แนวทางในการพัฒนาที่ยั่งยืน และงานที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ผู้บริหารองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) กำหนดแนวทางในการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับทุกคน

เดือนพฤศจิกายน 2558 เว็บไซต์องค์การแรงงานระหว่างประเทศของ(ILO) รายงานว่า ILO ได้กำหนดแนวปฏิบัติเพื่อช่วยให้รัฐบาล คนงาน และนายจ้างทั่วโลกมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างงานที่ดีในปริมาณมาก และ ส่งเสริมการคุ้มครองทางสังคม

แนวปฏิบัตินี้เป็นมติเพื่อให้เกิดปฏิบัติการระดับประเทศที่มุ่งเน้นการบรรลุการพัฒนาอย่างยั่งยืน(sustainable development) งานที่มีคุณค่า (decent work) และงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (green jobs) ซึ่งมติได้รับการรับรองโดยรัฐบาล องค์กรแรงงาน และองค์กรนายจ้าง 186 ประเทศสมาชิกของ ILO ในงานการประชุมของ ILO ปี 2556

“ทุกส่วนของไตรภาคีต้องรวมพลังกันเพื่อให้มั่นใจว่าจะมีการเปลี่ยนไปสู่อนาคตอันยั่งยืน ซึ่งจะตอบสนองความต้องการของงานที่มีคุณค่าได้อย่างถูกต้อง … ถึงเวลาแล้วที่จะต้องเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนและการจ้างงานจากประเด็นปัญหาทั่วไปไปสู่การทำให้เกิดกลไกที่เป็นรูปธรรม Guy Ryder ผู้อำนวยการใหญ่ ILO กล่าวไว้

แนวปฏิบัติจัดทำขึ้นโดยที่ประชุมไตรภาคีของผู้เชี่ยวชาญซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 ถึง 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งมี8 คนที่เสนอโดยโดยรัฐบาลของบราซิล อินโดนีเซีย เยอรมนี เคนยา มอริเชียส ตุรกี แอฟริกาใต้ และสหรัฐอเมริกา ในขณะที่ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายคนงานใน ILO ได้รับการแต่งตั้งอีกฝ่ายละ 8 คน

ในการเจรจาเรื่องสภาพภูมิอากาศเมื่อเร็ว ๆ นี้ที่กรุงบอนน์ “การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมต่อแรงงาน และการสร้างงานที่มีคุณค่าและมีคุณภาพ เหมาะสมตามลำดับความสำคัญในการพัฒนาประเทศที่ถูกกำหนด” ถือเป็นข้อพิจารณาที่สำคัญสำหรับการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ และถูกรวมไว้ในร่างข้อตกลงเรื่องสภาพอากาศที่กล่าวถึงในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 21 (COP21) ซึ่งเป็นการเจรจาระหว่างผู้นำประเทศจากกว่า 190 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย มีผู้เข้าร่วมกว่า 50,000 คน ทั้งจากภาคการเมือง ชุมชนทางวิทยาศาสตร์ และภาคประชาสังคม จัดขึ้นในวันที่ 30 พฤศจิกายน  – 11 ธันวาคม 2558 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส แนวปฏิบัติของ  ILO นี้จึงมาในช่วงเวลาที่เหมาะสม ซึ่งเป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์สำหรับการปฏิบัติตามพันธกรณีที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในกรุงปารีส

จากหลักฐานและบทเรียนที่ได้รับจากนโยบายและยุทธศาสตร์ในระดับประเทศที่มุ่งเน้นความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การรวมตัวทางสังคม และการส่งเสริมงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  แนวปฏิบัติจะครอบคลุมเรื่อง:

  • นโยบายเศรษฐกิจมหภาคและการเติบโตของภาคการจ้างงาน;
  • กฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมเป้าหมายและภาคอุตสาหกรรม
  • การสร้างสภาพแวดล้อมที่เปิดกว้างสำหรับวิสาหกิจที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • นโยบายการคุ้มครองทางสังคมเพื่อปกป้องแรงงานจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และการ จำกัดทรัพยากร
  • นโยบายตลาดแรงงานที่มุ่งการสร้างงานอย่างจริงจัง จำกัดการสูญเสียงาน และทำให้แน่ใจได้ว่าการปรับปรุงเกี่ยวกับ “นโยบายสีเขียว” ได้รับการจัดการอย่างดี
  • นโยบายด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการทำงานเพื่อป้องกันอันตรายจากการทำงานและความเสี่ยงจากการทำงาน
  • การพัฒนาทักษะเพื่อให้แน่ใจว่ามีทักษะเพียงพอในทุกระดับเพื่อส่งเสริมการสร้าง “เศรษฐกิจสีเขียว”
  • การสร้างกลไกในการพูดคุยทางสังคมตลอดกระบวนการกำหนดนโยบายในทุกระดับ และ
  • การเชื่อมโยงนโยบายและการจัดการของหน่วยงานเพื่อการบูรณาการการพัฒนาที่ยั่งยืน และการสร้างความมั่นใจให้เกิดการเจรจาและการประสานงานของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียระหว่างภาคนโยบาย

จาก http://www.ilo.org/global/topics/green-jobs/news/WCMS_422575/lang–en/index.htm