ขบวนแรงงานสากล-แรงงานไทย จับมือแถลงร่วม ทวงความเป็นธรรมให้ผู้นำแรงงานรถไฟ หลังถูกหักเงิน

ขบวนแรงงานสากล-แรงงานไทย จับมือแถลงร่วม เพื่อให้รัฐบาลไทยคืนสิทธิและความเป็นธรรมแก่ 7 ผู้นำแรงงานรถไฟ หลังถูกการรถไฟหักเงินเดือน อายัดเงินบำนาญ 

วันที่ 18 มกราคม 2562 ทางสหพันธ์แรงานขนส่งระหว่างประเทศ (ITF) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย ได้จัดแถลงข่าว เรื่อง “ขอให้ยุติการดำเนินคดีและการหักเงินผู้นำสหภาพแรงงานรถไฟแห่งประเทศไทย”

ตามที่ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาเมื่อเดือนมีนาคม 2561 ให้ทั้ง 7 คน จ่ายค่าเสียหายให้แก่การรถไฟฯ เป็นเงินจำนวน 15,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 นับตั้งแต่วันที่ฟ้องจนถึงวันที่ชำระเสร็จ ซึ่งปัจจุบันเป็นเงินรวมประมาณ 24,000,000 บาท สิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้นำสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟฯในขณะนี้สร้างความตระหนกและกังวลต่อ ITF,สมาพันธ์สหภาพแรงงานสากล (ITUC) และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) อย่างมากและได้มีการส่งหนังสือแจ้งมายังรัฐบาลไทยอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์จนถึงวันที่มีการรับผู้นำสหภาพแรงงานกลับเข้าทำงานและยังเรียกร้องให้รัฐไทยยุติการดำเนินคดีต่อผู้นำสหภาพแรงงานและคืนสิทธิประโยชน์ทั้งหมดในช่วงที่ออกจากงานคืนให้แก่ผู้นำทั้งหมด ซึ่งมาทราบภายหลังว่ารัฐไทยมีการดำเนินการในการหักเงินจากผู้นำแรงงานทั้ง 7 คนเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2561 จำนวนยอดเงินตามคำพิพากษาจำนวนเงินสูงมสก และหักเงินชดใช้ต้องใช้เวลา 10 ปี ต้องส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาซึ่งบางคนขณะนี้ได้เกษียณอายุแล้วและต้องอายัดเงินยังชีพ (บำนาญ)หลังเกษียณมาชดใช้ค่าเสียหายทำให้เขาต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก

ซึ่งในวันนี้ทางสรส.และสหภาพฯได้เดินทางเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว และรองปลัดกระทรวงคมนาคมผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รวมทั้งรักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เข้าพบประธานคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย และยังมีคณะกรรมการที่ได้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาแก้ปัญหาเรื่องดังกล่าวด้วย และเพื่อยืนยันในเจตนารมณ์ขององค์กรแรงงานในประเทศและต่างประเทศ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมทั้งรัฐบาล แก้ปัญหาเรื่องนี้เป็นการเร่งด่วน เพราะสิ่งที่สหภาพฯเรียกร้องคือความต้องการสร้างมาตรการความปลอดภัยแห่งสาธารณะของขบวนรถไฟมิใช่ผลประโยชน์เฉพาะตัวเฉพาะกลุ่ม โดยมีข้อเสนอดังนี้

1. ยุติการดำเนินคดีแก้ผู้นำสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจทั้งหมด

2.ให้ยุติการหักเงินชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมด

3. ให้คืนสิทธิประโยชน์ทั้งหมดในช่วงที่ออกจากงานให้แก่ผู้นำสหภาพแรงงานทั้ง 7 คน ซึ่งขบวนการแรงงานทั้งสากล และขบวนการแรงงานไทยจะเร่งติดตาม เพื่อให้ยุติเรื่องทั้งหมดโดยเร็ว

ด้านนายราชา ศรีธาร์ รองประธานสาขารถไฟ สหพันธ์แรงงานขนส่งระหว่างประเทศ (ITF) กล่าวว่า การแถลงการณ์ของITF ได้รับการรับรองจากการประชุมใหญ่ ณ เมืองโซเฟัย ด้วยจัดลำดับให้ความปลอดภัยรถไฟ ซึ่งมีความสำคัญมาก โดยใช้สโลแกน “ปลอดภัยไว้ก่อน” ในการรณรงค์ของสาขารถไฟมาเป็นเวลาหลายปี เหตุผลนั้นไม่เพียงแค่เพื่อรักษารถไฟให้เป็นสถานที่ทำงานที่ปลอดภัยสำหรับสมาชิกเท่านั้น แต่เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารและสาธารณะโดยทั่วไปเช่นกัน หากรถไฟไม่ได้รับการบริหารอย่างเหมาะสมความเสี่ยงในการเกิดความเสียหาย การได้รับบาดเจ็บ และการสูญเสียชีวิตนั้นสูงมาก การติดตั้งระบบความปลอดภัยมีความสำคัญมากโดยเฉพาะในสถานการณ์ที่จราจรรถไฟมีความหนาแน่นและรถไฟต้องใช้ความเร็วที่สูงขึ้น การมีระบบสนับสนุนทางเทคนิคขั้นสูงต้องมีความสำคัญ ระบบ’Dead man’s handlr’ ในหัวจักรรถไฟซึ่งจะสามารถหยุดรถไฟในกรณีที่พนักงายขับรถไฟหมดสติเป็นอุปกรฯ์ที่รู้จักแพร่หลายเป็นอย่างดี คนงานต้องสามารถควบคุมระบบรถไฟด้วยความปลอดภัย คนงานที่มีหน้าที่เฝ้าระวังเรื่องความปลอดภัยต้องมีสภาพการทำงานอย่างเหมาะสม เช่น การสลับระยะเวลาในการเข้าทำงานกะกลางวัน กะกลางคืน การจำกัดระยะเวลาการขับรถไหต่อเนื่องและเวลาการหยุดพัก วันพักผ่อนและการป้องกันความรุ่นแรง

โดยมีสิทธิในการปฏิเสธการทำงานที่เป็นอันตรายหรือไม่ปลอดภัยนั้นได้รับการคุ้มครองภายใต้อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)ฉบับที่ 155 มาตรา 13 ว่าด้วย “คนงานที่ย้ายตัวเองออกจากสถานการณ์การทำงายซึ่งเขามีเหตุผลอันสมควรที่จะเชื่อว่าเป็นอันตรายและมีความเลวร้ายต่อชีวิตหรือสุขภาพควรจะได้รับการคุ้มครองจากผลที่จะตามมาตามเงื่อนไขและหลักปฏิบัติของประเทศ” เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานสำหรับคนงานรถไฟ หากพิจารณาแล้วสถานการณ์นั้นอาจเป็นอันตราย คนงานควรหยุดการทำงานบนรถไฟ โดยไม่มีการลงโทษทางวินัย ในทางตรงกันข้าม เห็นว่า คนงานควรได้รับรางวัลด้วยซ้ำ ทั้ง 62 ประเทศให้สัตยาบันILOฉบับนี้ และสิทธินี้มีผลบังคับใช้ในกฎหมายคุ้มครองแรงงานของประเทศเหล่านั้นแล้ว หรือถึงแม้ไม่ได้ให้สัตยาบันในอนุสัญญาฉบับนี้ แต่สิทธินี้ถูกใช้เป็นมาตรฐานสากลสำหรับแรงงานทั่วโลก และควรได้รับการเคารพ แต่น่าเสียดายที่ประเทศไทยยังไม่ได้ให้สัตยาบันสำคัญนี้ ซึ่งสหภาพแรงงานรถไฟเป็นหลักประกันที่เข้มแข็งที่สุดในการส่งเสริมอละพัฒนาระบความปลอดภัยให้สูงขึ้นในการทำงาน จึงควรแสวงหาพันธมิตรหรือหน่วยงานภาคประชาสังคม เช่นพรรคการเมืองที่มีความเห็นใจตาอสถานการณ์และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับผู้โดยสาร ความร่วมมือระดับสากลรัหว่างสหภาพฯทวีความสำคัญมาขึ้นเรื่อยนโยบายเปิดเสรีและการแปรรูปที่ดำเนินกสรโดยรัฐบาลหลายประเทศเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นทั่วโลก

ทั้งนี้ในส่วนของขบวนการแรงงานสากลยังมีการเคลื่อนไหวยื่นหนังสือต่อสถานทูตไทยหลายแห่งเพื่อให้รัฐบาลไทยคืนสิทธิให้กับผู้นำสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟ(สร.รฟท.) ที่ได้รณรงค์ทั่วประเทศเรื่องความปลอดภัยหลังจากเกิดอุบัติเหตุทางรถไฟครั้งร้ายแรงในประเทศไทยเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2552 ที่สถานีเขาเต่า อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์จนเป็นเหตุมีมีผู้เสียชีวิต 7 คนและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ซึ่งผลการสอบสวนภายในที่การรถไฟตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเองรวมทั้งคำพิพากษาของศาลอาญา วิเคราะห์ว่าสาเหตุที่แท้จริงเกิดขึ้นจากความไม่สมบูรณ์ของหัวรถจักรที่ใช้ทำขบวน เป็นผลให้พนักงานขับรถต้องติดคุกและต้องออกจากงาน เพราะศาลอาญาเห็นว่านำรถจักรที่อยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์ออกไปทำขบวน ซึ่งต่อมาผู้เสียหายจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้ฟ้องต่อศาลแพ่ง และศาลก็มีคำพิพากษาให้พนักงานขับรถและการรถไฟฯจ่ายค่าเสียหายให้แก้ผู้ฟ้องเนื่องจากนำรถจักรที่ไม่สมบูรณ์ออกไปทำขบวนจนเกิดเหตุร้ายแรง แม้กระทั่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติก็มีข้อสรุปไปในทิศทางเดียวกันว่า สภาพรถจักรที่ไม่ปลอดภัยเป็นสาเหตุหลักที่นำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ ในนส่วนของต่างประเทศ ITF (สหพันธ์แรงงานขนส่งระหว่างประเทศ) และITUC (สมาพันธ์สหภาพแรงงานสากล) ได้นำเรื่องร้องเรียนต่อ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO)และผลการสรุปก็ออกมาในลักษณะที่เห็นว่าสภาพแรงงานรถไฟและผู้นำกระทำในสิ่งที่ถูกต้องโดยเฉพาะในเรื่องรณรงค์เพื่อมาตรฐานความปลอดภัย และเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของสหภาพแรงงาน และได้ส่งข้อสรุปและข้อแนะมายังรัฐบาลไทยเพื่อให้ยุติและคืนสิทธิให้แก่ผู้นำสหภาพแรงงาน จากผลที่สรุปออกมาชี้ให้เห็นถึงการกระทำของสหภาพแรงงานรถไฟและผู้นำสหภาพได้กระทำที่เป็นประโยชน์แก่การรถไฟฯเองรวมทั้งประชาชนที่ใช้บริการด้วย

T I M E L I N E
ลำดับเหตุการณ์ การเคลื่อนไหว ผลักดัน ให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอัตรากำลังของการรถไฟแห่งประเทศไทย อันเนื่องมาจาก มติ ครม.เมื่อ 28 กรกฎาคม 2541
โดยคณะกรรมการบริหาร สร.รฟท. ทั้งส่วนกลางและสาขาภูมิภาค นำโดยนายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธาน สร.รฟท. ได้ถือเอาเรื่องนี้เป็นความสำคัญขั้นสูงสุด เพื่อให้รัฐบาล (ครม.) ยกเลิก มติครม.เมื่อ28 กรกฎาคม 2541  ให้รฟท.เปิดรับพนักงานใหม่ทดแทนพนักงานที่ขาดแคลนและเพื่อรองรับแผนการพัฒนาการขนส่งทางรางตามนโยบายของรัฐบาลอีกด้วย  การดำเนินการของ สร.รฟท. เริ่มตั้งแต่การเข้ารับหน้าที่ มีดังนี้
1. เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2560 ได้เข้าพบนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม  ซึ่งรัฐมนตรีก็ได้รับทราบปัญหาและอุปสรรคที่ สร.รฟท.เสนอ และยังพบว่า อัตรากำลังที่ได้รับอนุมัติครั้งก่อน เมื่อ ธันวาคม 2553 ยังคงเหลืออีก 109 อัตรา จนเป็นที่มาของการนำเอาอัตราดังกล่าวไปบรรจุให้กับนักเรียน วรฟ.รุ่น 59
2. เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2561 ในที่ประชุมคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ สร.รฟท.ได้เสนอเรื่องพิจารณา ขอให้การรถไฟเร่งดำเนินการจัดหาอัตรากำลังพนักงานโดยเร่งด่วน และวางแผนการบริหารเรื่องอัตรากำลังพนักงานให้สอดคล้องกับปริมาณงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ฝ่ายทรัพยากรบุคคลรายงานว่ากำลังเร่งรัดดำเนินการ
3. เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2561 สร.รฟท.ได้ออกแถลงการณ์เรื่อง ขอให้การรถไฟและรัฐบาลเร่งมาตรการเพิ่มอัตรากำลังพนักงานก่อนวิกฤติ
4. เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2561 ได้เข้าพบนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม  นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ผู้บริหารกระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อติดตามความคืบหน้า ซึ่ง รัฐมนตรี ได้สั่งการให้ รฟท.จัดทำรายละเอียดและข้อมูลความต้องการอัตรากำลังให้ปลัดกระทรวงภายในวันที่ 4 พฤษภาคม 2561
5. เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2561 ฝ่ายทรัพยากรบุคคล การรถไฟฯ ได้ทำหนังสือชี้แจงรายละเอียดความต้องการอัตรากำลังทั้งหมดไปยังปลัดกระทรวงคมนาคม โดย การรถไฟฯ ต้องมีพนักงานทั้งหมด 19,241 อัตรา แยกเป็นพนักงาน 16,660 อัตรา และลูกจ้าง 2,581 อัตรา
6. เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2561 สร.รฟท.ได้ออกจดหมายข่าว เรื่อง อัตรากำลัง…สำคัญ…จำเป็นต่อการดำรงอยู่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
7. เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2561 สร.รฟท. ทำหนังสือถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงคมนาคม และประธานกรรมการรถไฟ เรื่อง ขอการสนับสนุนให้เร่งดำเนินการเรื่องเพิ่มอัตรากำลังของพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย
8. เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2561 สร.รฟท. เข้าพบ ประธานกรรมการรถไฟฯ กรรมการ และผู้บริหารการรถไฟฯ ประธานกรรมการรถไฟได้แจ้งให้ทราบว่า การรถไฟฯได้ดำเนินการขอเพิ่มอัตรากำลังไปยังกระทรวงแล้ว
9. เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2561 ประชุมคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ สร.รฟท.ได้ติดตามเรื่องอัตรากำลัง ได้รับคำชี้แจงจากฝ่ายทรัพยากรบุคคลว่า กระทรวงคมนาคม ได้มีหนังสือถึงการรถไฟฯเมื่อ 21 มิถุนายน 2561  ให้การรถไฟฯชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติม และฝ่ายทรัพยากรบุคคลก็ได้จัดทำรายละเอียดเพิ่มเติมชี้แจงกลับไปแล้ว เมื่อ 3 สิงหาคม 2561
10. เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2561 สร.รฟท. ได้ไปยื่นหนังสือถึง นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้ทบทวน มติครม. 28 กรกฎาคม 2541 ที่ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน ทำเนียบรัฐบาล
11.เมื่อวัน 26 กันยายน 2561 ทาง สร.รฟท.ได้เข้าพบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ห้องประชุม 2 กระทรวงคมนาคม เพื่อติดตามความคืบหน้า ในเรื่องการขอเพิ่มอัตรากำลังของพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย
12.เมื่อวัน 26 ตุลาคม 2561 ทาง สร.รฟท.ติดตามความคืบหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ได้รับแจ้งว่าทาง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ลงนามเสนอความเห็นในส่วนที่เกี่ยวข้องส่งไปที่ สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี(สลค.)แล้ว
13. เมื่อวันที่ 29 ต.ค.2561 ความเห็นประกอบเรื่องการขออนุมัติอัตรากำลังพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) อยู่ที่สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี(สลค.)แล้ว รอนำเสนอเข้าวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)
การดำเนินการของ สร.รฟท. ได้มีการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเป็นระยะ และสื่อมวลชนก็ได้นำเสนอข่าวนี้ทุกครั้งที่ สร.รฟท.เคลื่อนไหว  ต่อแต่นี้ไป ขึ้นอยู่กับความจริงใจของรัฐบาลที่จะแก้ปัญหา หากล่าช้าหรือมีการถ่วงรั้งเอาไว้ จะเกิดวิกฤตขึ้นในการรถไฟฯอย่างแน่นอน ขอให้ทุกท่านติดตามสถานการณ์ และรายงานข่าวจาก สร.รฟท.อย่างใกล้ชิด ต่อไป
รายงานโดยวาสนา ลำดี