ผู้นำแรงงานยานยนต์ เสนอหม่อมเต่ามองปัญหา การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีกระทบแรงงาน เสนอแก้ปัญหา เพิ่มทักษะ คุ้มครองการเลิกจ้าง สร้างความยุติธรรม
เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2562 สภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย ร่วมกับองค์กรสมาชิก นำโดยนายมานิตย์ พรหมการย์กุล ประธานสภาฯ ได้เข้าพบ หม่อมราชวงศ์จตุมงคล โสณกุล (หม่อมเต่า) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อแสดงความยินดีและหารือปัญหาด้านแรงงาน โดย นายมานิตย์ พรหมการีย์กุล กล่าวว่า ได้ยื่นหนังสือ เพื่อให้ทางรัฐมนตรีแก้ไขปัญหา และร่วมกันหาทางออก ดังนี้
- ให้รัฐบาลโดยกระทรวงแรงงานมี แผนรองรับผลกระทบการเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้าต่อแรงงานใน อุตสาหกรรมยานยนต์ และที่เกี่ยวเนื่องหรือไม่
1.1 ให้ตั้งศูนย์พัฒนาฝีมือให้แรงงานกลุ่มต่างๆในทุกๆภาคเพิ่มทักษะอาชีพใหม่บริหารจัดการ อย่างมืออาชีพและงานใหม่ที่จะเกิดตามทิศทางตลาดและเศรษฐกิจใหม่ในยุค 4.0 เช่น AI ดิจิตอล อาชีพเสริมอื่นๆ
1.2 ให้ความคุ้มครองในเรื่องการเลิกจ้างเงินชดเชยให้เป็นธรรมมากกว่า มาตรา 118 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2562 และให้ความช่วยเหลือพนักงานที่โดนเลิกจ้างให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรม
1.3 ตั้งกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างที่โดนเลิกจ้างจากการเปลี่ยนผ่านพลัง งานเป็นรถยนต์ไฟฟ้า
เหตุผล : เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้ าใชชิ้นส่วนลดลงอยางมากจาก 30,000 ชิ้นเหลือเพียง 1,500 – 3,000 ชิ้นผู้ผลิตชิ้นส่วนมีความเสี่ยงจะได้รับผลกระทบ ได้แก่ ผู้ผลิตชิ้นส่วนเครื่องยนต์ท่อไอเสีย หม้อน้ำ ถังน้ำมันมีจำนวน 816 แห่ง 328,400 คน คิดเป็น ร้อยละ 37 จะลดลงจากจำนวน ลูกจ้างกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ 700,000 คน
1.4 ให้ตั้งคณะกรรมการว่าด้วยการเจริญเติบโตการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจและการจ้างงาน ประสานความร่วมมือเพื่อติดตามคุ้มครองดูแลปัญหาลูกจ้างที่มีผลกระทบกบการเปลี่ยนผ่าน พลังงานไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า
โดย คณะกรรมการ ประกอบด้วย ตัวแทนนายจ้างลูกจ้างภาครัฐโดย กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- ให้รัฐบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 11/1อย่างเคร่งครัด
เหตุผล : ปัจจุบันยังเลือกปฏิบัติระหว่างพนักงานประจำกับพนักงานชั่วคราวในปัจจุบันมีการจ้างงานหลายรูปแบบทำให้ลูกจ้างขาดความมันคงในการทำงานอันจะมีผลกระทบการดำรงชีพต่อตนเอง ครอบครัวและสังคม
- ให้รัฐบาลควบคุมสินค้าอุปโภค บริโภคให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและสังคม ไม่ให้สูงมากเกินไปจนกระทั่ง ผลกระทบเป็นภาระต่อลูกจ้างระดับฐานราก และให้มีโครงการขายสินค้าราคาถูกให้กับคนงานโดยมีการบริการขายสินค้าไปตามโรงงานต่างๆ เพื่อให้สินค้าอุปโภคบริโภคถึงมือลูกจ้างจริงๆ
- การปรับค่าจ้างขั้นต่ำอัตโนมัติอย่างต่อเนื่องตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจเท่ากันทั่วประเทศ และปรับค่าจ้างจากรายวันเป็นรายเดือนเมื่อทำงานครบ 1 ปี และนับอายุงานอย่างต่อเนื่อง
เหตุผล: ปัจจุบันมีการจ้างงานหลายรูปแบบการจ้างเป็นโครงการมีระยะเวลาที่แน่นอน เช่น สัญญาจ้าง11 เดือน เลิกจ้างถ้าต้องการทำงานต่อต้องมาเซ็นต์สัญญาข้อตกลงการจ้างงานใหม่ไปเรื่อยๆ ไม่มีการบรรจุเป็นพนักงานประจำ ทำให้ลูกจ้างขาดความมันคงในอาชีพการงานและไม่ได้รับสวัสดิการต่างๆ
- ให้เร่งรัดนำร่างพระราชบัญญัติประกันสังคมฉบับแก้ไข พ.ศ. …. เข้าสู่การพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเสนอเป็นกฎหมายใหม่ผลบังคับใช้เป็นประโยชน์กับผู้ประกันตน
นายมานิตย์ ยังกล่าวอีกว่าตอนนี้สถานการณ์แรงงานในกิจการยานยนต์ มีทั้งการเลิกจ้าง และการเปิดให้มีการสมัครใจลาออก ซึ่งมีทั้งการเตรียมพร้อมระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเพื่อหาทางออกร่วมกัน เรื่องการพัฒนาตนเองเพื่อรองรับการออกจากงาน หรือการเปลี่ยนผ่านสู่งานใหม่ๆ แต่ก้มีมีแรงงานบางกลุ่มที่ถูกให้ออกจากงานโดยไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจ แม้ว่าจะได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายแต่ว่าไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตในอนาคต จึงอยากให้ทางกระทรวงแรงงานดูแลและร่วมกันหาทางออกตรงนี้ ซึ่งทางรัฐมนตรีเองก็รับปากจะดูแลและหาทางแก้ไขร่วมกัน
นักสื่อสารแรงงาน รายงาน