กระบวนการยุติธรรมด้านแรงงานกับแรงงานข้ามชาติ

คลินิกกฎหมายด้านแรงงาน (31)  กระบวนการยุติธรรมด้านแรงงานกับแรงงานข้ามชาติ ชฤทธิ์ มีสิทธิ์ (06/2565)   เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2565 ผู้เขียนมีโอกาสได้ร่วมนำเสนอข้อมูลและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นปัญหาทางคดีแรงงานของแรงงานข้ามชาติ ซึ่งเป็นกิจกรรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาเครือข่ายอาสาสมัครด้านแรงงานข้ามชาติและครอบครัว จัดโดยภาคีเครือข่ายองค์กรที่ดำเนินงานเกี่ยวกับสิทธิแรงงานข้ามชาติ ที่จังหวัดเชียงใหม่ เห็นว่ามีหลายเรื่องหลายราวที่เกี่ยวกับการการคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติ อันจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจหรือผู้ปฏิบัติงานในเรื่องดังกล่าว ประเด็นแรก : แรงงานข้ามชาติอาจมีนายจ้างได้หลายรายและอาจเป็นการจ้างในระบบเหมาช่วง                    เป็นเรื่องปกติที่แรงงานข้ามชาติทำงานกับนายจ้างคนใด หรือบริษัทใด ก็จะเข้าใจว่าบุคคลนั้นหรือบริษัทนั้นเป็นนายจ้างของตน เพราะแรงงานมาสมัครทำงานกับบุคคลดังกล่าว แต่เนื่องจากในกรณีการจ้างแรงงานข้ามชาติทำงาน กฎหมายของไทยมีกฎ กติกาเกี่ยวกับการจ้างงาน เช่น ขออนุญาตใช้แรงงานข้ามชาติ ขอใบอนุญาตทำงาน เป็นต้น  ส่วนสถานประกอบการ หรือโรงงานอาจเป็นของนายจ้าง หรืออาจเช่าบุคคลอื่นก็ได้ อย่างไรก็ตาม  หากนายจ้างรายแรกตกลงกับลูกจ้าง  เพื่อโอนลูกจ้างไปให้นายจ้างรายใหม่ ซึ่งกฎหมายก็กำหนดไว้แล้ว ให้นายจ้างรายใหม่รับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ ที่นายจ้างและลูกจ้างเดิมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อกัน เมื่อตกลงกันแล้ว และนายจ้างใหม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมายและตามที่ตกลงกันแล้ว พันธะของนายจ้างเดิมก็สิ้นสุดทันที ลูกจ้างเดิมก็จะมีนายจ้างรายใหม่เป็นนายจ้าง โดยนับอายุงานต่อเนื่อง สวัสดิการต่าง ๆ โอนมาทั้งหมด แต่ระเบียบวินัย กฎต่างๆที่ใช้อยู่เดิมก็โอนมาด้วย อีกประการหนึ่ง อาจเป็นกรณีนายจ้างเดิมประสบปัญหาในการประกอบธุรกิจ เช่น มีปัญหาเกี่ยวคำสั่งซื้อ […]

แรงงานปริทัศน์ ฉบับที่ 405 เดือนมิถุนายน 2564

แรงงานปริทัศน์ออนไลน์ฉบับที่ 58 (405) ประจำเดือนมิถุนายน 2564 ครบรอบ 41 การจากไปของอารมณ์ พงศ์พงัน อดีตผู้นำแรงงานและปัญญาชนของขบวนการแรงงานไทย ซึ่งจากไปเมื่อ 21 มิถุนายน 2523 แรงงานปริทัศน์ฉบับนี้จึงได้นำสนอบทความเรื่อง “กรรมกร” ที่เขียนโดยอารมณ์ พงศ์พงัน เพื่อเป็นการรำลึกถึงบทบาทของอดีตผู้นำแรงงานที่มีความโดดเด่นท่านนี้

ILO เผยหลักฐานใหม่ พบแรงงานในภาคประมงและอาหารทะเล สภาพการทำงานที่ดีขึ้น แต่ยังคงมีการละเมิดปรากฏอยู่

ILO เสนอข้อค้นพบงานวิจัยเกี่ยวกับแรงงานภาคประมงและอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลในประเทศไทย แม้ว่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม กรณีการละเมิดยังคงปรากฎอยู่ รวมถึงลักษณะการละเมิดร้ายแรง อาทิ การทำงานโดยไม่สมัครใจและการบังคับข่มขู่

คลินิกกฎหมายด้านแรงงาน (16) “แรงงานข้ามชาติสิทธิขั้นพื้นฐาน ค่าจ้างขั้นต่ำ ห้องน้ำสะอาด ความปลอดภัยในการทำงาน การคุ้มครองที่ไม่เป็นจริง”

“แรงงานข้ามชาติในฐานะคนทำงาน สิทธิขั้นพื้นฐาน ค่าจ้างขั้นต่ำ ห้องน้ำสะอาด ความปลอดภัยในการทำงาน การคุ้มครองที่ไม่เป็นจริง”

ร้องศาลให้ไต่สวนการจับกุมและควบคุมแรงงานข้ามชาติไม่ชอบด้วยกฎหมาย

แถลงการณ์ “ศาลจังหวัดปัตตานี ยกคำร้องกรณีแรงงานข้ามชาติ ชาวเมียนมา ขอให้มีการไต่สวน การจับกุมและควบคุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย : ความจริงที่ยังไม่ได้ถูกค้นหาโดยกระบวนการยุติธรรม”

1 2