กระบวนการยุติธรรมด้านแรงงานกับแรงงานข้ามชาติ

คลินิกกฎหมายด้านแรงงาน (31)  กระบวนการยุติธรรมด้านแรงงานกับแรงงานข้ามชาติ ชฤทธิ์ มีสิทธิ์ (06/2565)   เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2565 ผู้เขียนมีโอกาสได้ร่วมนำเสนอข้อมูลและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นปัญหาทางคดีแรงงานของแรงงานข้ามชาติ ซึ่งเป็นกิจกรรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาเครือข่ายอาสาสมัครด้านแรงงานข้ามชาติและครอบครัว จัดโดยภาคีเครือข่ายองค์กรที่ดำเนินงานเกี่ยวกับสิทธิแรงงานข้ามชาติ ที่จังหวัดเชียงใหม่ เห็นว่ามีหลายเรื่องหลายราวที่เกี่ยวกับการการคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติ อันจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจหรือผู้ปฏิบัติงานในเรื่องดังกล่าว ประเด็นแรก : แรงงานข้ามชาติอาจมีนายจ้างได้หลายรายและอาจเป็นการจ้างในระบบเหมาช่วง                    เป็นเรื่องปกติที่แรงงานข้ามชาติทำงานกับนายจ้างคนใด หรือบริษัทใด ก็จะเข้าใจว่าบุคคลนั้นหรือบริษัทนั้นเป็นนายจ้างของตน เพราะแรงงานมาสมัครทำงานกับบุคคลดังกล่าว แต่เนื่องจากในกรณีการจ้างแรงงานข้ามชาติทำงาน กฎหมายของไทยมีกฎ กติกาเกี่ยวกับการจ้างงาน เช่น ขออนุญาตใช้แรงงานข้ามชาติ ขอใบอนุญาตทำงาน เป็นต้น  ส่วนสถานประกอบการ หรือโรงงานอาจเป็นของนายจ้าง หรืออาจเช่าบุคคลอื่นก็ได้ อย่างไรก็ตาม  หากนายจ้างรายแรกตกลงกับลูกจ้าง  เพื่อโอนลูกจ้างไปให้นายจ้างรายใหม่ ซึ่งกฎหมายก็กำหนดไว้แล้ว ให้นายจ้างรายใหม่รับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ ที่นายจ้างและลูกจ้างเดิมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อกัน เมื่อตกลงกันแล้ว และนายจ้างใหม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมายและตามที่ตกลงกันแล้ว พันธะของนายจ้างเดิมก็สิ้นสุดทันที ลูกจ้างเดิมก็จะมีนายจ้างรายใหม่เป็นนายจ้าง โดยนับอายุงานต่อเนื่อง สวัสดิการต่าง ๆ โอนมาทั้งหมด แต่ระเบียบวินัย กฎต่างๆที่ใช้อยู่เดิมก็โอนมาด้วย อีกประการหนึ่ง อาจเป็นกรณีนายจ้างเดิมประสบปัญหาในการประกอบธุรกิจ เช่น มีปัญหาเกี่ยวคำสั่งซื้อ […]

แรงงานปริทัศน์ ฉบับที่ 408 เดือนพฤศจิกายน 2564

แรงงานปริทัศน์ออนไลน์ ฉบับฉบับที่ 61 (408) ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564 ยังคงเนื้อหา บทความ ความเคลื่อนไหวทางด้านแรงงานสากลถึงปี ค.ศ.1919 : “อารมณ์ พงศ์พงัน”
บทความ อนาคตการเมืองของขบวนการแรงงานไทย : ในมุมมอง “แรงงานกับการเมืองและสังคมประชาธิปไตย : ทฤษฎีและพรรค” (ตอนที่ 1) โดย อาจารย์โชคชัย สุทธาเวศ และรายงานพิเศษเรื่อง แรงงานแพลตฟอร์ม : เส้นทางสู่การจัดตั้งและสถานภาพทางกฎหมาย และสถานการณ์และข้อเสนอ : การบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติหลังเปิดประเทศ ฉบับนี้มี สถิติการประกันสังคม ผู้มีงานทำ และผู้ว่างงาน เดือน ตุลาคม 2564 รวมถึงข่าวสารสถานการณ์แรงงาน เช่นเดิม

แรงงานปริทัศน์ ฉบับที่ 379 เดือนกุมภาพันธ์ 2562

แรงงานปริทัศน์ออนไลน์ฉบับที่ 379 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2562 การรณรงค์เคลื่อนไหวเพื่อสิทธิของแรงงานข้ามชาติ โครงการพัฒนาและขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อสุขภาวะแรงงานข้ามชาติ การประกาศใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ซึ่งเป็นฉบับที่ 7 พ.ศ. 2561 รายละเอียดของกฎหมายฉบับนี้เป็นอย่างไร?