สภาแรงงานยานยนต์ เสนอหม่อมเต่าแก้ปัญหาแรงงานยานยนต์

ผู้นำแรงงานยานยนต์ เสนอหม่อมเต่ามองปัญหา การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีกระทบแรงงาน เสนอแก้ปัญหา เพิ่มทักษะ คุ้มครองการเลิกจ้าง สร้างความยุติธรรม

เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2562 สภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย ร่วมกับองค์กรสมาชิก นำโดยนายมานิตย์ พรหมการย์กุล ประธานสภาฯ ได้เข้าพบ หม่อมราชวงศ์จตุมงคล โสณกุล (หม่อมเต่า) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อแสดงความยินดีและหารือปัญหาด้านแรงงาน โดย นายมานิตย์ พรหมการีย์กุล กล่าวว่า ได้ยื่นหนังสือ เพื่อให้ทางรัฐมนตรีแก้ไขปัญหา และร่วมกันหาทางออก ดังนี้

  1. ให้รัฐบาลโดยกระทรวงแรงงานมี แผนรองรับผลกระทบการเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้าต่อแรงงานใน อุตสาหกรรมยานยนต์ และที่เกี่ยวเนื่องหรือไม่

1.1 ให้ตั้งศูนย์พัฒนาฝีมือให้แรงงานกลุ่มต่างๆในทุกๆภาคเพิ่มทักษะอาชีพใหม่บริหารจัดการ อย่างมืออาชีพและงานใหม่ที่จะเกิดตามทิศทางตลาดและเศรษฐกิจใหม่ในยุค 4.0 เช่น AI ดิจิตอล อาชีพเสริมอื่นๆ

1.2 ให้ความคุ้มครองในเรื่องการเลิกจ้างเงินชดเชยให้เป็นธรรมมากกว่า มาตรา 118 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2562 และให้ความช่วยเหลือพนักงานที่โดนเลิกจ้างให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรม

1.3 ตั้งกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างที่โดนเลิกจ้างจากการเปลี่ยนผ่านพลัง งานเป็นรถยนต์ไฟฟ้า

เหตุผล : เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้ าใชชิ้นส่วนลดลงอยางมากจาก 30,000 ชิ้นเหลือเพียง 1,500 – 3,000 ชิ้นผู้ผลิตชิ้นส่วนมีความเสี่ยงจะได้รับผลกระทบ ได้แก่ ผู้ผลิตชิ้นส่วนเครื่องยนต์ท่อไอเสีย หม้อน้ำ ถังน้ำมันมีจำนวน 816 แห่ง 328,400 คน คิดเป็น ร้อยละ 37 จะลดลงจากจำนวน ลูกจ้างกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ 700,000 คน

1.4 ให้ตั้งคณะกรรมการว่าด้วยการเจริญเติบโตการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจและการจ้างงาน ประสานความร่วมมือเพื่อติดตามคุ้มครองดูแลปัญหาลูกจ้างที่มีผลกระทบกบการเปลี่ยนผ่าน พลังงานไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า

โดย คณะกรรมการ ประกอบด้วย ตัวแทนนายจ้างลูกจ้างภาครัฐโดย กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

  1. ให้รัฐบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 11/1อย่างเคร่งครัด

เหตุผล : ปัจจุบันยังเลือกปฏิบัติระหว่างพนักงานประจำกับพนักงานชั่วคราวในปัจจุบันมีการจ้างงานหลายรูปแบบทำให้ลูกจ้างขาดความมันคงในการทำงานอันจะมีผลกระทบการดำรงชีพต่อตนเอง ครอบครัวและสังคม

  1. ให้รัฐบาลควบคุมสินค้าอุปโภค บริโภคให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและสังคม ไม่ให้สูงมากเกินไปจนกระทั่ง ผลกระทบเป็นภาระต่อลูกจ้างระดับฐานราก และให้มีโครงการขายสินค้าราคาถูกให้กับคนงานโดยมีการบริการขายสินค้าไปตามโรงงานต่างๆ เพื่อให้สินค้าอุปโภคบริโภคถึงมือลูกจ้างจริงๆ
  2. การปรับค่าจ้างขั้นต่ำอัตโนมัติอย่างต่อเนื่องตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจเท่ากันทั่วประเทศ และปรับค่าจ้างจากรายวันเป็นรายเดือนเมื่อทำงานครบ 1 ปี และนับอายุงานอย่างต่อเนื่อง

เหตุผล: ปัจจุบันมีการจ้างงานหลายรูปแบบการจ้างเป็นโครงการมีระยะเวลาที่แน่นอน เช่น สัญญาจ้าง11 เดือน เลิกจ้างถ้าต้องการทำงานต่อต้องมาเซ็นต์สัญญาข้อตกลงการจ้างงานใหม่ไปเรื่อยๆ ไม่มีการบรรจุเป็นพนักงานประจำ ทำให้ลูกจ้างขาดความมันคงในอาชีพการงานและไม่ได้รับสวัสดิการต่างๆ

  1. ให้เร่งรัดนำร่างพระราชบัญญัติประกันสังคมฉบับแก้ไข พ.ศ. …. เข้าสู่การพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเสนอเป็นกฎหมายใหม่ผลบังคับใช้เป็นประโยชน์กับผู้ประกันตน

นายมานิตย์ ยังกล่าวอีกว่าตอนนี้สถานการณ์แรงงานในกิจการยานยนต์ มีทั้งการเลิกจ้าง และการเปิดให้มีการสมัครใจลาออก ซึ่งมีทั้งการเตรียมพร้อมระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเพื่อหาทางออกร่วมกัน เรื่องการพัฒนาตนเองเพื่อรองรับการออกจากงาน หรือการเปลี่ยนผ่านสู่งานใหม่ๆ แต่ก้มีมีแรงงานบางกลุ่มที่ถูกให้ออกจากงานโดยไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจ แม้ว่าจะได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายแต่ว่าไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตในอนาคต จึงอยากให้ทางกระทรวงแรงงานดูแลและร่วมกันหาทางออกตรงนี้ ซึ่งทางรัฐมนตรีเองก็รับปากจะดูแลและหาทางแก้ไขร่วมกัน

        นักสื่อสารแรงงาน รายงาน