภาพ และเงินค่าทำศพจากการเสียชีวิต เพื่อดูแลกลุ่มแรงงานนอกระบบ ให้มากขึ้น และในเดือนกรกฎาคมจะรณรงค์เรื่องนี้ให้มากขึ้น

ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นแรงงานในระบบหรือแรงงานนอกระบบ นี้เป็นภารกิจของกระทรวงแรงงานในการ ดูแลแรงงานทุกกลุ่ม รวมถึงในเรื่องการพัฒนาฝีมือแรงงานให้สอดรับกับนโยบายไทยแลยด์ 4.0 ที่ต้องมีการเตรียมตัว ฝึกอบรมไว้ล่วงหน้า ฝึกทักษะให้เท่าทันกับเทคโนโลยี หรือการปรับเปลี่ยนทักษะให้สอดคล้อง นอกจากนั้นแล้วกระทรวงแรงงานยังมี application หลายด้าน เช่น ประกันสังคม ที่ผู้ใช้แรงงาน สามารถใช้ประโยชน์ได้จากอุปกรณ์สื่อสารโดยตรง หรือกรมการจัดหางานมี smart job เป็นต้น ในการจัดหา งานแต่ละประเภท แต่ละอาชีพ ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานก็มีหลักสูตรอาชีพในการฝึก เพื่อค้นหาข้อมูลต่างๆ เป็นบริการที่ไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆที่กระทรวงแรงงานจัดเตรียมไว้ให้แรงงาน

ต่อมาได้มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนแนวทางส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค มาตรา 63 (2) ส าหรับผู้ประกันตน

นายมนัส โกศล ประธานเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน กล่าวว่า ในปี 2553 มีการรวมตัวของกลุ่มผู้ใช้แรงงานเพื่อปฏิรูปประกันสังคมให้เป็นอิสระ มีความคล่องตัวขึ้น มีการยื่นกฎหมายเข้าชื่อของภาคประชาชนจำนวน 14,600 รายชื่อ ในสมัยรัฐบาลพรรคเพื่อไทย โดย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสมัยนั้นไม่รับหลักการในวาระ 1 แต่อย่างไรก็ตามหลังจากนั้นก็ยังมีการขับเคลื่อน ต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน โดยขับเคลื่อนในนาม “เครือข่ายประกันสังคมคนทำงานหรือคปค.” รวมคนท างาน 17 องค์กรมาท างานผลักดันร่วมกัน โดยเห็นว่าควรเน้นการปฏิรูปในบางประเด็นที่สามารถเป็นไปได้ก่อน ต่อมาภายหลังการเข้ามาบริหารประเทศของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้หยิบยกร่าง พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. ….มาพิจารณาในฐานะกฎหมายเร่งด่วนใน 38 ฉบับ และก็ได้เข้าสู่การเป็น คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ร่วมด้วย โดยมีพลเอกสิงห์ศึก สิงห์ไพร เป็นประธานใน การพิจารณา จนพบว่า มีการแก้ไขในหลายๆประเด็นที่ดีขึ้นมาก เช่น กรณีทุพพลภาพ , การคลอดบุตร เป็นต้น

อย่างไรก็ตามหลังจากที่กฎหมายประกันสังคมได้ประกาศใช้แล้ว ต้องมีการออกกฎหมายลูกเพื่อมา บังคับใช้ในระดับปฏิบัติการ แต่ก็ยังมีความล่าช้าอยู่ สำหรับในประเด็นที่จะหารือในวันนี้โดยตรง คือ มาตรา 63 (2) และ (7) พบว่า เดิมในร่างรัฐบาลไม่มี เรื่องนี้เลย แต่ในคณะกรรมาธิการฯมีนายแพทย์หลายท่านที่ได้หยิบยกมาหารือว่า ในระบบ สปสช. มีการ เยียวยาผู้เสียหายเบื้องต้นจากการรักษาทางการแพทย์ ดังนั้นระบบประกันสังคมควรมีการพิจารณาเรื่องนี้ร่วม ด้วย จนสามารถผลักดันออกมาได้ ต่อมาเมื่อมาพิจารณาที่มาตรา 54 ที่มี 7 กรณี แต่เรื่องส่งเสริมสุขภาพไม่มี ท าให้เพิ่มเรื่องนี้เข้ามาใน มาตรา 63 (2) ระบุเรื่อง ค่าส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคขึ้นมา

ณ วันนี้มีผู้ประกันตนในมาตรา 33 ประมาณ 10 ล้านคน มาตรา 39 ประมาณ 1 ล้าน 3 แสนคน มาตรา 40 ประมาณ 2 ล้าน 2 แสน 6 หมื่นคน รวมแล้วประมาณ 14 ล้านคน ในประเทศไทยมีระบบกองทุนสุขภาพหลายด้าน เช่น กองทุนข้าราชการดูแล 2.5 ล้านคน , กองทุน ประกันสังคมที่เกิดการจ่ายเงินสมทบจากลูกจ้างและนายจ้างมาตั้งแต่ปี 2533 , กองทุนหลักประกันสุขภาพ หรือสปสช. เกิดปี 2544-2545 ใช้ภาษีประชาชนทั้งหมด ดูแลคนประมาณ 65 ล้านคน (ทั้งนี้ผู้ประกันตน 14 ล้าน ก็อยู่ในส่วนนี้) เช่น กรณีความต่างในระบบการคลอดบุตร กรณีประกันสังคมเหมาจ่าย 13,000 บาท ซึ่งจ่ายหลังจาก คลอดบุตรแล้ว แต่ระบบ สปสช. ดูแลให้ฟรีตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ เป็นต้น นี้คือความแตกต่างที่เห็นได้ชัด ทำให้มี ความจำเป็นต้องมาหารือกันในเรื่องนี้ให้เกิดความเท่าเทียม โดยเฉพาะหลักการพื้นฐาน ซึ่งตนเคยถามหมอบางท่านว่า “ตรวจสุขภาพ” กับ “ส่งเสริมป้องกันโรค” มีความหมายเดียวกันไหม ก็ พบว่า คนละความหมายกัน ดังนั้นทำอย่างไรที่เมื่อตรวจสุขภาพแล้วต้องหากลไกในการส่งเสริมป้องกันโรค ต่อไป ดังนั้น เจตนารมณ์ของเครือข่าย คปค. คือ ป้องกัน ส่งเสริม และรักษา ที่ดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน มากกว่าแยกกันดำเนินการ

นายบัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ ผู้จัดการมูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน นำเสนอประเด็นเรื่อง ทำไมต้องปฏิรูปหลักการการส่งเสริมและป้องกันโรค รวมถึงเงินช่วยเหลือความเสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์ โดยมองว่ามี 3 ประเด็นในการพิจารณา ดังนี้ เรื่องที่ 1 คือ เป็นไปเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในระบบบริการสุขภาพระหว่างบทบาท สปสช. กับ สปส.ที่มีความแตกต่างอย่างมากกับระบบอื่นๆ ซึ่งที่ผ่านมาในระบบ สปสช. มีงบประมาณในเรื่องนี้โดยตรง แต่ สปส. ไม่มี และต้องจ่ายเงินสมทบอีกต่างหากทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐ เรื่องที่ 2 ความเกี่ยวข้องกับนโยบายรัฐ ที่รัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2560 ที่บังคับใช้เมื่อ 6 เมษายน 2560 ที่ผ่านมา โดยในมาตรา 55 ได้ระบุไว้ชัดเจนว่า

“รัฐต้องดําเนินการให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง เสริมสร้างให้ ประชาชนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค และส่งเสริม และสนับสนุนให้มีการ พัฒนาภูมิปัญญาด้านแพทย์แผนไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุด บริการสาธารณสุขตามวรรคหนึ่ง ต้องครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุม และป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพด้วย รัฐต้องพัฒนาการบริการสาธารณสุขให้มีคุณภาพและมีมาตรฐานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง”

นอกจากนั้นในมาตรา 258 หมวด ช. ด้านอื่น ๆ (4) ยังระบุอีกว่า “ปรับระบบหลักประกันสุขภาพให้ประชาชนได้รับสิทธิและประโยชน์จากการบริหารจัดการ และการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพและสะดวก ทัดเทียมกัน”

เรื่องที่ 3 หลักการประกันสังคม คือ การเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข ร่วมทุกข์ร่วมสุขของผู้ประกันตนทุกคน พบว่า การจ่ายเงินสมทบ ก็คือ การจ่ายภาษีประเภทหนึ่งที่มีเงื่อนไข มีระยะเวลา เช่น คนที่มีรายได้มากจะ จ่ายเงินสมทบมากกว่าคนที่มีรายได้ต่ำทำให้จำเป็นต้องดูแลคนทุกคนในเรื่องนี้ร่วมกันที่มีความเสี่ยงแตกต่าง กัน เพราะไม่มีรัฐบาลประเทศใดในโลกนี้ที่จะสามารถรับภาระในการดูแลประชาชนได้ในเรื่องการเจ็บป่วยหรือรักษาพยาบาลต้องใช้งบประมาณมหาศาล และการจัดเก็บภาษีย่อมไม่เพียงพอแน่นอน

นายธีระวิทย์ วงศ์เพชร กรรมการประกันสังคมฝ่ายลูกจ้าง กล่าวว่า ประกันสังคมเป็นกองทุนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ดังนั้นจึงมีการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปในเรื่องต่างๆ เช่น ความเป็นองค์กีอิสระ อำนาจในเรื่องต่างๆ ทิศทางการลงทุน ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนและมั่งคั่งของกองทุนในอนาคตต่อไปมาอย่างต่อเนื่อง แน่นอนการขับเคลื่อนที่ผ่านมาของเครือข่ายผู้ใช้แรงงานเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนในเรื่องต่างๆมา จากการต่อสู้ของผู้ใช้แรงงานทั้งนั้น เพื่อให้เกิดการแก้ไข ไม่ได้เกิดจากความเสน่หาของภาครัฐ ซึ่งไม่แตกต่าง จากกฎหมายอื่นๆ เช่น กฎหมายสหกรณ์ กฎหมายสิ่งแวดล้อม กฎหมายทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น แต่แน่นอนการปรับเปลี่ยนทั้งระบบมิใช่เรื่องง่าย จึงมีการดำเนินการในเรื่องที่สามารถเป็นไปได้ก่อน เช่น กรณีทำฟัน หรือกรณีการส่งเสริมและป้องกันโรค หรือกรณีที่ผู้ประกันตนอายุ 55 ปี แล้ว แต่มีการขยายอายุการ ทำงานจากการเกษียณ สิทธิประโยชน์ต่อในอนาคตจะเป็นอย่างไร เหล่านี้เป็นเรื่องที่ต้องหารือกันต่อไปเป็นต้น อย่างไรก็ตามที่กล่าวมา คณะกรรมการประกันสังคมรวมถึงคณะกรรมการการแพทย์ได้รับทราบมา ตลอดและมีการหารือ ไม่ได้นิ่งนอนใจแต่อย่างใด โดยเฉพาะในเรื่องการส่งเสริมและป้องกันโรค ตลอดจนการ เยียวยาผู้เสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์ แต่นี้มีรายละเอียดในการพิจารณาที่ต้องใช้เวลาพอสมควร เช่นเดียวกัน ตลอดจนการตีความทางกฎหมาย ที่ต้องพิจารณาร่วมด้วย สำหรับเวทีในครั้งนี้ก็เพื่อเป็นไปในการนำข้อเสนอจากผู้ประกันตนนำเสนอต่อคณะกรรมการ ประกันสังคม เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนที่ดีขึ้นในอนาคตต่อไป ซึ่งเป็นเรื่องที่สมควรกระทำอย่างยิ่ง เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทางคณะกรรมการประกันสังคมได้มีการลงพื้นที่ไปศึกษาดูงานโรงพยาบาลขอนแก่น ก็พบสภาพปัญหาหลายด้านที่ต้องแบกรับภาระด้านสุขภาพที่หนักหน่วงกว่าโรงพยาบาลเอกชน และ มีการหารือว่า อยากให้ทางสำนักงานประกันสังคมคำนวณอัตราค่าใช้จ่ายค่าหัวต่อปีที่จ่ายมา 1,460 บาทต่อคน อันนี้คือค่าใช้จ่ายรายหัวพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้รับจากระบบประกันสังคม (ยังไม่ได้รวมออฟชั่นอื่นๆ เช่น โรค ร้ายแรง) สามารถเพิ่มขึ้นได้หรือไม่ อย่างไร เพื่อน นำไปสู่การจัดระบบบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพต่อไป อีกประเด็นคือ ผู้ใช้แรงงานเคยมีการหารือว่า ผู้ประกันตนควรจะได้รับสิทธิ สปสช. ร่วมด้วย เพราะถือว่า การจ่ายเงินสมทบในระบบประกันสังคมคือระบบเสริมหรือระบบพรีเมี่ยมขึ้นมามากกว่า

พล.ท.นพ.ศิริชัย รัตนวราหะ อดีตกรรมการกองทุนเงินทดแทนชุดที่ 9 กล่าวว่า ในมิติผู้ให้บริการเป็นสำคัญ ที่ผ่านมาการทำงานของตนเอง เกี่ยวกับเรื่องโรคของผู้ประกอบอาชีพมา โดยตลอดตั้งแต่ปี 2515 เป็นต้นมา ตอนจบใหม่ๆ ได้เป็นหมอทหารหรือเรียกว่าแพทย์ฝึกหัดที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า มีการดูแลโรคที่เกิดจากทหาร โดยเฉพาะการบาดเจ็บต่างๆ ก็ถือว่า เป็นโรคจากการประกอบอาชีพ รูปแบบหนึ่งเช่นกัน เมื่อมาพิจารณาในเรื่องการส่งเสริมและป้องกันโรค ก็จะเห็นว่า หลายคนไม่มีการตรวจ สุขภาพมาก่อนก็จะเผชิญจากโรคโดยไม่รู้ตัว เช่น กรณีสามารถ พยัคฆ์อรุณ เป็นต้น ตอนนี้ความชุกของโรคที่เกิดจากการทำงานมีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ทำงานล่วงเวลามา โดยตลอด จะประสบปัญหามาก และส่งผลต่อการแบกรับภาระของโรงพยาบาลในภาครัฐที่ต้องดูแลประชากร กลุ่มเหล่านี้ โดยเฉพาะตั้งรับทั้งจากกองทุน สปสช. , ประกันสังคม, ข้าราชการ ทำให้ประสิทธิภาพในการ ให้บริการย่อมมีข้อผิดพลาดมากกว่า ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีการปฏิรูประบบการดูแลรักษาสุขภาพแน่นอน ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมี 2560 ก็ได้บัญญัติในเรื่องนี้ไว้ชัดเจน เป็นยุทธศาสตร์ของชาติ แต่ในทาง ปฏิบัติก็พบปัญหาของการเข้าถึงบริการที่มีประสิทธิภาพ ท่ามกลางที่ผู้รับบริการมีจำนวนมากในแต่ละวัน และ บุคลากรทางการแพทย์ไม่เพียงพอ

ต่อมาเมื่อมาพิจารณาถึงโรคภัยไข้เจ็บที่เกี่ยวกับแรงงาน ในเรื่องเงินทดแทนเกิดมาตั้งแต่ปี 2537 ที่มีบทบัญญัติว่านายจ้างต้องส่งเงินเข้ากองทุนเงินทดแทน มีกฎหมายคุ้มครองคนงานยามเจ็บป่วยต้องดำเนินการ อย่างไรบ้าง มีการออกประกาศกระทรวงแรงงานเรื่องการตรวจสุขภาพที่ทำงานที่มีความเสี่ยง เช่น ความร้อน แสง เสียง กัมมันตภาพรังสี เมื่อเกิดการเจ็บป่วยจะได้รับการคุ้มครองจากกองทุนนี้ หรือการกำหนดให้นายจ้าง ต้องจัดให้มีสถานบริการด้านพยาบาล กำหนดให้มีแพทย์ พยาบาล ในสถานประกอบการตามที่กำหนดไว้ เป็นต้น แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ ทำไมคนงานยังประสบปัญหาความเจ็บป่วยอยู่ ซึ่งก็พบว่า คนงานไม่มีเวลาไป รับการดูแลหรือเข้าถึงการรักษา การตรวจสุขภาพตั้งแต่ในระยะเบื้องต้น เพราะต้องทำงานอย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลา อีกทั้งในระบบการดูแลสุขภาพประเทศไทย ตราบใดที่ยังปล่อยให้มีการเจ็บป่วย ไม่ว่าจะสร้างโรงพยาบาลมากเพียงใดก็ไม่มีทางเพียงพอ และกลายเป็นที่หากำไรของโรงพยาบาลเอกชนบางแห่งแทน เช่น การรักษาโรคเก้าท์ ต้นทุนแค่ 6 บาท แต่เมื่อเข้ารักษาโรงพยาบาลเอกชน จะกลายเป็น 6,000 บาท เป็นต้น ดังนั้นมีความจำเป็นในการลดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงการดูแลรักษาสุขภาพ โดยเฉพาะการบริการ ดูแลในระดับปฐมภูมิ ที่ต้องทำให้คนงานสามารถเข้าถึงให้ได้ก่อน ทราบสิทธิต่างๆก่อน ซึ่งมองว่านี้เป็นบทบาท สำคัญมากที่ทำได้ แต่ยังมีการทำน้อยอยู่ โดยเฉพาะการพัฒนาห้องพยาบาลในสถานประกอบการ ให้มีประสิทธิภาพมากกว่านี้ อีกปัญหาส าคัญของคนงาน คือ ขาดแพทย์ด้านอาชีวศาสตร์ในการดูแลคนงานที่ป่วยจากโรคที่เกิดขึ้น

จากการทำงาน ปัจจุบันมีเพียง 400 คนเท่านั้น และบางส่วนจบจากการอบรมระยะสั้น ก็แก้ไขปัญหาในเพียง บางส่วน อีกทั้งแพทย์เหล่านี้มักทำงานในโรงพยาบาลรัฐที่ต้องดูแลผู้ประกันตนจำนวนมาก มีตัวอย่างในบาง โรงพยาบาล เช่น การตรวจรักษาทำได้เพียงวันละ 10 คน จากผู้ประกันตนในการดูแลประมาณ 90,000 คน ในโรงพยาบาลแห่งนั้น เป็นต้น มีหลายบริษัทใหญ่ๆที่มีการตรวจสุขภาพประจำปี แต่ยังไม่สามารถควบคุมมาตรฐานการตรวจสุขภาพได้บางบริษัทก็มีการกดราคา ทำให้ขาดประสิทธิภาพ และเมื่อตรวจสุขภาพมาแล้ว ตามหลักการก็ต้องมีการลง ความเห็นจากแพทย์ว่าผิดปกติ และต้องส่งเรื่องให้นายจ้างทราบ เพื่อส่งคนงานเข้ารับการรักษาต่อไป ซึ่งหลาย บริษัทได้ดำเนินการหรือไม่ อย่างไร อีกทั้งแพทย์ก็ต้องค้นหาสาเหตุจากความเจ็บป่วยจากโรคดังกล่าว เช่น โรค เรื้อรังจากหูเสื่อม (หูตึง) , อันตรายจากสารเคมี เป็นต้น แต่ปัญหาคือ ก็ยังขาดหมอในการวินิจฉัยในเรื่องนี้ที่ เพียงพอ การดูแลสุขภาพที่มีระบบการปรึกษาออนไลน์ทางการแพทย์จะเป็นอีกช่องทางสำคัญในการดูแลสุขภาพผ่านระบบปฐมภูมิได้ โดยใช้ระบบเทรนนิ่งพยาบาล เพื่อป้องกันความเจ็บป่วยที่รุนแรงในอนาคต เช่น ความดัน น้ำตาลขึ้น จะดูแลรักษาอย่างไร ไม่ให้ลุกลามมากขึ้น เป็นต้น การประสานการทำงานระหว่างกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สำนักงานประกันสังคม และ โรงพยาบาลอย่างใกล้ชิด จะช่วยในการดูแลคนงานในการป้องกันโรคในเบื้องต้นได้ มากกว่าปล่อยให้เป็นการ ดูแลจากโรงพยาบาลหรือสพนักงานประกันสังคมเท่านั้น เพราะกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จะทราบ ความเสี่ยงต่างๆที่คนงานต้องเผชิญจากการทำงานในแต่ละวัน

นพ.กฤช ลี่ทองอิน อดีตผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนระบบส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ในส่วนของ สปสช. ถ้าท่านเป็นผู้ประกันตน แต่คนในครอบครัวไม่ได้เป็น คนเหล่านี้ก็จะไปอยู่ในสิทธิสปสช. โดยตรงอยู่แล้ว หรือในกลุ่มแรงงานนอกระบบก็อยู่ในสิทธิ สปสช. การใช้สิทธิก็ทำเพียงแจ้งย้ายชื่อการ ขอใช้สิทธิการรักษามาอยู่ ณ โรงพยาบาลที่ท่านทำงานอยู่ ย้ายได้ปีละ 4 ครั้ง ไม่ต้องย้ายทะเบียนบ้านก็ได้ เช่นกัน นี้คือความสะดวกในการให้บริการของ สปสช. หรือในกรณีการเรียกเก็บค่ารักษาจากการใช้บริการตาม สิทธิแล้ว ก็ให้ร้องเรียนการเข้าถึงบริการได้เลยที่เบอร์ 1330 และทาง สปสช. จะดำเนินการจัดการให้ท่านและ เมื่อท่านทำตามระบบแล้ว สปสช.ก็ต้องคืนเงินให้ท่าน สำหรับในเรื่องการรักษาพยาบาล สปสช. ไม่ครอบคลุมระบบประกันสังคม แต่สปสช. จะดูแลในส่วน ประกันสังคมบางเรื่อง เช่น การส่งเสริมป้องกันโรค ที่ต้องปูพรมทั้งหมด เช่น โรคระบาด ที่แยกไม่ได้ส าหรับ สิทธิประกันสังคม หรือสิทธิ สปสช. สปสช.ก็ต้องดูแล แต่ก็อาจพบปัญหาว่า การส่งเสริมป้องกันโรค มักทำใน เวลาราชการ ซึ่งเป็นเวลาทำงานของคนงาน ทำให้คนงานก็เข้าไม่ถึงสิทธิเช่นเดิม มีความพยายามในการแก้ไขปัญหา โดยโอนเงินไปให้ สปส. แต่ก็ยังพบปัญหาการขาดทำงานในเชิงรุก และการทำงานไม่รวดเร็ว รวมถึงการจัดระบบในรายบริษัทเองที่ดำเนินการในบางบริษัท เช่น ฮิตาชิ กรณีตรวจ มะเร็งปากมดลูก แต่ก็ยังพบปัญหาการเข้าถึงบริการอยู่ แน่นอนในอีกด้านอาจเป็นเพราะระบบ สปสช. เองก็ไม่ แจ้งรายละเอียดในการรับบริการที่ชัดเจนว่ารับบริการในเรื่องใด อะไรได้บ้าง เช่น กรณีการคลอดบุตรและฝาก ครรภ์ เป็นต้น มีกรณีนโยบายสมัยคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ประกาศว่า ฝากครรภ์ทุกที่ฟรีทุกสิทธิ แต่กฎหมายลูกยังไม่มีการแก้ไข โดยหลักการต้องไม่เก็บเงินแต่พบปัญหาในทางปฏิบัติ ทาง สปสช.ก็เลยทดลองเก็บข้อมูลในพื้นที่ กรณีผู้ประกันตนที่คลอดลูกแล้ว ไปใช้บริการที่ไหน โรงพยาบาลอะไร จ่ายเงินเท่าใด เก็บข้อมูลได้ 3,000 คน ทั้งกรุงเทพและต่างจังหวัด พบว่า ไปใช้บริการในระบบ สปสช. ประมาณ 40 % 60 % เสียเงินเอง ซึ่งเกิดจาก ไปใช้บริการในสถานพยาบาลที่ไม่อยู่ในระบบสปสช. ซึ่งจริงๆไม่ควรถูกเก็บเงิน แต่กลับถูกเรียกเก็บเงิน แต่การ เก็บข้อมูลไม่ได้ลงรายละเอียดว่า เสียเงินค่าอะไร ทำให้เห็นว่า ยังมีการจ่ายเงินในการรับบริการอยู่ สมมติใช้ บริการ 100 ครั้ง ถูกเก็บเงินถึง 70 ครั้ง เป็นต้น

เดิมสิทธิส่งเสริมป้องกันของ สปสช. กว้างขวางมากและครอบจักรวาล ไม่มีการกำหนดขอบเขตที่ ชัดเจน ก็เกิดปัญหาในการให้บริการเช่นเดียวกัน ทำให้ต้องมาปรับแก้ไขในเรื่องนี้ และอีกประการ คือ ตราบใด ที่คนยังทำงานได้อยู่ โอกาสที่จะมาตรวจสุขภาพก็มีน้อยอยู่ ทำให้ต้องปรับการทำงานในเรื่องนี้เป็นแบบเชิงรุก กันงบประมาณในการทำงานเรื่องนี้โดยเฉพาะ แต่ก็พบปัญหาว่า มีการร้องเรียนเรื่อง สปสช. กันเงินไว้ในเรื่องนี้ แต่กลับเงินในส่วนการรักษา เงินที่ใช้กลับไม่พอมีการท้วงติงเรื่องการจ่ายเงินให้กับหน่วยที่ไม่ใช่หน่วยบริการ เช่น ให้กลุ่มผู้ใช้แรงงานในพื้นที่ ไปให้ ความรู้ ให้ทราบสิทธิที่เกี่ยวข้องผ่านกลุ่มแรงงานนอกระบบ ผ่านเงินไปให้กลุ่มย่านอุตสาหกรรมต่างๆ แต่ก็พบ ปัญหาเรื่อง พอต้องมาทำงานกับหน่วยบริการ ก็พบปัญหาข้อจำกัดอีก ทำให้ต้องชะลอการำเนินการในเรื่องนี้ไป ดังนั้น สปสช. จึงมาเน้นเรื่องการกำหนดขอบเขตการส่งเสริมและป้องกันโรคที่ชัดเจนว่าควรตรวจเรื่อง อะไร อย่างไรบ้าง เพื่อให้เกิดการคุ้มค่าและป้องกันโรคได้จริง เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องตรวจ ไม่ใช่การตรวจอะไร อย่างไรก็ได้ เช่น การตรวจมะเร็งปากมดลูก พบว่าเมื่อตรวจแล้วยังสามารถจัดการได้ในระยะเวลา 10 ปีของ การเกิดโรค ซึ่งสามารถป้องกันและจัดการได้แต่เนิ่นๆ ทำให้ สปสช.ก็ดึงออกมาในส่วนส่งเสริมและป้องกันโรค มีการกำหนดเรื่องฉีดวัคซีนในเรื่องนี้โดยตรง เป็นต้น

ดังนั้นโดยสรุปสิทธิขั้นพื้นฐานครอบคลุมผู้ประกันตนแต่ยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการอยู่

นางนงค์ลักษณ์ กอวรกุล ผู้อำนวยการกลุ่มงานคุ้มครองสิทธิทางการแพทย์ สำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ ผู้แทนสำนักงานประกันสังคม  กล่าวว่า นับตั้งแต่มีการบังคับใช้ พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับที่ 4 พ.ศ.2558 ทางสำนักงานประกันสังคมตระหนัก ดีในเรื่องความเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการสุขภาพกับระบบสุขภาพอื่นๆที่ต้องดำเนินการในเรื่องนี้ ซึ่งเวลา กล่าวถึงกรอบการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานประกันสังคมได้ดำเนินการในเรื่องนี้มาตั้งแต่เกิดกฎหมาย ประกันสังคม แต่เนื่องจากกฎหมายในช่วงนั้นไม่ได้กำหนดไว้ให้ทำได้ จึงจัดทำในรูปโครงการแทน ที่มีการเข้าไปในสถานประกอบการและจัดทำโครงการป้องกันต่างๆ เป็นต้น

กิจกรรมในขณะนี้ที่เน้น คือ การคัดกรองความเสี่ยงโรค นอกเหนือจากนี้ยังมีเรื่องการฉีดวัคซีน ป้องกันโรค หรือกรณีการเกิดโรคระบาดไข้หวัดใหญ่ เพื่อคัดกรองคนกลุ่มเสี่ยงก็จะมีเงื่อนไขเพิ่มขึ้นเพื่อให้ ผู้ประกันตนเข้าถึงได้รวดเร็วขึ้น

สำหรับแพคเกจการส่งเสริมและป้องกันโรคในเรื่องการตรวจสุขภาพนั้น ดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 แต่ต้องเป็นการเข้ารับบริการตามบัตรตามสิทธิที่กำหนดไว้ และต้องเข้ารับการตรวจจาก ห้องปฏิบัติการ ทั้งนี้ สปส. ไม่ได้ดำเนินการเอง แต่กำหนดจากกระทรวงสาธารณสุขที่ได้กำหนดเงื่อนไขมาแล้ว ว่าต้องดำเนินการ อย่างไรบ้าง และ สปส. ยังได้มาพิจารณาเพิ่มเติมว่าอะไรคือความเสี่ยงของกลุ่มผู้ประกันตน เพิ่มขึ้นบ้าง ที่ สปส. ควรจัดเพิ่ม เช่น การเอกซเรย์ เป็นต้น

นอกจากนั้นทางสปส. ยังมีการหารือกับผู้เชี่ยวชาญในการกำหนดสิทธิประโยชน์อื่นๆเพิ่มขึ้นด้วยอยู่ แล้ว มีการพิจารณาในสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานที่ สปสช. จัดให้ เพื่อให้ สปส. ต้องดำเนินการด้วยเช่นเดียวกัน เพื่อไม่ให้เกิดความแตกต่าง

สำหรับกรณีรัฐธรรมนูญได้กำหนดเรื่องการปฏิรูประบบสุขภาพ ทาง สปส.ก็ได้มีการทำงานร่วมกับ หน่วยงานด้านสาธารณสุขอื่นๆอยู่แล้ว เช่น การจัดบริการระบบปฐมภูมิ เป็นต้น

ทั้งนี้ทาง สปส. มีความพยายามขยายการให้บริการไปยังโรงพยาบาลอื่นๆที่เป็นเครือข่ายโรงพยาบาล ต้นสังกัด และให้เบิกจ่ายงบประมาณมาที่ สปส. ได้โดยตรง หลักการปฐมภูมิในมุมประกันสังคม มองว่า สถานบริการระดับปฐมภูมิในสถานประกอบการทั้งการรักษาและการให้บริการสุขภาพ ก็มีความพยายามผลักดันในเชิงกฎหมายในเรื่องนี้อยู่เช่นเดียวกัน ที่ผ่านมา สปส. จะถูกโจมตีเรื่องค่าใช้จ่ายต่อหัว ปกติจ่ายไปประมาณ 3,000 กว่าบาท ไม่ได้น้อยกว่า ระบบกองทุนอื่น มีงานวิจัยของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า โรคความดันในโลหิตสูง , โรคไขมันในเลือดสูง และโรคเบาหวาน เป็นโรคที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้ประกันตน ซึ่งจะมีโอกาสในการเป็น โรคอื่นๆติดตามมา โดยเฉพาะในกลุ่มที่อายุต่ ากว่า 30 ปี มีแนวโน้มในการเป็นโรคเหล่านี้สูงขึ้น เมื่อมามองในมุมกองทุนเงินทดแทนมีสัดส่วนลดลง แต่ความรุนแรงของการบาดเจ็บกลับสูงขึ้น จากข้อมูลเหล่านี้ สปส. จึงนำมากำหนดทิศทางของ สปส. โดยเฉพาะการลดผู้ป่วยรายใหม่ที่จะเข้ามารักษา ผู้ประกันตนควรได้รับการคัดกรองก่อนที่จะเป็นโรค สำหรับตัวชี้วัดเรื่องการเข้าถึงบริการ สปส.ก็ไม่ได้หยุดนิ่งเรื่องการให้บริการ มีการพัฒนาระบบให้ ผู้ประกันตนได้เข้าถึง มีการบันทึกข้อมูลต่อเนื่องเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การเป็นโรคของผู้ประกันตนกลุ่ม ต่างๆ อีกทั้งการส่งเสริมและป้องกันโรคคงไม่ใช่แค่เพียงเรื่องการตรวจสุขภาพเท่านั้น แต่ยังทำเรื่อง สถานพยาบาลต้นแบบในการนำร่องจำนวน 40 แห่ง ในการดำเนินกิจกรรมมากกว่าการตรวจสุขภาพเท่านั้น มี การนำข้อมูลคนที่ผิดปกติไปดำเนินการจัดการต่อไปในระดับสถานประกอบการ เหล่านี้คือเป้าหมายที่ สปส. มุ่งหวังจะให้เกิดขึ้นมา

สำหรับการติดตามประเมินผล ได้มีการจ้างที่ปรึกษามาวิเคราะห์สิทธิประโยชน์ต่างๆว่าเพียงพอกับ ผู้ประกันตนหรือยัง เช่น ความปลอดภัยในการทำงานทิศทางในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของ สปส. คือ การพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ , การ ป้องกันควบคุมโรค , การก ากับคุณภาพการให้บริการ , การพัฒนากลไกการจ่ายเพื่อกระตุ้นการให้บริการ เป็น ต้น

ชวงบ่ายมีการอภิปรายแลกเปลี่ยน มาตรการการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค มาตรา 63 (2) สำหรับผู้ประกันตน

นพ.อดุลย์ บัณฑุกุล ผู้แทนคณะกรรมการการแพทย์ ประกันสังคมจริงๆแล้วเรื่องการส่งเสริมสุขภาพเป็นเรื่องฮิตในยุคนี้ที่ทุกคนหันมาสนใจเรื่องการดูแลสุขภาพมากขึ้น มีการถามว่าประกันสังคมจะช่วยส่งเสริมสุขภาพอย่างไร เพราะที่ผ่านมาเป็นงานเชิงรับมาโดยตลอด ที่ผ่านมา เวลาเจ็บป่วยผู้ประกันตนจะไปเข้ารับการบริการทั้งโรงพยาบาลเอกชนและโรงพยาบาลรัฐบาล ก็ถือเป็นภาระ ของทุกฝ่าย ทั้งนี้ในสำนักงานประกันสังคมเองก็มีคณะอนุกรรมการในการพิจารณาเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ เรื่องสิทธิประโยชน์โดยเฉพาะในการพิจารณาเรื่องต่างๆเหล่านี้โดยเฉพาะเช่นกัน เคยมีการกล่าวว่าเมื่อมี สปสช. คนจะเจ็บป่วยน้อยลง แต่นี้ไม่จริง มองว่าการส่งเสริมสุขภาพยังเป็น กรอบเดิมๆอยู่ เช่น มีการทำกิจกรรมในสถานประกอบการหลังจากกินข้าวเสร็จ 10 นาทีเท่านั้น แต่บรรยากาศ อื่นๆที่เอื้อต่อการดำเนินการในสถานประกอบการยังไม่มี ทำให้จึงไม่ได้ผลในเชิงป้องกัน หรือกรณีการให้โรงพยาบาลทำงานส่งเสริมสุขภาพก็ไม่มีเกณฑ์วัดชัดเจนว่าสำเร็จหรือไม่สำเร็จ

ตนเคยไปศึกษาดูงานที่เกาหลี ที่นั่นมีหน่วยส่งเสริมสุขภาพในนิคมอุตสาหกรรมเลย มีกิจกรรมที่ ดำเนินการชัดเจน มีหน่วยของแพทย์ที่นั่น มองว่ารูปแบบแบบนี้จะใกล้ชิดมากกว่า ท าให้เกิดความ กระตือรือร้นมากขึ้นในการดูแลตนเอง ดังนั้นจึงมีความพยายามในการหากลไกในการส่งเสริมสุขภาพให้มากขึ้น โดยเฉพาะโปรแกรมการ ตรวจสุขภาพ ที่มีทั้งคนพอใจและไม่พอใจ ทั้งๆที่โดยระบบปกติก็ต้องตรวจแบบนี้โดยพื้นฐานอยู่แล้ว ซึ่งได้ กำหนดเงินในส่วนนี้ไว้ประมาณ 1,800 ล้านต่อปี สำหรับเรื่องที่ผู้ประกันตนทำได้เลย คือ พฤติกรรมด้านสุขภาพโดยเฉพะการลดเหล้า บุหรี่ สิ่งแวดล้อม ในโรงงาน ที่พัก ที่เล่นกีฬา โรงอาหารที่มีอาหารทั่วๆไปไม่ได้ส่งเสริมสุขภาพ ทำให้บรรยากาศการส่งเสริม สุขภาพก็น้อยลงไปด้วย
สำหรับในเรื่องความทับซ้อนของสิทธิประโยชน์ระหว่าง สปส. กับ สปสช. เวลามองใน สปส. คือ สิทธิ ประโยชน์ต้องไม่ด้อยกว่า สปสช. หรือใกล้เคียงกัน จึงไม่ซ้อนกันแน่นอน

นางสาวอรุณี ศรีโต กรรมการประกันสังคม กล่าว่า สำหรับในเรื่องมาตรการต่างๆก็นึกนานมากสำหรับผู้ประกันตนที่เป็นผู้ใช้แรงงานอย่างเราๆที่มีสิทธิ ประโยชน์เพิ่มมากขึ้นเป็นระยะๆ โดยเฉพาะในเรื่องการส่งเสริมและป้องกันโรค ว่าจะทำอย่างไรดี เพราะก็ พบว่าคนงานยังเข้าถึงความรู้เหล่านี้ได้น้อยอยู่ อีกทั้งเวลามีเจ้าหน้าที่รัฐไปบรรยายให้ความรู้ก็ยังไปบรรยาย เรื่องเดิมๆกฎหมายเดิมๆอยู่ กรณีสิทธิประโยชน์ใหม่ๆในกฎหมายประกันสังคมฉบับใหม่ก็ยังมีน้อยอยู่ เมื่ออาทิตย์ที่แล้วได้ไปดูงานในโรงงานแห่งหนึ่ง พูดภาษาชาวบ้าน คือ คนงานทำงานเป็นลิงเลย สมัยก่อนยังมีการสอบถามคุยกัน สมัยนี้หอพักในโรงงานก็ไม่มีให้อยู่แล้ว โรงงานให้คนงานเข้างาน 8 โมงเช้า เลิก 2 ทุ่มครึ่ง โอกาสจะติดตามข่าวสารที่เกี่ยวข้องจึงมีน้อยมาก ที่ทำงานมีการให้ปิดจมูก แต่มองว่าเจตนาคือ ไม่มีโอกาสได้คุยกัน ที่โรงงานมีการให้คนงานออกกำลัง แต่ออกตอน 07.30 น. ซึ่งก่อนเวลางาน แต่ในเวลางาน กลับไม่มีให้การออกกำลังกายกัน ทำให้โอกาสที่จะส่งเสริมสุขภาพจึงเป็นไปได้น้อยมาก ตนได้ประสานงานโรงงานแห่งหนึ่งในการให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพ ก็จัดเวลามาให้ตอนรับปนะทานอาหารกลางวัน ก็ย่อมเป็นไปไม่ได้แน่นอน ทำให้จำเป็นต้องหาช่องทางในสถานประกอบการที่เป็นไปได้มากกว่านี้ ภายหลังที่ดิฉันเข้ามาเป็นกรรมการประกันสังคม เห็นเลยว่าผู้ใช้แรงงานต้องมีการเตรียมข้อมูลอย่างต่อเนื่องและเชิงลึกมากกว่านี้ มีเวทีแลกเปลี่ยน เพื่อสื่อสารกับฝ่ายนโยบายในสิ่งที่ยังขาดอยู่ โดยเฉพาะในเรื่องเมื่อเกษียณอายุจากการทำงานแล้ว จะมีแนวทางในการคุ้มครองผู้ประกันตนต่ออย่างไร

ดร.ยุพดี ศิริสินสุข กรรมการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ นำเสนอว่า อยากเริ่มจากคำถามสำคัญว่า ชุดสิทธิประโยชน์ที่กำหนดมานี้เพียงพอหรือไม่ ก็พบว่า ไม่ว่าจะถามใครก็คงตอบว่าไม่เพียงพอ แล้ว เมื่อใดจะเพียงพอ ใครจะบอกเราในเรื่องเหล่านี้ได้ จริงๆแล้วใน สปสช. ก็มีคณะทำงานในการพิจารณาเรื่องชุด สิทธิประโยชน์ต่างๆเหล่านี้ แต่ก็มองว่า การตรวจสุขภาพไม่ใช่คำตอบ อาจเป็นการสิ้นเปลืองด้วยซ้ำไป อีกทั้ง การมีเงินในกองทุนมาก ก็ใช่ว่าจะท าให้สิทธิประโยชน์มากขึ้น อาจต้องมองเรื่องความจ าเป็น ความคุ้มค่า ร่วม ด้วยใช่หรือไม่ การตรวจสุขภาพต้องมาพร้อมกับความจ าเป็นไม่ใช่ความสามารถในการจ่าย วันนี้งบ PP คือ งบส่งเสริมสุขภาพ พบว่า ชั้นที่ 1 อยู่ที่ระบบสปสช. ทุกคนได้เท่ากันหมด ชั้นที่ 2 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ก าหนดเรื่องการตรวจสุขภาพตามความเสี่ยงของการทำงานในแต่ละสถานประกอบการ ชั้นที่ 3 แต่ละบริษัทจัดตรวจสุขภาพประจำปีให้ลูกจ้างโดยตรง ชั้นที่ 4 แต่ละคนไปซื้อประกันชีวิตตรวจสุขภาพโดยตรง นี้จึงทำให้เห็นว่า นี้คือช่องโหว่ของระบบที่ทำให้สถานพยาบาลได้ประโยชน์แทน เสนอว่า ต้องเอางบ PP ทั้ง 4 ชั้นมาบูรณาการกัน เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการรับบริการ ลดการสิ้นเปลืองงบประมาณ และเพิ่มส่วนเสริม หรือส่วนเฉพาะแทนเพื่อลดความเสี่ยงต่างๆ นี้จึงทำให้สามารถใช้งบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด สำหรับในเรื่องการบริหารจัดการที่สิทธิประโยชน์อยู่ที่บัตรทอง ผู้ประกันตนจะใช้สิทธิอย่างไร

ดังนั้น ผู้ประกันตนต้องทราบก่อนว่า นี้คือสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้อยู่แล้ว ต่อมาคือการจัดระบบบริการที่ทำให้ ทุกคนเข้าถึงสิทธิ สอดคล้องกับวิถีชีวิตการทำงาน และการติดตามประเมินผลของระบบว่า มีประสิทธิภาพและ เอื้อต่อผู้ประกันตนมากน้อยแค่ไหน อย่างไร จะขับเคลื่อนอย่างไรในอนาคตให้ดีขึ้น เสนอแนะให้มีการคิดใหม่ทำใหม่เรื่องการปรับระบบบริการให้เอื้อต่อการใช้สิทธิ รวมทั้ง สปสช. ก็ ก าลังอยู่ในระหว่างสามารถจัดสรรงบประมาณให้หน่วยอื่นๆที่ไม่ใช่หน่วยบริการในการดำเนินการดูแลรักษา สุขภาพได้ด้วยตนเอง

นายวาทิน หนูเกื้อ ฝ่ายกฎหมายสายแรงงาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่าตนขอเริ่มจากแนวคิดว่าทำไมเราต้องส่งเสริมสุขภาพและงบประมาณที่ใช้จ่ายจะมีลักษณะอย่างไร โดยมองว่าถ้านี้คือสิทธิขั้นพื้นฐานเพื่อทำให้ผู้เจ็บป่วยไม่ต้องมารักษาในอนาคต ก็ไม่ควรจัดสรร งบประมาณให้เพิ่มเติม น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของงบในส่วนค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับอยู่แล้ว เป็นการเซฟ งบประมาณด้วยซ้ำไป สำหรับในเรื่องการเข้าถึง อันดับแรกต้องรู้ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องให้แน่ชัดก่อน ต่อมาคือวิถีชีวิตที่ไม่ สามารถไปตรวจสุขภาพตามวันเวลาปกติได้ โรงพยาบาลควรจะต้องปรับรูปแบบการให้บริการในเรื่องนี้หรือไม่ อย่างไร และในเรื่องการสร้างบรรยากาศในสถานประกอบการให้สามารถมีเวลาออกกำลังกาย เล่นกีฬา ห้าม สูบบุหรี่ โอกาสจะเจ็บป่วยก็น้อยลง

นางอรพิน วิมลภูษิต ผู้จัดการแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน กล่าวว่าในบทบาท สสส. ที่เข้ามาร่วม คือ การนำหลักออตตาวาชาร์ตเตอร์เรื่องการส่งเสริมสุขภาพมาเป็น หลักการในการทำงาน ที่วันนี้มีกฎหมายอย่างน้อย 5 ฉบับเข้ามาเกี่ยวข้องแน่นอน คือ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 , พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 , พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมใน การทำงาน พ.ศ.2554 , พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 และ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ซึ่ง แต่ละคนจะเกี่ยวข้องกับกฎหมายทั้ง 5 ฉบับนี้ คำถามคือ วันนี้ผู้ใช้แรงงานเข้าถึงข้อมูลรายละเอียดต่างๆที่ เกี่ยวข้องมากน้อย เพียงใด เพื่อเข้าใจเงื่อนไขในกฎหมายแต่ละฉบับ

อันดับที่สอง คือการสร้างบรรยากาศหรือสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ จากความร่วมมือของฝ่ายต่างๆ อันดับที่สาม คือ ระบบบริการที่เป็นสุขเป็นมิตร ต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมทุกฝ่าย โดยเฉพาะการคิดรูปแบบและเข้าไปนำเสนอกับผู้เกี่ยวข้องฝ่ายต่างๆ

อันดับที่สี่ คือการสร้างทักษะด้านสุขภาพ เช่น ร้อยละ70 ของการบริโภคสุราและยาเสพติดอยู่ในวัย แรงงาน และนำมาสู่ความไม่สามารถจัดการเรื่องการเงินได้ และส่งผลต่อสุขภาพจิตตามมา ดังนั้นเรื่องการ ส่งเสริมสุขภาพจึงเป็นเรื่องของทุกคนไม่ใช่เรื่องของโรงพยาบาลหรือผู้ให้บริการ หรือเป็นเพียงเรื่องของสิทธิ ประโยชน์ของระบบบริการ และประการสุดท้าย คือ การสร้างระบบกลุ่มและชุมชนในการสนับสนุนเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ ขึ้นมา เสนอแนะว่าต้องมีการทำงานร่วมกันระหว่างสำนักงานประกันสังคมกับผู้ใช้แรงงานและนายจ้าง เพื่อ ออกแบบการทำงานเชิงปฏิบัติการร่วมกัน และจะมีกลไกอย่างไรที่ผู้ใช้แรงงานจะสามารถมองได้รอบด้านใน การทำงานเพื่อผลักดันในเรื่องดังกล่าวนี้เพื่อขับเคลื่อนร่วมกัน เช่น การมองนโยบายที่เกี่ยวข้องให้รอบด้าน เป็นต้น ใครจะรับผิดชอบด้านใด อย่างไร ไม่ใช่ผู้ใช้แรงงานหนึ่งคนรับผิดชอบในทุกเรื่อง

รายงาน บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์