ร้องศาลให้ไต่สวนการจับกุมและควบคุมแรงงานข้ามชาติไม่ชอบด้วยกฎหมาย

มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา  ได้ออกแถลงการณ์ศาลจังหวัดปัตตานี ยกคำร้องกรณีแรงงานข้ามชาติ ชาวเมียนมา ขอให้มีการไต่สวน การจับกุมและควบคุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย : ความจริงที่ยังไม่ได้ถูกค้นหาโดยกระบวนการยุติธรรม” เมื่อวันที่23 สิงหาคม 2561 เวลา 09.00 น. ศาลจังหวัดปัตตานี ได้นัดไต่สวนคำร้องกรณีที่มี การจับกุมและควบคุมตัวแรงงานข้ามชาติหญิงชาวเมียนมาสองคนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลได้ออกหมายเรียกสารวัตรตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดปัตตานี  ผู้เกี่ยวข้องกับการคุมขังแรงงานมาให้การในชั้นไต่สวน ซึ่งผู้คุมได้แถลงต่อศาลได้นำตัวผู้ถูกคุมขังทั้งสองไปยังตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดระนองแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2561 เวลาประมาณ 18.00 น. เพื่อดำเนินการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรตามระเบียบต่อไปแล้ว ดังนั้นขณะนี้ผู้ถูกคุมขังทั้งสองไม่ ได้ถูกคุมขังอยู่ที่ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดปัตตานีแต่อย่างใด ดังนั้น ศาลจึงมีความเห็นว่า ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไต่ สวนคำร้องต่อไป จึงมีคำสั่งยกคำร้อง

เกี่ยวกับคดีนี้ สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2561 ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองปัตตานี ร่วมกับเจ้าหน้าที่ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน) ตำรวจท่องเที่ยว และเจ้าหน้าที่สำนักงานจัดหางาน บุกเข้าสำนักสงฆ์แหลมนก ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี และได้จับกุมแรงงานข้ามชาติหญิงชาวเมียนมาสองคน ซึ่งใช้เวลายามว่างจากการทำงานประจำมาเป็นจิตอาสาสอนหนังสือให้กับลูกหลานคนงานข้ามชาติกว่า 80 คนโดยเจ้าหน้าที่กล่าวหาว่า แรงงานข้ามชาติทั้งสอง ทำงานนอกเหนือจากที่กฎหมายอนุญาต และดำเนินการเปรียบเทียบปรับขณะที่แรงงานทั้งสองถูกสั่งให้ ลงนามในเอกสารภาษาไทยที่ตนไม่ สามารถอ่านได้ และจะมีการดำเนินการผลักดันทั้งสองคนกลับไปยังประเทศต้นทางตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ.2522 และยังได้ออกคำสั่งห้ามเข้ามาทำงานในประเทศไทยอีกเป็นเวลาสองปี นอกจากนี้ ยังมีชาวเมียนมาที่ถือวีซ่านักท่องเที่ยวและขอเข้าเยี่ยมชมการเรียนการสอนที่วัดถูกจับปรับในข้อหาเดียวกัน

จุดเริ่มต้นของการใช้ กลไกทางกระบวนการยุติธรรม เพื่อการคุ้มครองสิทธิ ในครั้งนี้ สืบเนื่องจาก การดำเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่นั้นขาดการตรวจสอบข้อเท็จจริงถึงการทำงานของหญิงชาวเมียนมาทั้งสองคน  รวมถึงการละเลยข้อเท็จจริงที่ ว่า การสอนหนังสือให้เด็กๆ ในชุมชน มิได้เป็นการดำเนินการอย่างเป็นทางการ  การเข้ามาให้ความรู้ด้านการศึกษาและวัฒนธรรมแก่เด็กๆ ในชุมชน เป็นการทำโดยจิตอาสา มิได้รับค่าตอบแทนหรือค่าจ้างแต่อย่างใด

ดังนั้น การยื่นคำร้องตามมาตรา 90 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จึงเป็นกระบวนการขอให้ศาลไต่ สวนเพื่อแสวงหาความจริงว่าการควบคุมตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่งนั้น เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แต่การแสวงหาข้อเท็จจริงประเด็นนี้กลับยุติลงด้วย “การส่งตัวหญิงชาวเมียนมาทั้งสองคนออกไปนอกราชอาณาจักรแล้ว” ซึ่งการ “ปล่อยตัว” ในลักษณะนี้ ย่อมไม่ใช่การคืนเสรีภาพให้แก่ ผู้ร้องตามเจตนารมณ์ของมาตรา 90

หมายเหตุ : ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 ที่ระบุว่า เมื่อมีการอ้างว่าบุคคลใดถูกคุมขังในคดีอาญาหรือในกรณีอื่นใดโดยมิชอบด้วยกฎหมาย บุคคลเหล่านี้มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลท้องที่ที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญาขอให้ปล่อย คือ ผู้คุมขังเอง พนักงานอัยการ พนักงานสอบสวน ผู้บัญชาการเรือนจำหรือพัศดี สามี ภริยา หรือญาติของผู้นั้น หรือบุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์ของผู้ถูกคุมขัง และเมื่อได้รับคำร้องแล้ว ให้ศาลไต่สวนฝ่ายเดียวโดยด่วน ถ้าศาลเห็นว่า คำร้องนั้นมีมูล ศาลมีอำนาจสั่งผู้คุมขังให้นำตัวผู้ถูกคุมขังมาศาลโดยพลัน และถ้าผู้คุมขังแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลไม่ได้ว่าการคุมขังเป็นการชอบด้วยกฎหมาย ให้ศาลสั่งปล่อยตัวผู้ถูกคุมขังไปทันที

(รายงานโดยวาสนา ลำดี)