8 ข้อเด่น และ ข้อด้อย พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย

ตุ๊กตา

8 ข้อเด่น และ ข้อด้อย(1)

พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554

โดย บัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ

ข้อเด่น  ข้อด้อย
   (1) การบังคับใช้

ให้กิจการราชการ หรือ กิจการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง จัดให้มีมาตรฐานในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยฯในการทำงานหน่วยงานของตนไม่ต่ำกว่ามาตรฐานตามพระราชบัญญัตินี้

คือ ครอบคลุมถึงข้าราชการและลูกจ้างในหน่วยราชการ และกิจการอื่นที่อาจกำหนดขึ้นอีก โดยกระทรวงแรงงานไม่มีอำนาจควบคุม-กำกับตรวจสอบหน่วยงานราชการต่างๆได้ เพียงแต่ให้คำปรึกษาแนะนำ

  (1) ปัญหาเชิงโครงสร้างการบริหารจัดการ

ยังมุ่งเน้นการดำเนินงานแบบราชการและคณะกรรมการไตรภาคีแบบเดิม โดยมีนโยบายจะยกระดับหน่วยงานเป็นกรมความปลอดภัยในการทำงาน ในอนาคตแต่ขาดบูรณาการของหลายหน่วยราชการที่เหลื่อมซ้อนเกี่ยวพันกันอยู่เพื่อให้ทำงานเป็นเอกภาพ และมีประสิทธิภาพ

  (2) คำนิยาม

นายจ้างและลูกจ้างมีความหมายกว้างขวางกว่ากฎหมายอื่น กล่าวคือความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน” หมายถึงการกระทำหรือสภาพการทำงานที่ปลอดจากเหตุจะทำให้เกิดประสบอันอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพเนื่องจากการทำงาน หรือเกี่ยวกับการทำงาน

“ลูกจ้าง” หมายถึง ลูกจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และ ผู้ได้รับความยินยอมให้ทำงาน หรือทำประโยชน์ให้แก่ หรือในสถานประกอบการของนายจ้าง

    “นายจ้าง” หมายถึง นายจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และผู้ประกอบกิจการที่ยอมให้บุคคลใดมาทำงาน หรือทำผลประโยชน์แก่หรือให้สถานประกอบการ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับกระบวนการผลิตหรือธุรกิจของผู้ประกอบการนั้นหรือไม่

(2) กำหนดหน้าที่ลูกจ้างมากกว่าสิทธิ ลูกจ้างเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น

ไม่มีสิทธิปฏิเสธการทำงาน กรณีที่ต้องทำงานในสภาพเสี่ยงภัยอันจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายและสุขภาพได้

ไม่มีสิทธิร่วม คัดเลือก หรือถอดถอน หรือควบคุมการทำงานของจป.ได้

     เพราะถือว่าจป.เป็นลูกจ้างที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจัดจ้างตามกฎหมาย  ขณะที่ลูกจ้างถือว่าจป.เป็นตำแหน่งสำคัญที่ต้องมีความรู้ความสามารถและความรับผิดชอบสูงในการดูแลความปลอดภัยฯของคนงาน และสถานประกอบการ นายจ้างจึงไม่ควรมีอำนาจแต่งตั้งและควบคุมการทำงานของจป.ได้ฝ่ายเดียวเท่านั้น

  (3) กำหนดให้มี “พนักงานตรวจความปลอดภัย” และ “กองทุนความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน” และ “สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน” ภายใต้กำกับดูแลของรมต.เป็นครั้งแรก     (3) พระราชบัญญัติความปลอดภัยฯกำหนดให้อำนาจรัฐมนตรี หรืออธิบดีตราอนุบัญญัติ หรือ กฎหมายลำดับรองจำนวนมาก โดยไม่มีเงื่อนไขระยะเวลาและการมีส่วนร่วมเสนอแนะ-ตรวจสอบขององค์กรฝ่ายแรงงาน และองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้อง
  (4) กำหนดหน้าที่ลูกจ้าง ให้ความร่วมมือมือกับนายจ้างในการดำเนินกิจการส่งเสริมด้านความปลอดภัยฯ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยฯแก่ลูกจ้าง และสถานประกอบการ เช่น

●ลูกจ้างมีหน้าที่สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล และ ดูแลรักษาอุปกรณ์ให้ใช้งานได้

กรณีไม่สวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าว นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดทำงานนั้นได้

แจ้งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.) หรือ หัวหน้างาน หรือผู้บริการ ถ้าลูกจ้างทราบถึงอันตรายที่ตนเองไม่สามารถแก้ไขข้อบกพร่อง – สิ่งชำรุดได้

    (4) ไม่มีแนวคิดใหม่ในการบริหารเชิงรุกเพื่อป้องกัน-ส่งเสริมความปลอดภัยฯในการทำงาน เช่น

●โครงการจัดตั้ง หรือขยายสถานประกอบการ หรือโรงงาน ต้องมีการออกแบบเสนอแผนการป้องกันอันตรายจากการทำงานให้รัฐพิจารณาไปพร้อมกัน

● ยังไม่มีการควบรวม-เชื่อมโยงหน่วยงานรัฐให้อยู่ในระบบจัดการความปลอดภัยฯ เช่น สำนักความปลอดภัยแรงงาน (กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน) กับสำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย (กรมโรงงานอุตสาหกรรม) และสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม (กรมควบคุมโรค)

     (5) ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมบริการของบุคคลอื่นเพื่อลดภาระและข้อจำกัดของพนักงานเจ้าหน้าที่

● กำหนดให้มีมาตรฐานของผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัยฯ หรือบุคคล หรือ นิติบุคคล ที่ประสงค์จะให้บริการ ตรวจความปลอดภัย หรือรับรองรายงานการตรวจวัดสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ การประเมินทดสอบการสัมผัสสารเคมี และความเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมในการทำงาน การให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อส่งเสริมความปลอดภัย ฯลฯ

     (5) ฝ่ายลูกจ้างไม่มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในกระบวนการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยฯ เช่น

ไม่มีตัวแทนคปอ. หรือฝ่ายสหภาพแรงงานมีส่วนร่วมตรวจความปลอดภัยในพื้นที่การทำงาน เพราะพนักงานเจ้าหน้าที่รัฐ หรือผู้ชำนาญการอาจมีผลประโยชน์ได้เสียกับนายจ้างได้ หรือไม่รู้ข้อเท็จจริงเท่ากับคนทำงานที่เสี่ยงภัยอยู่ตลอด

● คณะกรรมการไตรภาคีด้านความปลอดภัยฯระดับชาติ ให้ความสำคัญกับผู้แทนสภาองค์การลูกจ้าง-สภาองค์การนายจ้าง และการเลือกตั้งโดยผู้แทนองค์การโดยไม่สมดุลกับองค์กรอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

    (6) กำหนดหน้าที่นายจ้างเข้มข้นกว่าเดิมเพื่อประโยชน์ในการควบคุม กำกับดำเนินการด้านความปลอดภัยฯ เช่น

● จัดให้มี จป. บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคล (คปอ.) เพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยฯ และฝึกอบรม

● ให้นายจ้างแจ้งลูกจ้างทราบถึงอันตรายต่อร่างกาย ชีวิต จิตใจ หรือสุขภาพอนามัยที่จะเกิดขึ้นจากการทำงาน และแจกคู่มือปฏิบัติงานให้ลูกจ้างเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน หรือเปลี่ยนสถานที่ทำงานหรือเปลี่ยนเครื่องจักรอุปกรณ์

● ให้นายจ้างแจ้ง หรือปิดประกาศ คำเตือน คำสั่ง หรือคำวินิจฉัยของพนักงานตรวจความปลอดภัยในที่ที่เห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบการเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง

กรณีลูกจ้างเสียชีวิต นายจ้างแจ้งต่อพนักงานตรวจความปลอดภัยทันทีที่ทราบ โดยมีรายละเอียดพอสมควร และสาเหตุเป็นหนังสือภายใน 7 วันนับแต่ที่ลูกจ้างตายหรือลูกจ้างประสบอันตรายตามกฎหมายเงินทดแทน เมื่อนายจ้างแจ้งต่อสปส.แล้ว ให้ส่งสำเนาหนังสือแจ้งพนักงานตรวจความปลอดภัยภายใน 7 วันนับแต่วันเกิดเหตุ

    (6) สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (สสปท.) มีหน้าที่จำกัด

คือส่งเสริม สนับสนุน ประสานงาน รณรงค์ และพัฒนาการศึกษาวิจัยด้านความปลอดภัยฯ

    แต่ไม่มีอำนาจ รับข้อร้องเรียนความปลอดภัย เพื่อร่วมกับเจ้าหน้าที่ตรวจความปลอดภัยฯป้องกัน-แก้ไขปัญหา และไม่มีส่วนร่วมบริหารกองทุนเงินทดแทน และกองทุนส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

นอกจากนี้ การบริหารสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ คงเป็นไปอย่างโดดเดี่ยวอ่อนแอมาก เพราะขาดการสนับสนุนงบประมาณและบุคลากรจากรัฐอย่างชัดเจน เพราะกฎหมายมาตรา 52 ไม่กำหนดให้รัฐบาลกองทุนเงินทดแทน และกองทุนส่งเสริมความปลอดภัยฯต้องสนับสนุนสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องเท่าไร อย่างไรด้วย? เช่น

ไม่กำหนดว่า ผู้บริหารสถานบันส่งเสริมความปลอดภัยฯต้องมีความรู้ ความสามารถอะไร อย่างไร?

    (7) คณะทำงานความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เป็นคณะกรรมการไตรภาคีที่มีผู้แทนฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายลูกจ้าง และฝ่ายราชการ ฝ่ายละ 8 คน ซึ่งมีจำนวนมากกว่าทุกคณะไตรภาคี โดยการแต่งตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างเป็นไปตามรัฐมนตรีประกาศกำหนด และต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของทั้งหญิงและชาย       (7) การคุ้มครองลูกจ้างที่มีหน้าที่รับผิดชอบ หรือ สนับสนุนการดำเนินงานด้านความปลอดภัยฯยังไม่เข้มแข็งเพียงพอ เช่น

ม.42 –ห้ามนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง หรือโยกย้ายหน้าที่การงานเพราะเหตุที่ฟ้องร้อง หรือเป็นพยาน หรือให้หลักฐานข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยฯ

เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นกรณีลดตำแหน่งหน้าที่ หรือสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับการทำงานหรือ พักงานและจ่ายค่าจ้าง หรือโยกย้ายสถานที่ทำงาน ก็ไม่เข้าข่ายกฎหมาย

นอกจากนี้ควรคุ้มครองถึงกรณีลูกจ้างดำเนินการร้องเรียนต่อทุกหน่วยงานด้วย

 (8) กำหนดบทลงโทษลูกจ้างที่ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ความปลอดภัยฯในการทำงาน (ปรับไม่เกิน 2 แสน หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ) เช่น

● กรณีสถานที่ใดมีสถานประกอบการหลายแห่ง นายจ้างทุกรายในสถานที่นั้นมีหน้าที่ร่วมกันดำเนินการ และลูกจ้างที่ทำงานในสถานประกอบการเดียวกัน หรือสถานประกอบการอื่นที่ไม่ใช่ของนายจ้าง ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ความปลอดภัยฯในสถานประกอบการนั้น (ม.60)

● ลูกจ้าง ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจความปลอดภัย หรือ ไม่อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานความปลอดภัย (ม.64 , ม.65)

     (8) บทกำหนดโทษของทุกกฎหมายแรงงาน รวมทั้งกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานยังใช้รูปแบบเดิมๆ คือ

●ระหว่างโทษจำคุกไม่เกิน กี่เดือน หรือปรับไม่เกิน กี่บาทหรือทั้งจำทั้งปรับแต่ไม่มีอัตราโทษขั้นต่ำ ไม่ว่าโทษจำคุก หรือโทษปรับ (หมวด 8 บทกำหนดโทษ)

●กรณีนายจ้างปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานตรวจความปลอดภัยภายในระยะเวลาที่กำหนดการดำเนินคดีอาญาต่อนายจ้าง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นอันระงับไป (ม.43)

กรณีการฝ่าฝืน หรือละเมิดกฎหมายความปลอดภัยฯ ในการทำงาน ควรจะมีอัตราโทษขั้นต่ำ ที่เหมาะสม เพราะเป็นเรื่องความปลอดภัยฯที่กระทบต่อชีวิต ร่างกายและสุขภาพลูกจ้างจำนวนมากได้

ไม่ควรปล่อยให้เป็นดุจพินิจเสรีของเจ้าหน้าที่รัฐ และควรมีโทษแบบอื่นที่อาจมีประสิทธิภาพกว่าเดิม เช่น การเพิกถอน สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร หรือเงื่อนไขส่งเสริมการลงทุน หรือระงับการดำเนินกิจการชั่วคราว

(1) ปรับปรุงจากเอกสารประกอบการเสวนา เรื่อง “พ.ร.บ.ความปลอดภัยฉบับใหม่ ผู้ใช้แรงงานได้รับความปลอดภัยจริงหรือ?” โดยคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ร่วมกับสภาเครือข่ายผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย กลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ และมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย,วันที่ 10 พฤษภาคม 2559 ณ ห้องประชุมพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย