วันที่ 6 กรกฎาคม 2560 เครือข่ายนักวิชาการ นักศึกษา ศิลปินและภาคประชาสังคม ส่งจดหมายเปิดผนึก เรื่อง ข้อเสนอแนะ ทางออก แก้วิกฤติชุมชนป้อมมหากาฬ
หลังจากที่มีความขัดแย้งกรณีการรื้อป้อมมหากาฬเพื่อจัดทำสวนสาธารณะ มีคณะกรรมการสามฝ่ายขึ้นมาเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการการมีส่วนร่วม มีการเจรจากับกรุงเทพมหานครโดยหลายฝ่ายและองค์กรอิสระอย่างต่อเนื่อง และมีความคืบหน้ามาเป็นลำดับ โดยได้รับความร่วมมือจากนักวิชาการหลายสาขา ทั้ง ประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม ผังเมือง และนักกฎหมาย นักวิชาการจากหลายสถาบันการศึกษา ทำให้ได้ข้อมูลที่มีคุณค่าและมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อสาธารณะ ทั้งด้านประวัติศาสตร์ ด้านสถาปัตยกรรม ด้านคุณค่าวิถีชีวิตสังคมและชุมชน และ ด้านโบราณคดี
อย่างไรก็ตาม ในความพยายามเพื่อหาทางออกในการแก้วิกฤติครั้งนี้ยังมีบางประเด็นที่ยังไม่สามารถสรุปข้อตกลงร่วมกันได้ ในฐานะของเครือข่ายนักวิชาการ นักศึกษา ศิลปินและภาคประชาสังคม ซึ่งมีความห่วงใยและมีความเห็นว่า กรณีชุมชนป้อมมหากาฬเป็นเรื่องสำคัญของสังคมไทยเพราะ “ชุมชนป้อมมหากาฬเป็นแหล่งสุดท้ายของชุมชนชานเมืองพระนครที่เหลืออยู่” จึงมีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้
1.เนื่องจากมีการรื้อย้ายบ้านในชุมชนป้อมมหากาฬไปแล้วจำนวนหนึ่ง และบ้านที่ยังคงเหลือมีจำนวนไม่มาก จากการสำรวจทางวิชาการและการลงพื้นที่ร่วมกันทุกฝ่ายพบว่ามีความเชื่อมโยงทางคุณค่าทั้ง 4 ด้าน ดังนั้นเพื่อการอนุรักษ์จึง “ขอให้ยับยั้งการรื้อย้ายบ้านที่เหลืออยู่ในชุมชนป้อมมหากาฬทั้งหมด” เพราะ คุณค่าของชุมชนป้อมมหากาฬให้เป็นสวนสาธารณะและพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตจะดำรงอยู่ได้ก็ต่อเมื่อมี “พื้นที่” “บ้าน” และ “ผู้คนดั้งเดิม” ซึ่งจะทำหน้าที่อนุรักษ์และสามารถดำรงวิถีชีวิตชุมชนต่อไปได้ด้วย
2.ก่อนที่จะมีสรุปข้อตกลงร่วมกัน ขอให้มีการจัดทำรายละเอียดที่ชัดเจนในเรื่อง ระบบการบริหารจัดการร่วมกัน ทั้ง “พื้นที่” “บ้าน” และ “ผู้คนดั้งเดิม” ที่สอดคล้องต่อวิถีชีวิตของชุมชน และ สอดคล้องกับแผนงานของกรุงเทพมหานคร โดยคำนึงความเป็นธรรมและเหมาะสมต่อทุกฝ่าย
3.การแก้ไขความขัดแย้งกรณีชุมชนป้อมมหากาฬได้สำเร็จจะเป็นตัวอย่างที่ดีและเป็นบทพิสูจน์ในระยะเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมที่ยั่งยืนในสังคมไทย ที่มีความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ทั้ง รัฐบาล กรุงเทพมหานคร นักวิชาการองค์กรอิสระ และ การให้โอกาสผู้มีส่วนได้เสียอย่างแท้จริง
4.ขอให้คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ที่กำลังมีคณะทำงานทบทวนโครงการรอบเกาะกรุงรัตนโกสินทร์เพื่อให้เป็นสวนสาธารณะและพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตได้พิจารณากรณีชุมชนป้อมมหากาฬอย่างเร่งด่วน โดย คำนึงถึงวิถีชีวิตของคนและชุมชนเป็นตัวตั้ง
เครือข่ายนักวิชาการ นักศึกษา ศิลปินและภาคประชาสังคม ตามรายชื่อแนบท้ายนี้ ขอเสนอความเห็นเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมรับผิดชอบสังคมร่วมกับทุกฝ่าย และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคณะรัฐมนตรี คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ รวมทั้งกรุงเทพมหานคร จะร่วมกับภาคประชาสังคม นักวิชาการ และชุมชนป้อมมหากาฬ ดำเนินการแก้ไขปัญหาได้ลุล่วง ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตและงดงามคู่กับสังคมไทย
รายชื่อเครือข่ายนักวิชาการ นักศึกษา ศิลปินและองค์กรภาคประชาชนสังคม ร่วมสนับสนุนให้ชุมชนป้อมมหากาฬ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต
1. ศาสตราจารย์ เสน่ห์ จามริก
2. นายแพทย์ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์ รองอธิการบดีฝ่ายการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ม.รังสิต
3. อานันท์ หาญพาณิชย์พันธ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาสังคม ม.รังสิต
4. ศ.ดร.อภิชัย พันธเสน อาจารย์ประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
5. รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
6. รศ.วิทยากร เชียงกูล คณบดีกิตติคุณ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
7. ดร.สุริยะใส กตะศิลา รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
8. ผศ.ดร.ฉัตรวรัญช์ องคสิงห์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
9. ผศ.ดร.ฐิติพร ศิริพันธ์ พันธเสน รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
10. ดร.ศรัณย์ ธิติลักษณ์ ผอ.หลักสูตร M.A. วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
11. ผศ.ดร.รัตพงษ์ สอนสุภาพ ผอ.หลักสูตร M.A. (ออนไลน์) วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
12. พลเรือตรี ผศ.ดร.วิโรจน์ พิมานมาศสุริยา อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
13. ดร.สมิทธ์ ตุงคะสมิต อาจารย์ประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
14. ดร.อภิรัตน์ กังสดารพร อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
15. สานิตย์ แสงขาม ผอ.สำนักพัฒนาสังคม ม.รังสิต
16. ชนัฐนันท์ ม่วงวิเชียร หัวหน้าหลักสูตรผู้นำฯ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
17. ฟ้าลั่น กระสังข์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
18. วสันต์ ยอดอิ่ม ผอ.สถาบันส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ม.รังสิต
19. ภัทรมน สุวพันธุ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต
20. ดร.ศักดิ์ณรงค์ มงคล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ ม.รังสิต
21. ผศ.ประสาท มีแต้ม นักวิชาการอิสระ
22. ดร.ดรุณี ตันติวิรมานนท์ นักวิชาการอิสระ
23. รศ.มาลี พฤกษ์พงศาวลี คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
24. นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ คณบดีวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข ม.อุบลราชธานี
25. ศ.สุริชัย หวันแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
26. ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
27. สุนี ไชยรส ผอ.ศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็นธรรม
วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
28. ดร.อาภา หวังเกียรติ ผู้ช่วยคณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ ม.รังสิต
29. ผศ.ทวี สุรฤทธิกุล ผู้ช่วยรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
30. สมภพ ดอนดี นักวิชาการอิสระ
31. เนรมิตร จิตรรักษา ม.ราชภัฏเชียงราย
32. รศ.ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ ที่ปรึกษา สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล
33. ดร.มาลี สิทธิเกรียงไกร ศูนย์ศึกษาชาติพันธ์และการพัฒนา ม.เชียงใหม่
34. ผศ.สุรัสวดี หุ่นพยนต์ นักวิชาการอิสระ
35. ผศ.ดร.จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร ประธานกรรมการประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
คณะสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
36. รศ.สมภพ ฐิตะวสันต์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
37. ภก.ชินวัจน์ แสงอังศุมาลี อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ ม.สยาม
38. ดร.เดชรัตน์ สุขกําเนิด อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
39. รศ.ดร.นภาพร อติวานิชยพงศ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย วิทยาลัยพัฒนศาสตร์
ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ม.ธรรมศาสตร์
40. ดร.สมนึก จงมีวศิน วิทยาลัยนานาชาติ ม.ศิลปากร
41. นายแพทย์ สุธีร์ รัตนะมงคลกุล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
42. ดร.ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์ นักวิชาการอิสระ
43. ดร.กฤษฎา บุญชัย รองเลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
44. บรรจง นะแส ประธานกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน(กป.อพช.)
45. บำรุง คะโยธา เครือข่ายเกษตรกรรม จ.กาฬสินธุ์
46. ประสิทธิชัย หนูนวล เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน
47. บุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย(ครป.)
48. ศรีโพธิ์ วายุภักษ์ ประธานมูลนิธิสหภาพแรงงานไทยเรยอน
49. สุธาสินี แก้วเหล็กไหล ผู้ประสานงานเครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ(MWRN)
50. สุมาลี โตกทอง มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง
51. ดร.กฤษฎา บุญชัย รองเลขาธิการ สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
52. เมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35
53. สุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง มูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม
54. กฤษกร ศิลารักษ์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน กรณีเขื่อนปากมูล
55. สุภาวดี เพชรรัตน์ มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม
56. สุภัทรา นาคะผิว มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์
57. สมบัติ ชูมา สถาบันธรรมชาติพัฒนา
58. วสันต์ พานิช สำนักงานและที่ปรึกษากฎหมาย คนกฎหมาย ทนายความอิสระ
59. เสน่ห์ หงษ์ทอง ศูนย์ประสานงานกรรมกร
60. สมบุญ สีคำดอกแค สภาเครือข่ายผู้ป่วยจากการทำงานแห่งประเทศไทย
61. พลพิศิษฏ์ คงธนญาณ เลขานุการมูลนิธิเพื่อนหนังสือ
62. เอ็นนู ซื่อสุวรรณ ประธานมูลนิธิอาจารย์จำเนียร สาระนาค
63. ดร.ส่งเกียรติ ทานสัมฤทธิ์
64. ธวัชชัย จรูญชาติ กรรมการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย(ครป.)
65. บัวแก้ว กองดวง เครือข่ายผู้หญิงไทย 77 จังหวัด
66. ดร.ศักดิ์สิน ปัจจักขะภัติ ประธานชมรมผู้นำนวัตกรรมสังคม
67. อนุชา วินทะไชย ผู้จัดการสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
68. เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง มูลนิธิบูรณะนิเวศ
69. ดาวัลย์ จันทรหัสดี มูลนิธิบูรณะนิเวศ
70. สมพงษ์ สระแก้ว มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN)
71. ลักษมณ์ เกตุทัต กรรมการสยามสัมมนา
72. มาลีรัตน์ แก้วก่า
73. ศันสนีย์ สุทธิศันสนีย์
74. จิตติมา ภาณุเตชะ ศิลปิน
75. มงคล อุทก ศิลปิน
76. วสันต์ สิทธิเขตต์ ศิลปิน
77. เดช อัสดง ศิลปิน
78. วรรณพร ฉิมบรรจง (ทราย) ศิลปิน
79. จุมพล อภิสุข ศิลปิน
80. สมพงษ์ ทวี ศิลปิน
81. ชัยพร นำประทีป ( เอี้ยว ) ศิลปิน
82. จามิกร แสงศิริ ศิลปิน
83. จิตติมา ผลเสวก ศิลปิน
84. เมธา เมธี ศิลปิน
85. มงคล เปลี่ยนบางช้าง ศิลปิน
86. นพวรรณ สิริเวชกุล ศิลปิน
87. วิชชุกร ตั้งไพบูลย์ ศิลปิน
88. ประสาท นิรันดรประเสริฐ ศิลปิน
89. รัตน์ โกบายาชิ ศิลปิน
90. โฆษิต เตี้ยมชุมพล ศิลปิน
91. ชิตะวา มุนินโท ศิลปิน
92. สมัชชา วิเชียร (หนึ่ง คนจร) ศิลปิน
93. ป้อม เจริญกรุง ศิลปิน
94. สุมาลี ลายลวด วงภราดร
95. สมศักดิ์ อิสมันยี วงคีตาญชลี
96. สุรินทร์ อิสมันยี วงคีตาญชลี
97. อัญชลี อิสมันยี วงคีตาญชลี
98. วาทิตา อิสมันยี วงคีตาญชลี
99. ภารวี อิสมันยี วงคีตาญชลี
100. ธีระวิทย์ วงศ์เพชร นักศึกษา ป.เอก การบริหารการพัฒนา ม.ราชภัฏสวนสุนันทา
101. ณัฐวุฒิ เชาวทัต นายกสโมสรนักศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
102. อัญธิกา คังคายะ อดีตนายกสโมสรนักศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
103. วุฒิรักษ์ แพงตาแก้ว อดีตนายกสโมสรนักศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
104. สหชาติ สุวรรณราช นักศึกษา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.มหาสารคาม
105. วราวุฒิ ไสยจรัญ นักศึกษา วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม.มหาสารคาม
106. ศุภวิทย์ พลทะกลาง อดีตนายกสโมสรนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ ม.อุบลราชธานี
107. สายฟ้า ต้นจาน อดีตรองนายกสโมสรนักศึกษา คณะรัฐศาสตร์ ม.อุบลราชธานี
108. กีรติ กรุงศรี ประธานสภานักศึกษา ม.เชียงใหม่
109. สุทธิภัทร จันทร์จุลเจิม อดีตนายกสโมสรนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ ม.เชียงใหม่
110. ปานตะวัน แบนถี นักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
111. เศรษฐกร ปาณสารกิจกุล นักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
112. ปฏิภาณ ประเสริฐกุลศักดิ์ นักศึกษา คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
113. ศักดิ์สิทธิ์ โพธิ์แพงพุ่ม นักศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
114. ธัญชนก บุญฤทธิการ นักศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
115. ศิลา เลิศวิทยากูล นักศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
116. วัชรพล ไหลอุดี นักศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
117. ปรเมษฐ์ คงสังข์ นักศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
118. วรเมธ บุตรดีสุวรรณ นักศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
119. ณนภ ม่วงเกลี้ยง นักศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
120. กิตติคุณ ลิ่มสุวัฒนาพงษ์ นักศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
121. ณัฐภูมิ วรรณลี นักศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
122. วิทิต ไหวมา นักศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
123. เกรียงไกร จันกกผึ้ง นักศึกษา คณะเศรษฐศาสตร์ ม.รังสิต
124. ปฏิภาณ สมบูรณ์ผล นักศึกษา การท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ ม.หอการค้าไทย
125. ณัฐวัตร รักวงษ์ นักศึกษา การท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ ม.หอการค้าไทย
126. กิตติพงศ์ คงทอง นักศึกษา การท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ ม.หอการค้าไทย
127. รัฐวุฒิ บุญมาเรือง นักศึกษา การท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ ม.หอการค้าไทย
128. รัฐนนท์ รัตนเสวี นักศึกษา การท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ ม.หอการค้าไทย
129. ภูเมศ ยมนา นักศึกษา การท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ ม.หอการค้าไทย
130. ประภัสร์ ดีประหลาด นักศึกษา การท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ ม.หอการค้าไทย
131. อภิวัฒน์ บุญชู นักศึกษา การท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ ม.หอการค้าไทย
132. อนัส อมรทวีพร นักศึกษา การท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ ม.หอการค้าไทย
133. สุธารักษ์ ทิพย์โกสุม นักศึกษา มรภ.วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
134. ณัฐกฤษตา น่วมพิทักษ์ นักศึกษา มรภ.วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
135. ภาวินี จันทร์เชื้อ นักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ ม.รามคำแหง
136. ธีรภูมิ ผานัด นักศึกษา ซุ้มเหมราช-ม.รามคำแหง
137. วรวุธ ขุนภักดี นักศึกษา ม.รามคำแหง
138. ธัชพงศ์ แกดำ ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อสังคมนิยมประชาธิปไตย(YPD)
139. อภิสิทธิ์ ทรัพย์นภาพันธ์ ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อสังคมนิยมประชาธิปไตย(YPD)
140. ปัญจศักดิ์ บุญงาม ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อสังคมนิยมประชาธิปไตย(YPD)
รายชื่อองค์กรที่ร่วมสนับสนุนให้ชุมชนป้อมมหากาฬ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต
1. กลุ่มนักศึกษาเพื่อประชาชน (นพช.)
2. กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย
3. ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย (WeMove)
4. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)
5. คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)
6. คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย
7. เครือข่ายคนรุ่นใหม่กลุ่มลุ่มน้ำโขงศึกษา จังหวัดขอนแก่น
8. เครือข่ายพลเมืองคนรุ่นใหม่ : NGC จังหวัดขอนแก่น
9. โครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำและกลไกการนำนโยบายเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะกลุ่มแรงงานนอกระบบสู่การปฏิบัติระดับจังหวัด
10. ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
11. มูลนิธิพิทักษ์สตรีและเด็ก
12. มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ
13. มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์
14. มูลนิธิผู้หญิง
15. มูลนิธิบูรณะนิเวศ
16. มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม
17. มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว
18. มูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน
19. ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อสังคมนิยมประชาธิปไตย (YPD)
20. ศูนย์เพื่อนหญิงอำนาจเจริญ
21. ศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็นธรรม วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
22. ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
23. สภาเครือข่ายผู้ป่วยจากการทำงานแห่งประเทศไทย
24. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)
25. สมาคมวิถีทางเลือกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (SADA)
26. สมาคมเครือข่ายแรงงานนอกระบบประเทศไทย
27. สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
28. สถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.)
29. สถาบันส่งเสริมภาคประชาสังคม
30. สมัชชาคนจน
31. สมัชชาคนจน กรณีเขื่อนปากมูล
32. สโมสรนักศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต