“งานที่มีคุณค่า –แรงงานข้ามชาติ และคนงานแพลตฟอร์ม”

สรุปการสัมมนานำเสนองานวิจัยแรงงาน “งานที่มีคุณค่า –แรงงานข้ามชาติ และคนงานแพลตฟอร์ม” วันที่ 28 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ  จัดโดยศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียรศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเศรษฐกิจ และแรงงานที่เป็นธรรม และมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท

คุณเวสน่า โรดิช ผู้อำนวยการมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES) กล่าวว่า แรงงานข้ามชาติมีการย้ายถิ่นเพื่อที่จะไปหาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีการเข้าไปทำงานในประเทศต่างๆ  ซึ่งในประเทศเยอรมนีเองก็มีแรงงานอพยพเข้ามาทำงานในประเทศจำนวนมาก ซึ่งได้มีการดูแลด้านสิทธิเท่าเทียมกันและมีแนวคิดว่า ประเทศต่างๆที่เป็นประเทศปลายทางที่แรงงานไปทำงานจะมีการดูแลเขาอย่างไรบ้าง การทำงานวิจัยเพื่อให้มีการพัฒนาข้อเสนอมา และแรงงานย้ายถิ่นที่จะได้รับสิทธิและการดูแลที่ดี โดยร่วมกับสถาบันเอเชียรศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกการจ้างงานกรณีแพลตฟอร์ม การสนับสนุนให้เกิดการดูแลสิทธิสวัสดิการแรงงาน ด้านคุณภาพชีวิตอนามัย  มีการส่งเสริมให้แรงงานมีการรวมตัวกันอย่างเสรี และมีการพูดคุยกันแล้วว่า ในส่วนของสหภาพแรงงานที่จะให้มีผู้แทนแรงงานข้ามชาติ หนึ่งในห้า ในสหภาพแรงงาน

ผศ.ดร นฤมล ทับจุมพล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย กล่าวว่า ด้วยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ความสำคัญกับการย้ายถิ่นของแรงงานในเอเชีย  การย้ายถิ่นของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยมีถึง 3 ล้านคน ตัวเลขของเอเชียก็มี 10 กว่าล้านคนเป็นแรงงานที่เคลื่อนย้ายไปมา และรัฐบาลไทยก็มีนโยบายที่ต้องการแรงงานอย่างมาก และมีกฎหมายในการดูแลดีพอสมควร เราไม่มีปัญหาด้านการเคลื่อนย้ายทุน แต่พอมาถึงกรณีของคนก็มีการย้ายถิ่นนั้นค้อนข้างมีปัญหามาก งานวันนี้จึงมีความสำคัญ เพื่อกำหนดให้รัฐบาลได้คิดไปข้างหน้าเพื่อกำหนดเป็นมาตรการ เราก็อยากได้สังคมที่เป็นธรรมสำหรับทุกคน ทั้งคนไทย และคนข้ามชาติ งานวิจัยจะต้อง ตอบโจทย์ด้วย และอยากบอกว่า สถาบันฯให้น้ำหนักกับภาคี และความรู้นั้นมาจากพื้นที่ และมาจากทุกส่วน การวิจัยต้องมาจากทุกสาขา ต้องวิจัยข้ามกลุ่ม

ดร.ดารุณีไพศาลพาณิชย์กุล  ศูนย์วิจัยและพัฒนากฎหมาย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้นำเสนอรายงานโครงการวิจัยสถานการณ์การเข้าถึงสุขภาพ และสวัสดิการของแรงงานข้ามชาติในจังหวัดเชียงใหม่ (ภาคกิจการก่อสร้าง)ว่า พื้นที่เป้าหมาย เป็นแรงงานหญิง และชาย จากภาคสนาม หากถามว่า แรงงานข้ามชาติมาจากไหน ที่ค้นพบที่มาจากประเทศเมียนมาร์ มีทั้งที่มีเอกสารและไม่มีเอกสาร แต่จากการที่ไปทำข้อมูลในหกลุ่มนี้ก็พบว่า เป็นคนที่มีเอกสารที่เกี่ยวข้อง และค่าใช้จ่าย 1,000 ถึง 20,000 บาทมากกว่าที่รัฐกำหนดไว้ แรงงานมาจากที่ใดบ้างในประเทศเมียนมาร์ พบว่า มาจากเมืองต่างๆคละกันไป การทำงานของเขาจะทำตามที่สั่งของนายจ้าง หัวหน้างาน แต่ก็มีบ้างที่ที่เป็นแรงงานฝีมือ และผู้ชายได้ค่าจ้างที่สูงกว่าผู้หญิง การทำงาน พบว่า ทำงานกับนายจ้างส่วนใหญ่ 5 ปี หรือมากว่า 5 ปีก็มีจำนวนมาก มีกรณีการไม่ได้ปรับเงินเดือน เพราะว่า นายจ้างมองว่า ได้ค่าจ้างที่สูง และเพียงพอแล้ว ส่วนที่ได้ปรับขึ้นเงินเดือนก็เพราะนายจ้างมองว่าทักษะการทำงานสูงขึ้น หรือปรับขึ้นตามที่รัฐประกาศปรับขึ้นค่าจ้าง ส่วนที่ผู้ชายได้ค่าจ้างที่สูงกว่าผู้หญิงด้วยว่า ทำงานได้มากกว่า ทำงานหนักกว่า และสามารถขึ้นทำงานบนที่สูงได้ และรับได้กับการทำงานที่มีกลิ่นสี  กรณีผู้หญิงทำงานหนักไม่ได้ ขึ้นที่สูงไม่ได้

ด้านที่พัก กับห้องน้ำที่นายจ้างต้องจัดให้ กรณีห้องน้ำของแรงงานไม่มี แรงงานจะขอใช้ในพื้นที่บ้านคนที่ไปทำงาน และบ้านพักไม่ค่อยสะอาดถูกหลักอนามัย ระบบสุขภาพก็มีการซื้อบัตรสุขภาพ โดยการใช้บริการโรงพยายบาลนครพิงค์ โรงพยาบาลประจำจังหวัดเชียงใหม่ และ คนงานยังอยู่ต่างพื้นที่การรักษา และโรคที่เป็นคือความดันสูง ท่อปัสสาวะอักเสบ ฯลฯ

ด้านอุปกรณ์ป้องกันเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน ภาคก่อสร้างมีความเป็นอันตรายจากการทำงานอย่างมาก และไม่มีการอบรมเรื่องการทำงาน การสอนงาน หรือวิธีการป้องกันด้านความปลอดภัย เป็นการเรียนรู้เอาเอง ว่า ต้องทำงานอย่างไรใช้อุปกรณ์ใดบ้าง และพบว่าส่วนใหญ่ไม่มีอุปกรณ์ หรืออุปกรณ์ด้านความปลอดภัยไม่ค่อยมี บางส่วนนายจ้างจัดให้ ส่วนที่ไม่ได้จัดให้คนงานต้องซื้อเอง ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ไม่มีคุณภาพ จากการลงพื้นที่ทำข้อมูลพบปัญหาอุบัติเหตุเกิดกับแรงงานก่อสร้างข้ามชาติถึง 25 คน ทั้งเหยียบตะปู ค้อนตกใส่หัว ตกที่สูง ของหล่นใส่ หกล้ม ฯลฯ มีการซื้อประกันเงินทดแทนเอง และนายจ้างบางรายเข้ามาดูแลบางส่วน แต่เป็นส่วนน้อย ส่วนที่ไม่ซื้อกองทุนเงินทดแทนด้วยแรงงานมองว่า เป็นการบาดเจ็บเล็กน้อย เดี๋ยวก็หาย นอกจากที่นายจ้างไม่มีอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยใน บางรายที่มีอุปกรณืให้ แต่ปัญหาการที่ลูกจ้างเองก็ไม่อยากที่จะใช้อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย โดยมองว่าอุปกรณ์เป็นอุปสรรค์ต่อการทำงาน ทำให้ทำงานไม่สะดวกรวดเร็วเกะกะ หมวกทำให้มองไม่เห็น แว่นบังสายตา ปิดจมูกหายใจไม่ออกเป็นต้น แต่ส่วนใหญ่จะใช้อุปกรณ์หากเข้าใจว่าใช้แล้วเกิดความปลอดภัยในการทำงาน ดูได้จากมีแรงงานบางส่วนไปหาซื้ออุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยเอง ตามตลาดนัดด้วยราคาถูกทั้ง หมวก ผ้าปิดจมูก ถุงมือ รองเท้ายาง ซึ่งบางมากไม่สามารถที่จะทำให้เกิดความปลอดภัยได้

แผนความเสี่ยงในการทำงานของผู้หญิงที่ประเมิน คือมีปัญหาทางสายตาที่ทำงานกลางแจ้งเกี่ยวกับแสง การปวดท้องจากการยกของหนัก ปวดนิ้ว ความเครียด และปวดหัว ปราสาทหูเสื่อม เป็นต้น สิ่งที่เขาบอกว่ารู้สึกถึงอันตราย คือ ฝุ่นปูน การทำงานที่มีเสียงดัง การทำงานผสมสี สายตาที่ทำงานกลางแจ้ง ต้องทำงานกับงานเชื่อมเหล็ก และอีกกรณีที่คิดว่าทำงานเสี่ยงก็ออกมาว่า มีทั้งการทำงานภายในอาคาร และนอกอาคาร มีอุบัติเหตุจากของมีคมการสูดดมฝุ่นปูน กลิ่นสีต่างๆ การทำงานภายในมีการเหยียบตะปู การใช้กาวยาแนว และเศษวัสดุต่างๆที่กระเด็นเข้าตา โดยแรงงานมองว่า ไม่เป็นอุบัติเหตุ ด้านสุขภาพเขามองซึ่งการเกิดอุบัติเหตุเป็นเพราะเขาไม่ระวัง หรือระวังไม่เพียงพอจึงเกิดอุบัติเหตุ

จากการเก็บข้อมูลความเสี่ยงที่พบนั้นทางภาครัฐมีการเก็บหรือไม่ สำนักงานกิองทุนเงินทดแทนได้มีการเก็บข้อมูล โรคที่เกิดจากการทำงาน จำนวน 5 โรค โดยข้อมูลปรากฎนับจากปี 2554-2558 มีการบันทึกเพิ่มขึ้นอีก 1 โรคในปี 2556  คือโรคอื่นๆซึ่งพิสูจน์ได้ว่า เกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงาน หรือเนื่องจากการทำงาน และเพ่อมอีกโรคในปี 2560 คือโรคหูตึงจากเสียง รวมเป็น 7 โรค แม้ว่า ภาคก่อสร้างมีความเสี่ยงสูงสุดแต่ตัวเลขเกี่ยวกับโรคจากการทำงานที่พบจากข้อมูลของภาครัฐน้อยมาก มีเรื่องที่ทำให้ลูกจ้างประสบอันตราย มีวัตถุของตกใส่ สูงสุด บาดเจ็บที่ตา มือ เท้า และหัวเข่า  18 ประประเภทกิจการ ก่อสร้างอยู่ใน 10 อันดับตลอด และ5 ประเทศไทยมาเป็นอันดับหนึ่ง

การเก็บตัวเลขการบาดเจ็บหรือป่วยจากการทำงาน โรคจากแสง สี เสียง และสารเคมีทางชีวภาพ และโรคอื่นๆ และโรคจากเสียงในการทำงาน โดยหากป่วยเนื่องจากการทำงาน ก็มีการหยุดไม่เกิน 3 วัน หรือ ราว 3 วันหากป่วยจากการทำงาน จึงจะนับเป็นสถิติ ตัวเลข เชิงปริมาณ จากการเจ็บป่วยจากการทำงาน แรงงานที่ไม่ได้อยู่ในสถิติก็เนื่องจากมองว่าไม่ใช่โรคจากการทำงาน หรือว่ากลัวตกงาน นายจ้างกลัวถูกปรับ และมีแรงงานบางส่วนที่มองว่า ตัวเองไม่ระวังตัว หรือมองว่าเจ็บเพียงเล็กน้อย หายาทานเอง หรือทายาเดียวก็หาย นายจ้างไม่มีการส่งไปโรงพยาบาล มีประเด็นแรงงานที่เสียชีวิต ด้วยอุปกรณ์ก่อสร้างหล่นทับร่างกาย แต่ไม่ถือว่าเสียชีวิตจากการทำงาน ด้วยแพทย์ระบุว่าบาดเจ็บที่ทรวงอกรุนแรงจนเสียชีวิต ทำให้แรงงานไม่ได้รับสิทธิ หากจะเข้าถึงสิทธิต้องมีการพิสูจน์และใช้เวลานาน ทำให้สถิติไม่มีข้อมูลเป็นต้น กรณีดังกล่าวถึงเป็นกรณีตัวอย่างที่มีการกล่าวถึง

ข้อเสนอต่ก กระทรวงแรงงาน กำหนดเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน มีกำหนดกฎหกระทรวงจำนวนมาก และในการดูแลมีมาตรฐาน มีผู้ตรวจ มีสถาบันส่งเสริม หากดูตามกฎหมายค้อนข้างดี และพนักงานตรวจสามารถออกคำสั่งให้ทำได้ ให้นายจ้างมีการจัดอุปกรณ์ป้องกันดูแลด้านความปลอดภัยได้ และภายใต้การให้สัตยาบัน 187 ก็มีการกำหนดการดูแล และปี 2559 ก็มีการประกาศเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน และอาชีวอนามัยเป็นวาระแห่งชาติ

จากนโยบายต่างๆก็ได้มีการไปสอบถามเจ้าหน้าที่รัฐก็พบว่า คนมีน้อย งบน้อย มีเจ้าหน้าที่มีเพียง 5 คน การตรวจตามการร้องขอของแรงงาน และการตรวจโรงงาน ตรวจด้านความปลอดภัย ซึ่งยังมีงานอีกมาก และแรงงานก่อสร้างส่วนใหญ่แจ้งว่า ไม่เคยเห็นพนักงานตรวจ เข้ามาตรวจเลย ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ก็บอกว่า ต้องการที่จะมีการตั้งเจ้าหน้าที่แบบนี้โดยตรง และแรงงานข้ามชาติต้องเข้าใจภาษา นายจ้างต้องจัดอุปกรณ์ส่วนแรงงานก็มองว่า นายจ้างควรมีการตรวจสอบด้านความปลอดภัย และมีการจัดอุปกรณ์ให้ โดยพนักงานตรวจต้องไปตรวจสอบเพื่อให้นายจ้างจัดให้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพให้ด้วย โดยผู้วิจัยมองว่า แรงงานข้ามชาติในกิจการก่อสร้างส่วนใหญ่ยังห่างไกลจากคำว่า “งานที่มีคุณค่า” ที่พบ คือเป็นแรงงานที่กำลังเปลี่ยนผ่านด้านกฎหมาย มีการขึ้นทะเบียนใหม่ และแรงงานมีหลายประเภทในช่วงนั้นที่เข้าไปเก็บข้อมูล จากที่พบว่านายจ้างไม่จัดอุปกรณ์ และค่าจ้างยังต่ำ แรงงานข้ามชาติทำงานในอาชีพที่ต้องห้าม ด้วยแรงงานก่อสร้างเป็นแรงงานที่ต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวทำ เช่น งานช่างฝีมือ งานชาบ งานก่ออิฐ แต่ด้วยเจ้าหน้าที่รัฐมีไม่เพียงพอจึงไม่มีการตรวจสอบเรื่องงานต้องห้ามที่ไม่ให้แรงงานข้ามชาติทำ ซึ่งคิดว่าควรมีการปรับใหม่เพื่องานที่มีคุณค่าเท่ากัน สามารถก้าวหน้าในงานที่ทำได้ หากวันหนึ่งจากงานไร้ฝีมือมาเป็นงานที่มีฝีมือ เป็นต้น

ข้อมูลการประสบอันตรายไม่ได้มีการเปิดเผยมาก และไม่ได้มีการเปิดข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ การยอมรับแรงงานข้ามชาติภาคก่อสร้าง การดำเนินการในเชิงปกป้อง คือต้องมีกลไกที่เข้ามาตรวจสอบ ระบบการแจ้งเตีอน ภาษาสำหรับแรงงาน ระบบติดตามในการแจ้งเตือนเพื่อให้ตรวจสอบอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และจะทำอย่างไร ให้มีฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

จากการที่ไปสัมภาษณ์อ.วรวิทย์ เจริญเลิศ ต้องการให้มีการทบทวนสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยในการทำงานใหม่เพื่อให้มีความเป็นอิสระ ครบวงจรมากขึ้น

ต่อมาเป็น ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการยกระดับการเข้าถึงสุขภาพและบริการ ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทรงพันธ์ ตันตระกูล คณะมนุษศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คุณบุญสม ทาวิจิตร ประธานสหภาพแรงงานกิจการวัสดุก่อสร้าง กล่าวว่า การทำงานกับแรงงานข้ามชาติ เวลาที่ได้เข้าไปพบกับแรงงานข้ามชาติก็พบปัญหาเรื่องความไม่ปลอดภัยจากการทำงานจำนวนมาก และเกิดขึ้นบ่อยมาก โดยเบื่องต้นกฎหมายคุ้มครองแรงงานไม่มีความแตกต่างจากกฎหมายปกติเลย คุ้มครองดูแลแบบเดียวกับในสถานประกอบการ แต่แรงงานก่อสร้างไม่ได้มีสถานประกอบการ เขาจะอยู่บนถนน บนสะพาน บนอาคาร ในอุโมงค์ เป็นต้น ไม่ได้ทำงานในอาคารมีรั่วรอบขอบชิด การทำงานทำอยู่กับปั่นจั่น แบกอิฐ หิน ปูน ซึ่งเสี่ยงที่จะพบอุบัติเหตุ จะเห็นจากข่าวปั่นจั่นล้ม หรือขาด อีกอันคือการทำงานกันบนเครนที่สูง ซึ่งต้องมีวิศวกรคอยดูแล แต่ก็ยังมีปัญหาความไม่ปลอดภัยในการทำงาน

แรงงานข้ามชาติยังทำงานเกี่ยวกับอาคาร แสง สี และเสียง จึงมีปัญหาด้านการได้ยิน หู จมูก หรือปอด การทำงานก่อสร้างของแรงงานข้ามชาติ เมื่อประสบอุบัติเหตุ บริษัทขนาดใหญ่ไม่ได้รับผิดชอบใดๆด้วยเป็นลูกจ้างรับเหมาของบริษัทรับเหมา ซึ่งมีการจ้างเป็นทอดๆกันมา ซึ่งจริงแล้ว การจัดการของบริษัทใหญ่ในการดูแลต้องมี การทำงานของแรงงานก่อสร้างต้องมี เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป.)  แต่ไม่มีด้วยลูกจ้างบริษัทรับเหมามีเพียง 49 คนไม่ถึง 50 คน กฎหมายว่าไม่ต้องมี จป. ไม่ต้องมีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวิอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) มาทำหน้าที่ ด้วยเป็นบริษัทขนาดเล็ก ซึ่งเมื่อไม่มีก็ต้องมีการแจ้งให้พนักงานตรวจแรงงานมาดูแลตรวจสอบ หากมีจป. หรือคปอ. ก็สามารถที่จะมีการแจ้งตรวจสอบเสนอปรับปรุงเรื่องความปลอดภัยในกรทำงานได้ เมื่อไม่มีนายจ้างมีการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามกฎหมาย ส่งผลต่อความไม่ปลอดภัยในการทำงาน

อีกหนึ่งปัญหา คือ การเข้าไม่ถึงสิทธิของแรงงานข้ามชาติ ด้วยว่า สถานพยาบาลมีการปฏิเสธการรักษาพยาบาล และทำให้ไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาล แพทย์ไม่ชี้เรื่องการบาดเจ็บจากการทำงาน ซึ่งยังมีเรื่องการป่วยจากการทำงาน ที่เป็นภูมิแพ้ เป็นโรคผิวหนัง การทำงานเป็นผื่นคันความร้อนที่ตากแดดทั้งวัน การทำงานตลอดเวลา แต่ไม่ได้งานล่วงเวลา ด้วยการทำงานตลอดเวลาทำให้การพักผ่อนไม่เพียงพอนำไปสู่การบาดเจ็บอุบัติเหตุจากการทำงาน หรือเกิดโรคจากการทำงานได้จากการสะสมจากความเสี่ยงเป็นเวลานานๆ ด้วยโรคจากการทำงานจะใช้เวลานานกว่าจะป่วยไม่เหมือนกับการประสบอุบัติเหตุที่เห็นชัด อย่างนิ้วขาด แขนขาด ขาขาด เสียชีวิตเลย จึงมีตัวเลขบาดเจ็บ และตายชัดเจนกว่าการเจ็บป่วยจากการทำงาน

คำถามทำไมแรงงานต้องอยู่แคมป์ที่พักเป็นสังกะสี ที่ร้อนอบอ้าวมากทั้งวัน ที่อยู่กลางแดด ทำให้มีปัญหาด้านสุขภาพ สุขอนามัยด้วย

การที่แรงงานรับเหมาก็เป็นปัญหาด้วยเป็นการจ้างแบบเหมางาน เช่นการรื้ออาคาร ก็มีผลกระทบด้านสุขภาพ และความปลอดภัยในการทำงาน ด้วยการก่อสร้างในประเทศไทยยังมีการใช้แร่ใยหินซึ่งเป็นการทำให้เกิดปัญหาสุขภาพก่อมะเร็ง หากมีการสะสมในร่างกายจำนวนมากจนออกอาการป่วย

 

คุณบัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ นักกฎหมายแรงงาน กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับว่าใครองค์กรอะไรที่เก็บข้อมูล และวิธีการเก็บข้อมูลจะนำมา ซึ่งตัวเลขนั้นน่าเชื่อถือหรือไม่ การนำเสนอข้อมูลจะเห็นว่า ค่อนข้างสูง แต่ต่ำกว่าปกติเพราะว่า การที่แรงงานมาใช้สิทธิเงินทดแทน จะมีการตรวจสอบว่า มีความเป็นจริงหรือไม่ ข้อมูลคือคนที่มีรับการรักษา และมีการมารับเงินทดแทนเท่านั้น และต้องผ่านการตรวจสอบประเมินแล้ว การวินิจฉัยต้องให้แพทย์กองทุนทดแทนเป็นผู้วินิจฉัย มีคณะกรรมการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หากไม่ผ่านก็ตีว่าไม่ได้ป่วยจากการทำงาน ก็ไม่ได้มีตัวเลขเจ็บป่วยจากการทำงานปรากฏเป็นสถิติ การเจ็บป่วยจากงานเข้าถึงสิทธิยากกว่าการบาดเจ็บจากการทำงาน การบาดเจ็บเล็กน้อย หากไม่มีการขอเบิกจากกองทุนทดแทน และหากบริษัทมีห้องพยาบาลก็จะดูแลได้ไม่ต้องเข้าไปสู่สถานพยาบาล และบางที่ก็ไปใช้หลักประกันสุขภาพ หรือบริษัททประกันภัยที่บริษัทซื้อให้ลูกจ้างได้ใช้ เป็นต้น ก็ไม่มีตัวเลขสถิติบาดเจ็บจากงาน

ด้วยเป็นการเก็บ ข้อมูลที่เชียงใหม่ แต่ไม่มีรายงานตัวเลขโดยตรง และมีการใช้แรงงานข้ามชาติ ในการฝึกงานแรงงานข้ามชาติ และทำไมจึงซื้อหลักประกันสุขภาพที่โรงบาลใด ก็อยู่ว่าโรงพยาบาลไหนที่เปิดให้มีการขายบัตรประกันสุขภาพให้กับแรงงานข้ามชาติ และมีการประกาศเก็บเงินล่วงหน้า เนื่องจากแรงงานข้ามชาติอยู่ได้คราวละ 2 ปี เพื่อความมั่นคงของกองทุนอีกด้วย

ผศ.ดร นฤมล ทับจุมพล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย กล่าวว่า กฎหมายไทย คิดภายใต้มองเพียงแรงงานไทย มีการมองเรื่องระบบสุขภาพ เป็นเรื่องสิทธิสุขภาพ เรื่องอุบัติเหตุ การรักษา การเข้าถึงกฎหมาย และแรงงานข้ามชาติไม่ได้มารอสิทธิด้านสุขภาพผ่านกฎหมายไทย เขาจึงเลือกที่จะซื้อบัตรประกันสุขภาพ การที่ต้องมาเครมสิทธิก็เป็นปัญหาว่า สิทธินั้นอาจทำให้ต้องตกงาน เพราะใช้เวลานานในการเข้าถึงสิทธิ และหากแรงงานข้ามชาติไม่มีนายจ้างก็ต้องออกจากประเทศไทยไป เขาก็ไม่ได้รับสิทธิอยู่ดี เพราะไม่มีคนที่จะเดินเรื่องให้ เมื่อเขาออกนอกประเทศไปแล้ว หากเก็บข้อมูลเพียงก่อสร้างแรงงานข้ามชาติเมียนม่า แล้วแรงงานข้ามชาติกัมพูชา อาจพบปัญหาใหม่เรื่องภาษาที่ทำให้เขาเข้าไม่ถึงสิทธิด้วยเช่นกัน ส่วนแรงงานข้ามชาติที่เป็นลาวเขาสื่อสารกับคนไทยรู้เรื่องจึงไม่ได้กังวลปัญหาตรงนี้

อาชีพสงวนในประเทศไทย ตนมองว่า ไม่มีจริงอยู่แล้ว ไม่ว่าจะตัดผม หรือโชว์ห่วย งานวิจัยต้องเขียนให้เห็นให้ได้ด้วยคนมีการพัฒนาอาชีพของแรงงาน หากทำงานก่อสร้างอาจพัฒนาไปเป็นหัวหน้างาน หรืออื่นๆมากขึ้น งานวิจัยอาจเพิ่มกว่านี้ด้วยสัดส่วนการรวมตัวของแรงงานข้ามชาติการเข้าไปเป็นส่วนหนึงของสหภาพแรงงานรูปแบบอย่างนี้ จะมีหรือไม่ ด้วยอาชีพอื่นเขาทำได้ แล้วก่อสร้างจะทำได้หรือไม่

แรงงานก่อสร้างมากับการพัฒนาเศรษฐกิจ และแรงงานก่อสร้างมองว่า เป็นแรงงานไร้ฝีมือ ซึ่งจริงๆคงไม่ใช่แล้ว ด้วยมีการใช้แรงงานในหลายระดับในก่อสร้างย่อมมีแรงงานที่มีฝีมืออยู่ในการจ้างงานนั้นด้วย และกิจการอื่นๆที่เข้ามามีบทบาทอย่างงานประมงเป็นต้น จะทำอย่างไรให้ก่อสร้างมามีบทบาทในอนาคตด้วย

คุณอนันต์ บวรเนาวรักษ์ ผู้ตรวจราชการกรม กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า กฎหมายความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ปี 2554 ออกมาบังคับใช้ แต่ว่ากฎหมายลูกยังออกไม่ครบ คือ ต้องมีถึง 9 ฉบับ กฎกระทรวงเกี่ยวกับการก่อสร้างตอนนี้ออกจากกฤาฎีกาแล้ว รอประกาศใช้ งานวิจัยพื้นที่ก่อสร้างค้อนข้างเล็ก การก่อสร้างหากใหญ่จะดูแลกันคนละแบบ กรณีที่ภูเก็ตที่อาคารถล่มทับแรงงานเสียชีวิต แรงงานไทยกับไม่ได้รับการดูแลด้วยไม่ได้อยู่ในกฎหมายประกันสังคม กองทุนเงินทดแทน แต่ว่าแรงงานข้ามชาติอยู่ในการดูแลของกฎหมาย และได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ซึ่งน่าสนใจทำไมคนไทยไม่เข้าสู่ระบบการคุ้มครองของกฎหมายแรงงาน กองทุนเงินทดแทน

ประเด็นจังหวัดเชียงใหม่ กรณีเจ้าหน้าที่ตรวจความปลอดภัย และเจ้าหน้าที่ตรวจแรงงานมีแค่ 5 คนอย่างที่ว่าการปฏิบัติหน้าที่อยู่ด้วยในบุคคลคนๆเดียวกัน และงานก่อสร้างเป็นการใช้แรงงานชั่วคราวจำนวนมาก การที่จะไล่ตามตรวจก็ย้ายงานไปแล้ว และที่พักอาศัยก็ไม่มีการดูแลโดยตรงแต่ก็พยาบยามที่จะมีการดูแลปรับปรุงให้เขามีที่พักที่ดีพอสมควร เรื่องการปรับปรุงกฎหมาย ตอนนี้โทษด้านความปลอดภัยปรับหนักมากปรับไม่เกิน 4 แสนบาทจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ หากนายจ้างไม่ดูแล และไม่มีการต่อรองทางกฎหมาย มีการลงโทษทางกฎหมายเต็ม อย่างกรณีจังหวัดภูเก็ต จะมีการบังคับใช้กฎหมายสูงพอสมควรเลยที่เดียว

คุณสุพัตรา สุขประเสริฐ เจ้าหน้าที่ประกันสังคม กล่าวว่า การประสบอันตรายของคนทำงานก่อสร้างก็ค่อนข้างสูงเนื่องจากมีงานก่อสร้างจำนวนมาก สถานประกอบการปี 2562 เชียงใหม่ ที่ฝาง ประสบอันตราย ทั้งประเทศที่แจ้ง 72,000 กว่ารายที่เก็บข้อมูล ที่เชียงใหม่ 1,900 กว่าราย ฝาง 17 ราย และมีตายด้วย และเป็นการประสบอันตรายทั้งหมดหรือไม่ก็เป็นตัวเลข แยกเป็นกิจการ รายจังหวัดและสาเหตุด้วย ซึ่งทั่วประเทศมี 131 กิจการ ก่อสร้างมีระหัสเดียว ก่อสร้างเป็น 0.2 เปอร์เซ็นต์ที่เก็บ และมีการแบ่งก่อสร้างรหัสใหม่ เป็น 22 รหัส การก่อสร้างแต่ละอย่างจะมีการเก็บตามความเสี่ยงแล้ว ก่อสร้างที่อยู่อาศัย อุโมงค์ สะพาน การเรื้อถอนก่อสร้างจะมีการแยกการจัดเก็บ ทั้งประเทศ มีการแจ้งเข้ามา 8 หมื่นกว่ารายที่แจ้งเข้ามา ตาย 100 กว่าราย ซึ่งมองว่า การป้องกันดีกว่าเยียวยา ซึ่งสำนักงานประกันสังคมเป็นการดูแล เรื่องบาดเจ็บจากการทำงานไปที่กองทุนเงินทดแทน เจ็บป่วย หรือบาดเจ็บที่ไม่ใช่จากงานก็ไปที่ประกันสังคม เวลาเกิดเหตุเข้ามาประกันสังคมจะดูแลและฟื้นฟูด้วย หากลูกจ้างเกิดประสบอันตรายก็ต้องมีการดูแลและฟื้นฟู มีการเข้าระบบดูแลไม่ว่าจะเป็นแรงงานไทย หรือข้ามชาติจะดูแลแบบเท่าเทียมกัน แต่ละปี ประกันสังคมให้สถิติแยกตามโรค และประเภทที่เกิดขึ้น เรื่องอื่นๆที่ทำตอนนี้มีการเปลี่ยนรอยต่อของประเภทกิจการ เดี๋ยวนี้โครงการใหญ่จะมีการซับคอนแทรคมาก หากบริษัทรับเหมาไม่รับผิดชอบบริษัทใหญ่ที่เป็นบริษัทแม่ต้องรับผิดชอบ การเลิกจ้าง หรือลาออก ลูกจ้าง สามารถที่จะแจ้งเหตุได้เพื่อการเก็บสถิติได้ และขอรับสิทธิได้ใน 100 วัน และการป่วยจากการทำงานการสะสมโรคมันใช้เวลาในการป่วยอย่างแร่ใยหินที่มีการเจ็บป่วยใช้เวลา ซึ่งบางโรคก็ใช้เวลาสะสมอาการป่วยเนื่องจากปอดจากการทำงานก็มาแจ้งได้แม้ว่าจะออกจากงานไปแล้ว

ช่วงที่สอง นำเสนอผลการวิจัย เรื่อง งานแพลตฟอร์มในประเทศไทย – คนงานส่งอาหาร

โดย ดร. เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร สถาบันเศรษฐกิจและแรงงานที่เป็นธรรม กล่าวว่า รายงาน รูปแบบงานใหม่ของคนงาน ในอุตสาหกรรมส่งอาหารเดิมมีผู้ชายตอนนี้เริ่มมีผ้หญิงเข้ามาทำงานมากขึ้น และประเด็นสำคัญ ที่ได้รับความรู้ส่งต่อมาจากงานวิจัยชุดแรกคือแรงงานที่อยู่นี้เป็นแรงงากลุ่มใหญ่ แต่ต่างจากอเมริกา ในยุโรป บทบาทการส่งอาหาร และการส่งสินค้า และอีกบทเป็นการสั่งการ

วัตถุประสงค์การศึกษา เพื่อสร้างความเข้าใจที่เป็นระบบเกี่ยวกับการทำงานรูปแบบใหม่ และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของงาน ลักษณะการทำงาน และความสัมพันธ์ระหว่างงานกับคนงาน ซึ่งการจ้างงานรูปแบบใหม่มีลักษณะเป็นอย่างไร ความสัมพันธ์เป็นอย่างไร

จากการศึกษาธุรกิจอาหารก็จะเห็นความสัมพันธ์ของความเป็นเมือง และคนที่ทำงานในเมืองไม่ได้มีฐานะดีอะไร และยังพึ่งพาอาหารราคาถูก และเกี่ยวกับการส่งอาหาร ซึ่งก็ไม่สามารถที่จะแกะคนงานที่ส่งอาหารกับการส่งคน หรือส่งของแยกจากกันได้

หัวใจสำคัญของรายงาน คือ ผู้บริโภคมีบทบาทในการสั่งคน ซึ่งเป็นการบริโภคที่เหลื่อมล้ำ การเก็บข้อมูลมีทั้งมีคุณภาพ และจำนวน คนที่ทำงานอยู่ก็จะรู้ว่า ข้อมูลที่มีเกี่ยวกับเศรษฐกิจแพลตฟอร์มมีเท่าไร เราไม่รู้ว่าGrabมีเท่าไร แต่ละที่มีมีคนทำงานเท่าไร ด้วยคนหนึ่งคนอาจมีการทำงานในหลายที่ก็ได้ ซึ่งคนทำงานนี้หรือคนส่งอาหาร เรียกว่าไรเดอร์ และมีการสัมภาษณ์คนที่ส่งอาหารที่คาบเกี่ยวกับขนส่ง และสัมภาษณ์ประธานสหภาพแรงงานที่ทำงานเกี่ยวกับธุรกิจอาหารด้วย

การทำรายงานนี้มาใช้นั้น มองว่าคนงานที่อยู่ในแพลตฟอร์มคือ นายจ้างของลูกจ้างจริง โดยมองในรูปแบบนายหน้าคนงาน การมองรูปแพลตฟอร์มเป็นการจับคู่คนที่ต้องการซื้ออาหาร และคนที่ทำงานขนส่งอาหาร แพลตฟอร์มทำงานในการเสนอขายแรงงานให้กับคนที่ต้องการใช้แรงงาน เพื่อส่งอาหาร

ข้อค้นพบคือ การเติบโตของแรงงานแพลตฟอร์มจะพลิกกรณีการจ้างแรงงานนอกระบบ ที่ถูกทำให้ไปสู่นอกระบบใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และ สิ่งที่ค้นพบ มีกล่าวถึงการสร้างอุปทานส่วนเกิน และการเปลี่ยนการเรียกคนทำงาน ไรเดอร์ เป็นหุ้นส่วน และการทำงานของคนที่อยู่ในแพลตฟอร์ม หรือไรเดอร์จะต้องมีการสั่งอาหาร การรับอาหาร และการส่งอาหาร เมื่ออยู่ไปอีกสักระยะก็จะทราบว่านายจ้างคือใคร และเป็นการนำเทคโนโลยีมาจัดการ การทำงาน และการสร้างระบอบการทำงาน มีการสร้างภาพลักษณ์ให้กับคนทำงาน และทำให้พาสเนอร์ (ไรเดอร์)เห็นว่า เป็นภาพลักษณ์ที่ดี และเข้ามาทำงานด้วย และเรื่องของการรับคำสั่งโดยไม่ทราบว่า จะไปส่งที่ไหน หากปฏิเสธก็มีคนอื่นมารับส่งของแทน และหากไม่รับไม่รู้ว่างานจะมาอีกเมื่อไร จะมีงานอีกไหม หากคนสั่งของเห็นว่าล่าช้าก็สามารถยกเลิกคำสั่ง ระหว่างที่ไรเดอร์เองต้องไปต่อคิวเพื่อสั่งสินค้าอยู่ เมื่อยกเลิกคนที่แบกรับความเสี่ยงคือไรเดอร์ ซึ่งมีกรณีดราม่าประเด็นคนสั่งสินค้าฝากให้ไรเดอร์ซื้อของ ซึ่งเป็นทางเดียวกัน แต่ตรงนี้ไรเดอร์ไม่สามารถซื้อให้ได้ เนื่องจากต้องสั่งผ่านระบบ แต่ก็เป็นกระแสทางโซเซียล เป็นระบบที่ควบคุมอยู่

อัตลักษณ์การทำงานจนไม่ทราบว่า ใครคือนายจ้าง คนสั่งของ หรือว่า แอพพลิเครชั่น และงานที่ซ่อนอยู่คือการแบกรับภาระงานการบริหารความเสี่ยงที่แฝงไว้จำนวนมาก และนี่คืองานของวันนี้ไม่ใช่งานอนาคต เป็นการเอาความเสี่ยง และความไม่แน่นอน ความเสี่ยงไม่รู้ว่า จะมีงาน มีออเดอร์ มีลูกค้าหรือไม่ ฝนจะตก หรือว่ามีแดดออก ต้องทำงาน ความเครียด และความตึงเครียดว่า จบงานนี้จะมีงานอีกไหม ต้องแบกรับความเสี่ยงเวลาการทำงาน รายได้ตลอด ค่าใช้จ่าย น้ำมันรถ ค่าสึกหรอของรถ อุบัติเหตุ โดยสุดท้ายเรื่องการรวมกลุ่ม ทั้งการรับผิดชอบความเยง ภาระงาน ทำให้มีการรวมกลุ่มกันแบบไม่เป็นทางการ เรียกว่ากลุ่มสันทนาการ เพื่อการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และการรวมกลุ่มแบบนี้ จะไปสู่การรวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มอำนาจต่อรองได้อย่างไร และเขาจะเข้าไปสู่กลุ่มแรงงานสัมพันธ์ในการต่อรองแบบมีระบบอย่างไร?

 

คุณวรดุลย์ ตุลารักษ์ นักวิชาการ กล่าวว่า การบริโภคมีความเหลื่อมล้ำมาในส่วนเมืองกับชนบท จังหวัดที่บริโภคสูงสุดคือ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ และบริโภคต่ำสุด คือ ลำพูน แพลตฟอร์มต่างจากบริษัท คือ ทุกคนมาปลั๊กอินได้ ซึ่งการทำงานบนแพลตฟอร์ม ทำให้มีการรับแรงงานไม่จำกัดจำนวนได้ อย่างในสหรัฐก็มีการเขียนว่า ส่วนนี้เป็นแรงงานส่วนเกินมารวมกัน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานพาร์ทไทม์ หรือนักศึกษา ซึ่งประเทศไทย เขาคือ แรงงานนอกระบบ รายได้คนทำงานอาชีพนี้เดือนละ 6 หมื่นบาท จากเดิมทำงานเดือนละ 1.8 หมื่นบาทจากงานประจำ การมาเป็นคนส่งอาหารเป็นการทำงานงานประจำ ที่ไม่ใช่งานประจำ เป็นงานสัญญาจ้าง และไม่มีอำนาจต่อรองกับนายจ้าง ซึ่งการเซ็นสัญญาทุกเดือนก็ไม่ทำ มองว่ามาทำงานแบบนี้ดีกว่า การที่ไม่มีการรวมกลุ่มตัวแทนในการต่อรอง ทำให้การเอาเปรียบมากขึ้น และปัญหาในทางสถิติการเก็บข้อมูลแรงงานในระบบกับนอกระบบเป็นการผลักเขาออกไปสู่แรงงานนอกระบบ อีกด้วย

การที่ทำงานต้องใช้แอพพลิเคชั่นในการทำงาน ระดับธุรกิจจะสอนให้พนักงานกลัวว่า ธุรกิจล้มละลาย ยิ่งมุมมองของความเป็นหุ้นส่วนหรือพาร์ทเนอร์ในธุรกิจทำให้เชื่อว่าต้องช่วยกันทำให้ธุรกิจเจริญรุ่งเรือง หากย้อนเรื่องพื้นฐานการจ้างงานที่ไม่มั่นคง ซึ่งแรงงานปริทัศน์เคยมีการบันทึกข่าวสารการเรียกร้องเรื่องการจ้างงานที่มีระยะเวลา การจ้างงานระยะสั้น ซึ่งการจ้างงานที่ไม่มั่นคงเป็นความไม่มั่นคงในการมีงานทำ และที่ประเทสเนเธอแลนด์ ก็มีการรณรงค์โดยสภาแรงงานฯ เพื่อให้เกิดการจ้างงานที่มั่นคง

ตอนนี้นายทุนบอกว่าการมาทำงานร่วมกัน บอกว่าทำให้แรงงานที่เป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ และสุดท้ายแม้แพลตฟอร์มจะเปลี่ยนไปเป็นรูปแบบใด ลูกจ้างก็ไม่ได้เป็นพาร์ทเนอร์ยังคงเป็นลูกจ้าง เป็นพนักงาน ที่บริษัทดิลิเวอรีมีการฟ้องร้องนายจ้างศาลตัดสินว่าพนักงานอยู่ เพราะมีลักษณะการรับคำสั่งจากนายจ้าง ซึ่งคนทำงานปัจจุบันทำงานมากกว่า 10 ชั่วโมง จากเดิมที่มีการรณรงค์ในการทำงาน 8 ชั่วโมง และระหว่างการทำการวิจัยโครงการนี้ ก็มีการปิดกิจการของบริษัทแพลตฟอร์ม 2 บริษัทแล้ว

ปัญหาด้านสุขภาพความปลอดภัย ซึ่งได้พบกับผู้ที่ได้เกิดอุบัติเหตุแล้ว ที่ประเทศเกาหลี สั่งพิซซ่ากินต้องร้อนอยู่ ซึ่งคนทำงานที่เป็นนักศึกษาเยาวชนเกิดอุบัติเหตุเสียชีวิต เนื่องจากรีบไปส่งพิซซ่าเพื่อให้ถือมือลูกค้าขณะยังร้อนให้ได้ และตอนนี้มีการรณรงค์เรื่องความปลอดภัย ก็มีเยาวชนเสียชีวิตอีกคน จึงมีการเดินรณรงค์ไปยังร้านค้า และมีการยกเลิกการส่งไปแล้ว หากกลับมาดูประเทศไทยการเก็บสถิติอุบัติเหตุอาจต้องมีการเก็บเรื่องอาชีพ และอายุด้วยเพื่อให้ทราบถึงกรณีอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นด้วยว่ามาจากอาชีพใดบ้าง เพื่อให้เห็นถึงการทำงานของคนส่งอาหารว่าประสบอุบัติเหตุมากน้อยแค่ไหน และอยากให้มีพื้นที่ในการล้างหน้าล้างตาคนทำงานบ้าง เพื่อการพักผ่อน ช่วงเวลาการทำงานของพนักงานส่งอาหาร

ประเด็นเรื่องสุขภาพความปลอดภัย ถือเป็นประเด็นที่นำไปสู่การรวมกลุ่มกันก็ได้ ไม่ว่า จะเป็นแรงงานในเหมืองแร่ และในไทยก็อย่างกรณีไฟไหมโรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ ส่งผลให้คนงานเคเดอร์เสียชีวิต และมีการเรียกร้องให้มีการดูแลคุ้มครองด้านความปลอดภัยในการทำงาน เป็นต้น

ช่วงข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการส่งเสริมพัฒนาและคุ้มครองคนงานแพลตฟอร์ม ดำเนินรายการโดย คุณอรพิน ลิลิตวิศิษฐ์วงศ์ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

คุณต้น คนทำงานส่งอาหารผ่านแอพพิเครชั่น กล่าวว่า งานตรงนี้เราคิดว่าเป็นงานอิสระ และสามารถเลือกเวลาทำงานได้ เราจะทำงานตอนไหนก็เปิดแอพพิลเคชั่นเพื่อรับงานได้ เป็นงานที่สร้างรายได้ให้มากทีเดียว ปัญหาที่เกิดกักบพวกเราคือ การเดินทางไปรับงาน เช่นร้านอาหารที่ลูกค้าสั่งผ่านระบบแอพพิเครชั่น ให้เราต้องไปรับของบางทีอยู่ไกลมาก เมื่อลูกจ้างเร่งก็ต้องรีบในการไปรับอาหารให้ได้ บางทีเข้าคิวสั่งอาหารอยู่ หากช้ามากลูกค้ากดยกเลิกการสั่งอาหาร เวลาที่เสียไปของพวกเราใครจะรับผิดชอบ เป็นค่าใช้จ่ายที่เสียไปแบบไม่มีรายได้กลับมาหากถูกยกเลิกคำสั่ง แต่เนื่องจากว่าการที่เราทำงานพาร์ทไทม์ทำให้ไม่ได้สนใจเรื่องการจ้างงานหรือไม่เนื่องจากมีงานประจำมีระบบประกันสังคมอยู่แล้ว แต่ปัญหาคือคนทำงานรับส่งอาหารหรือไรเดอร์ที่อยู่ด้วยกันจำนวนมากที่ทำงานมีอาชีพตรงนี้ไม่มีระบบดูแลเขาเลย ซึ่งมีการโยงว่าเราเป็นแรงงานที่ต้องได้รับการดูมีกฎหมายคุ้มครอง แต่นักกฎหมายบางคนให้คำแนะนำว่า มีลักษณะสัญญาการจ้างทำของเมื่อได้เงินค่าจ้างถือว่า จบแล้วในการจ้างงาน ซึ่งหากมามองถึงลักษณะงานที่ทำ หากพวกเราไม่กดรับงานขณะที่ออนไลน์อยู่ บริษัทถือว่าเท่ากับปฏิเสธงาน และบริษัทอาจไม่มีงานส่งเข้ามาให้เราอีก หรือหากมีลูกค้าคอมเมนประเมินการส่งของกลับไปแบบไม่ดี ทางบริษัทอาจไม่มีงานให้พวกเราอีกเช่นกัน

ประเด็นที่ว่ามีการเสนอให้รวมกลุ่มกันนั้น คิดว่ายากเนื่องจากทุกคนต้องทำงานแข่งกับเวลา ต้องหารายได้ และหากรวมกลุ่มกันก็อาจตกงานได้ง่ายๆ เสี่ยงต่อการที่นายจ้างจะปิดแอพพลิเคชั่นของพวกเราทำให้ไม่มีงานไม่มีรายได้ตรงก็เป็นข้อกังวลมาก ด้วยอาชีพหายรายได้  ตอนนี้บริษัทยังมีการปล่อยกู้เงินหรือให้มีการผ่อนของด้วย การที่ออกมานำเสนอเรื่องราวอาชีพของพวกเราวันนี้ แค่ต้องการให้เกิดความคุ้มครองด้านอุบัติเหตุให้กับคนทำงานตรงนี้ เนื่องจากมีเพื่อนในกลุ่มเกิดอุบัติเหตุเสียชีวิตระหว่างที่จะไปรับของส่งลูกค้า แต่บริษัทไม่ได้ให้ความรับผิดชอบใดนอกจากส่งพวงหรีดแสดงความเสียใจไปเท่านั้น พวกเราก็พยายามช่วยกัน แต่คำถามเราทำงานให้กับเขา แต่เขาไม่ให้ความดูแลอะไรเลย ไม่มีระบบใดเข้ามาดูแล การเกิดอุบิตเหตุตรงนี้ซึ่งมีความเสี่ยงมากเพราะทุกคนต้องรีบเร่งไปรับของ และส่งของให้ถึงมือลูกค้าให้เร็วที่สุด หากเกิดอุบิตเหตุ บาดเจ็บ พิการ หรือเสียชีวิต ก็อยากให้บริษัทเข้ามาดูแลตรงนี้ หรือมีการทำประกันอะไรให้กับพวกเราบ้าง

หากมองเรื่องการควบคุมทางบริษัทกำหนดว่า วิ่งงานไม่เกิน 5 กิโลเมตรได้ค่าจ้าง 30 บาท และหัก 3 เปอร์เซ็นต์ให้กับบริษัทด้วยมีการกำหนดเวลาด้วยบางบริษัทเพื่อให้อาหารร้อนๆถึงมือลูกค้า สิ่งที่ต้องแบกรับทั้งค่าเสี่ยงภัย ซ่อมบำรุงรถ รถ ค่าน้ำมัน เป็นต้น ส่วนทางบริษัทนั้นเป็นคนตั้งค่าบริการเอง ซึ่งถามว่าบริษัทมีการประกันให้หรือไม่ บริษัทบางแห่งมีให้แต่ว่า เป็นประกันแบบมีเงื่อนไข ต้องอยู่ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ แต่ปัญหาที่เกิดคือ บริษัทมองว่าเป็นรถผิดประเภทไม่ได้รับอะไร แต่อย่างไร การทำงานเราก็ภูมิใจกับการทำงานตรงนี้ด้วยสร้างรายได้ให้กับเราเพื่อเลี้ยงครอบครัวได้ ปลดหนี้สินได้ แต่ว่า อยากให้บริษัทรับผิดชอบชีวิตของคนทำงานด้วยอย่างการประกันภัย

ผศ.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า การทำงานของคนงานในระบบแพลตฟอร์ม การมองแบบการจ้างทำของ เรากำลังผูกพันกับการหักหัวคิว แต่รายได้จริงๆของเขาคือ ข้อมูล ว่า ช่วงไหนคนหิว อาหารที่สั่งกันมากๆคืออะไรและร้านไหน เวลาไหน ที่ไหน ลูกค้าชอบอะไร คนทำงานคือ คนที่สร้างข้อมูลให้บริษัท และคนที่ทำงานในแพลตฟอร์มถูกนำข้อมูลไปให้กับบริษัททันที ซึ่งไม่ได้มีการมองเรื่องการแบ่งปันรายได้จากข้อมูลที่เจ้าของแพตฟอร์มนำไป ซึ่งเป็นขุมทรัพย์ที่ใหญ่มากๆ และนำข้อมูลไปบอกร้านต่างๆเพื่อการผลิตสินค้าตอบสนองความต้องการ แค่หักร้อยละ 3 ของค่าบริการจากคนขับรถส่งอาหารจึงไม่ใช่รายได้หลักของแพลตฟอร์มเลย การที่เขาบริหารบนแพลตฟอร์มต่างๆ นอกจากไม่ต้องรับผิดชอบค่าจ้าง สวัสดิการ ความเสี่ยงต่างๆให้กับคนทำงานแล้ว ในเชิงสังคมเขาไม่ได้เสียภาษี รัฐบาลก็ไม่ได้ดูแลเพื่อเก็บภาษีตรงนี้ แล้วจะทำอย่างไรจึงจะมีการต่อรองว่า การที่บริษัทนำเงินไปขายแล้วแบ่งมาเป็นส่วนหนึ่งของคนทำงานในระบบแพลตฟอร์มบ้างหรือไม่ เช่นนำมาจัดเป็นสวัสดิการ การประกันอุบัติเหตุ หรืออื่นใด เพื่อรองรับความเสี่ยง

จากการที่เข้าไปทำงานด้านขับเคลื่อนกฎหมายเกษตรกรพันธสัญญา ซึ่งเคยบอกว่าระบบสัญญาคือการจ้างงาน อยู่ในสถานลูกจ้าง เสนอว่า เกษตรกรพันธสัญญาต้องรวมตัวกันเพื่อต่อรอง แต่เกษตรกรเขาไม่ได้ต้องการที่จะเดินแบบแรงงาน เขาต้องการที่จะเป็นแบบหุ่นส่วน ซึ่งเขารู้ว่า เขาจะเดินแบบไหน รัฐบาลเองก็หาวิธีหาเงิน แต่ไม่ทราบว่า จะเก็บภาษีอย่างไร เมื่อข้อมูลทั้งหมดเป็นของคนขับรถส่งอาหาร ข้อมูลคนซื้อ และคนที่ได้ประโยชน์คือเจ้าของแพลตฟอร์ม การขายข้อมูลได้เงินมาเป็นกอบเป็นกำเท่าไร อยากเสนอให้มีการตั้งสมาคมวิชาชีพ หรือสหภาพแรงงาน เพื่อการต่อสู้ทางคดีหากต้องการใช้การจ้างแรงงาน หรือจ้างทำของ แต่คิดว่า ต้องเป็นการจ้างงานภาคบริการ ทางออกต่อมาจากกระทรวงแรงงานที่โตขึ้นเรื่อยคือกระการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งอาจต้องมองเพื่อเข้าไปใช้บริการบ้าง

นายณรงค์ฤทธิ์ วรรณโส กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวว่า แพลตฟอร์มนั้นกฎหมายจะดูเรื่องความเสียหายการได้รับประโยชน์ หรือว่า การทำงานนี้หากไม่เข้าข่ายการเป็นลูกจ้างตามระบบประกันสังคม ก็สามารถที่จะประกันตนเองได้ตามมาตรา 40 กรณีแรงงานนอกระบบ หรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ และการทำงานมีการแข่งขันที่เป็นธรรมหรือไม่สร้างผลกระทบกับกลุ่มอาชีพใกล้กันหรือไม่ และข้อมูลมุมมองความเป็นลูกจ้างหรือไม่ ซึ่งในประเทศสเปนก็มีการตัดสินแล้วว่า ถือเป็นลูกจ้าง แต่อย่างนักกฎหมายแบบเพียวๆในมุมมองก็อาจมองว่า เป็นการจ้างทำของ และมีการทำงานสัญญาที่อาจก้ำกึ่งอยู่ เมื่อมีคดีที่ศาลก็อยู่ที่ข้อเท็จจริงเมื่ออยู่ในศาล ซึ่งในรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งมีการจ้างงานแบบรูปแบบจ้างทำของขึ้น แต่เขาทำตามแนวนโยบายการทำงานของรัฐบาลมีนโยบายมา แต่เมื่อมีการดำเนินคดีในศาลแรงงานก็เป็นการจ้างแรงงาน  การจ้างทำของคือแรงงานนอกระบบ กลุ่มเกษตรพันธสัญญาก็มีกฎหมายดูแลแล้ว กฎหมายคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้านก็มีแล้ว ฟรีแลนด์ ก็มีการดูว่าเป็นเรื่องของจ้างทำของหรือไม่ ทั้งอุปกรณ์ที่ใช้ พฤติการณ์การทำงาน เรื่องที่พูดถึงคืออำนาจการบังคับบัญชาเป็นแบบไหน รูปแบบการกำหนดค่าจ้าง ซึ่งรูปแบบสมัยใหม่ก็จะมีความเฉพาะตัว และมีการตีความในบริษัทที่สร้างความเป็นธรรมกับคู่กรณี

หลักการออกกฎหมายปัจจุบันค่อนข้างยาก หากไประคายเคืองการลงทุน ในแง่ของการคุ้มครองกฎหมายพื้นฐานก็มีอยู่ หากมีการเลิกจ้างด้วยการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีของสื่อแห่งหนึ่งศาลก็ตัดสินให้มีการจ่ายค่าชดเชยพิเศษ

ข้อเสนอในการรวมตัวนั้น กฎหมายการรวมตัวคือ การรวมตัวเป็นสหภาพแรงงาน คือมีความเป็นลูกจ้าง นายจ้างเท่านั้นการรวมตัวแบบไม่เป็นทางการก็สามารถทำได้ในชั้นต้น หากต้องการที่จะรวมตัวกัน

คุณชฤทธิ์ มีสิทธิ์ นักกฎหมายทนายความ กล่าวว่า จริงแล้วการต่อสู้เรื่องสิทธิแรงงานนอกระบบ ซึ่งการจ้างทำของนั้นมีมาตั้งแต่หลังวิกฤติปี 2540 ตอนนี้การจ้างงานมีการวิจัยก่อนว่า จะมีการจ้างงานรูปแบบไหนที่จะประหยัดมากที่สุด ประเด็นคือสิทธิขั้นพื้นฐาน เราไม่เคยสงสัยว่า เขาควรมีสิทธิอะไร การจ้างงานของเรามีทั้งสัญญาจ้าง กับจ้างทำของ แรงงานนอกระบบ มีรูปแบบสัญญาจ้างจำนวนมากมาย อย่างเซลที่ขายสีที่เดินไปข้างนอกแบบไม่ต้องตอกบัตรเข้างานตามระบบ ก็ไม่ได้รับการคุ้มครองใดเลย ด้วยว่าจ้างเป็นระบบแบ่งเปอร์เซ็นต์การขาย การผลิตสินค้าที่บ้านอย่างผลิตลูกชิ้นก็ไม่ได้รับการดูแล ผู้รับงานไปทำที่บ้านก็ถือเป็นรับจ้างทำของที่ไม่ได้รับการดูแล และนักข่าวที่ทำงานอิสระรับจ้างผลิตมีการสแกนนิวมือ แต่ถือเป็นรับจ้างทำของ

การจ้างงานแบบแพลตฟอร์มมีหัวหน้างานไหมหากฟ้องร้องศาลจะมองตรงนี้ ทั้งการที่เราทำงานถูกควบคุมจากระบบอิเล็กทรอนิกส์ การทำงานที่ยืดหยุ่นมาเป็นโอกาสและการที่จะผลักให้คนงานแบบยืดหยุ่นมาเข้าสู่ระบบทั้งหมดอาจเป็นปัญหา และประเด็นคือ แรงงานทุกกลุ่มที่ทำงานนอกระบบ เราไม่มีฐานข้อมูลเลย และทีมวิจัยพยายามค้นคว้าเรื่องค่าจ้าง รายได้เท่าไร แต่หากคิดเพิ่มอีกนิดว่า แพลตฟอร์มกับแรงงานที่ส่งอาหารเป็นอะไรกัน จึงคิดว่า อย่าผูกติดกับกฎหมายมากนัก การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานกลุ่มนี้ และการรวมตัวเพื่อสร้างอำนาจต่อรองสำคัญมากในแรงงานนอกระบบ หากเป็นแรงงานในระบบจะถูกมองว่า การรวมตัวเป็นสหภาพแรงงานเป็นปีศาจร้ายของนายจ้าง รัฐ และสังคม เมื่อจะมาเล่าถึงสภาพปัญหาสะท้อนการต่อสู้ของสหภาพแรงงาน จะต้องสวมปกปิดใบหน้ามาเล่า ไม่เช่นนั้นอาจไม่มั่นคงในการมีงานทำได้

การเปลี่ยนรูปแบบกฎหมายเดิมมีการวางรูปแบบให้สอดคล้องยืดหยุ่น เช่น มีแรงงานนอกระบบเพียงฉบับเดียวก็ได้ การจ้างงานแบบแพลตฟอร์มเป็นสถานการณ์ใหม่ การจ้างงานรูปแบบใหม่ ไม่สามารถใช้หลักการเดิมได้ คนส่งอาหารในระบบแพลตฟอร์มการควบคุมลงโทษถือเป็นลูกจ้าง แต่จะทำอย่างไรในรูปแบบกฎหมายคุ้มครองอย่างไร รูปแบบนี้ปรับเปลี่ยนได้อีกหากเขารู้สึกว่า เป็นบังคับบัญชาก็มีการปรับเปลี่ยนสัญญาจ้างใหม่อีก กระทรวงแรงงานต้องกล้าประกาศว่า งานนนี้เป็นงานที่มีคุณค่า และควรมีการปรับขบวนเพื่อการดูแลคุ้มครองให้เกิดความเป็นธรรม เป็นงานที่มีคุณค่า

คุณพูลทรัพย์ สวนเมือง ตุลาพันธ์ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ กล่าวว่า การขยายตัวของแรงงานกลุ่มนี้จะขยายตัว ตอนนี้บริษัทต่างๆในหลายกิจการมีการปิดตัวลง คิดว่าแรงงานที่ออกจากงานจะเข้าสู่ระบบนี้จำนวนมาก เป็นงานที่หาเงินง่าย ลงทุนน้อย ซึ่งเราต้องดูเรื่องความสัมพันธ์ในการเป็นลูกจ้าง นายจ้าง

หากมองเรื่องการปรับตัวเราก็ปรับไม่ทัน อย่างเช่นร้านหาบเร่แผงลอยตอนนี้ก็มีการปรับตัวของร้านสะดวกซื้อ การที่จะคุ้มครองประกันสังคมต้องสำหรับทุกคน และคนแสนคนก็สามารถออกกฎหมายได้แล้ว และไม่ใช่ว่า คนที่มีงานทำก็ไม่ต้องเป็นภาระทางสังคม ซึ่งการเกิดของมอเตอร์ไซค์รับจ้างก็เพราะมีปัญหาซอยตันทำให้เราได้เดินทางไม่ได้ และการที่สั่งอาหารมาทานได้ถึงบ้านก็เป็นการลดภาวะโลกร้อน รัฐไม่ควรคิดแค่เรื่องจับปรับเท่านั้น แต่มองประโยชน์ที่เขาทำ และตอนนี้ก็มีการพูดคุยกับนายจ้างกรณีรับงานไปทำที่บ้านเพื่อการอ้างอิงค่าจ้างขั้นต่ำด้วย ค่าแรงรายชิ้นควรเป็นเท่าไร กฎหมายไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากไม่มีการเรียกร้อง ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การรวมตัว แรงงานต้องพยายามรวมตัว และตอนนี้มีความขัดแย้งระหว่างมอเตอร์ไซค์รับจ้างกับมอเตอร์ไซค์แพลตฟอร์ม หรือ Grab กรณีแย้งอาชีพกันอะไรแบบนี้ โดยปัญหาก็เหมือนกันซึ่งต้องมีการรวมตัวกัน กลุ่มสตรีทฟู้ดยอดขายเพิ่มมากขึ้นในตอนนี้ เมื่อเข้าระบบแพลตฟอร์มนี้ การมองว่างานที่เราทำเป็นมิติแรงงานมันมีความหมายมาก เพื่อที่จะนำมาดูกันด้านสิทธิแรงงาน การที่เขาจะอยู่ได้เมื่อเรารวมตัวกันกับแท็กซี่ และมอเตอร์ไซค์ด้วย เพื่อการร่วมกันผลักดัน สหภาพแรงงานก็ต้องมาทำงานร่วมกันขับเคลื่อนปัจจุบันสู้แบบโดดเดี่ยวไม่ได้แล้ว

คุณอภัณตรี เจริญศักดิ์ รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า เดิมการส่งอาหารของร้านอาหารฟาสฟู้ดต่างๆบริษัทจะมีรถมอเตอร์ไซค์ให้กับพนักงานขับส่งสินค้า มีประกันอุบัติเหตุให้ด้วย แต่หลังปี 2559 มาก็มีการปรับเรื่องรูปแบบการจ้างงานใหม่คนส่งอาหารต้องมีรถเป็นของตนเองยกเลิกของเดิมที่มีหมด โดยมีทั้งการย้ายพนักงานไปสาขาที่ไกลบ้าน หากไปไม่ได้ก็ให้ลาออก การจ้างงานแบบแพลตฟอร์มเข้ามาด้วย การจ้างงานจำกัดด้วยค่าจ้างรายวัน ไม่มีสัญญาจ้าง เงินเดือนจ่ายผ่านแอพพลิเคชั่น ประกันสังคมไม่ต้องจ่าย งานล่วงเวลาไม่ต้องจ่าย ภาษีไม่ต้องจ่าย การที่ลูกจ้างถูกรถชนเสียชีวิตเขาไม่ได้รับอะไรเลย ในความรับผิดชอบของบริษัทแพลตฟอร์ม ซึ่งมีการประกาศการจ้างงานวันละ 400 บาท แต่หากพรุ่งนี้ไม่มีงานอาจค่าจ้างลดลง 300 บาทก็ได้ และการที่ถูกลดค่าจ้างก็ไปทำอีกที่ หากมีการประสบอุบัติเหตุก็เป็นปัญหาไม่มีระบบคุ้มครอง

ประเด็นคือหากย้ายงานไม่ได้ก็ต้องลาออกจากการทำงาน หรือหากมีการร้องกระทรวงแรงงานก็จะมีแบล็คลิสเข้าทำงานที่ไหนในกิจการร้านอาหารฟาสฟู้ดอีกไม่ได้ การถูกนายจ้างกดค่าจ้าง หรือการทำสัญญาจ้างที่ไม่เป็นธรรม การมีสหภาพแรงงานนั้นยากมากการรวมตัวกันได้ โดยการล่ารายมือชื่อมาตั้งสหภาพแรงงานได้ แต่ปัยหาแกนนำก่อการถูกเลิกจ้าง เมื่อการตั้งสหภาพไม่ได้รับการยอมรับนั้นหมายความว่า ต้องยอมรับการเอาเปรียบการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม ไร้สิทธิสวัสดิการต่อไป การที่จะตั้งสหภาพแรงงานทั้งพยาบาล ทั้งครู ที่เป็นลูกจ้างภาครัฐต้องการที่จะตั้งสหภาพยังไม่ได้ และแรงงานภาคบริการขนส่งอาหารจะตั้งสหภาพแรงงานก็ยาก การจะยกมือมาให้รัฐรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO) ฉบับที่ 87 และ 98 นั้นยาก แล้วใครได้ผลประโยชน์จากการจ้างงานแบบนี้ เราต้องการที่จะให้มีการเปลี่ยนนิยามแรงงานเป็นคนทำงาน เพื่อให้กฎหมายเกิดความครอบคลุมคนงานทุกคน

สรุปโดย วาสนา ลำดี