พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยจัดงานรำลึก ถึงผู้นำแรงงาน ผู้มีคุณูปการผู้วายชน พร้อมเสวนาถามหาประวัติศาสตร์แรงงานในประวัติศาสตร์ชาติไทย รวมพลังแรงงานทอดผ้าป่าหารายได้
วันที่ 25 มิถุนายน 2560 ที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ได้มีการจัดกิจกรรมรำลึก และทำบุญอุทิศส่วนกุศลอดีตผู้นำแรงงาน ผู้มีคุณูปการต่อขบวนการแรงงานผู้วายชน รวมทั้งได้มีการทอดผ้าป่าหารายได้บำรุงพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยด้วยซึ่งในการกล่าวรำลึกถึงผู้นำแรงงาน ผู้มีคุณูปการต่อขบวนการแรงงานผู้วายชนนั้น ได้มีตัวแทนจากญาติ ของผู้วายชน ผู้นำแรงงาน รวมถึงนักวิชาการที่เข้าร่วมกล่าวรำลึกในครั้งนี้ด้วย
นายทวีป กาญจนวงศ์ ประธานมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ได้กล่าวขอบคุณผู้เข้าร่วมในส่วนของญาติของวีรชน และผู้นำแรงงานรุ่นใหม่และรุ่นเก่า ที่มาร่วมงานในครั้งนี้ หากทั้งสองส่วนไม่ว่าจะเป็นผู้นำแรงงานรุ่นเก่า หรือรุ่นใหม่ หากมารวมกันประสานความคิดรำลึกประวัติติสาสตร์ และยังคงมีการจัดอยู่ประวัติศาสตร์แรงงานไทยก็คงจะไม่หายอย่างแน่นอน เพราะว่าทึกปีที่จัดจะได้รับความร่วมมือด้วยดีเสมอมา
นางสุนี ไชยรส ผอ.ศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็นธรรม วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า วันนี้ถือเป็นนัยทางประวัติศาสตร์ที่อยากให้ร่วมกันทบทวน เมื่อวานเป็นวันที่ 24 มิถุนายน ปี 2475เป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นวันที่เปิดให้เกิดระบบประชาธิปไตย และหลังจากนั้นมาในประวัติศาสตร์การต่อสู้ของขบวนการกรรมกรยุคนั้นยังมีความยากลำบากมากกว่าสมัยนี้มากทีเดียว แต่ว่าการต่อสู้นั้นมีความเข้มข้น และประวัติศาสตร์การเมืองไทยเป็นประวัติศาสตร์ที่ล้อไปกับประวัติศาสตร์การต่อสู้ของผู้ใช้แรงงาน จึงพบว่ามีการรัฐประหาร ยึดอำนาจซ้ำแล้วซ้ำอีก ทำให้การต่อสู้ของพี่น้องกรรมกร ซึ่งเคยสามารถชุมนุมกันได้เรือนหมื่นเรือนแสนจนกลายเป็นพลังเป็นการต่อสู้จนชนชั้นปกครองทั้งหลายมีความหวั่นเกรงแล้วนำมาซึ่งการปราบปรามผู้นำกรรมกรในยุคนั้น บนเส้นทางนั้นไม่ได้มีผู้นำสายกรรมกรโดยตรง แต่พบว่ามีสายปัญญาชน เข้ามาร่วมสมทบกันทำให้การต่อสู้ของกรรมกรเข้าไปเกี่ยวข้องทั้งพรรคการเมือง การวิเคราะห์วิจัยอีกมากมาย ให้เห็นภาพตรงนี้ด้วยเพื่อการรำลึกถึงประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ 24 มิถุนายน 2475 ถึง 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 ขบวนการแรงงานต่อสู้อย่างเข้มแข็ง เข้มข้นในการต่อสู้เพื่อสิทธิความเป็นธรรม และเผด็จการ เพื่อให้เกิดประชาธิปไตย ซึ่งทำให้ประวัติศาสตร์จารึกอดีตผู้นำแรงงานไว้หลายคน รวมถึงคนที่ยังมีชีวิตอยู่อย่างป้าแตงอ่อน เกาตีระ (ป้าน้อย) อดีตกรรมกรโรงงานทอผ้าเพชรเกษม ประวัติศาสตร์การต่อสู้ของแรงงาน เป็นประวัติศาสตร์การต่อสู้ของการเมืองไทย เป็นประวัติศาสตร์ที่คนหวั่นเกรงกรรมกรที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก หลายยุคหลายสมัยและปัญญาชนของแต่ละยุค จากการต่อสู้ที่อยู่เพียงแรงงานอย่างเดียว มีพี่น้องรัฐวิสาหกิจ แรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติที่เข้ามา กว่าจะมายืนตรงนี้ได้ผ่านขวากหนามอุปสรรค์มากมาย วันนี้ก็ยังมีอีกหลายกรณีที่ยังมีการต่อสู้ แต่เมื่อรวมกันเมื่อไรจะรู้ว่าทิศทางของขบวนการแรงงานนั้นมั่นคง เพื่อการต่อสู้ที่ไม่ใช่แค่เรื่องปากท้อง การต่อสู้ของผู้ใช้แรงงานเป็นการต่อสู้ทางการเมือง เป็นการต่อสู้ที่ประวัติศาสตร์จารึกไว้ว่าเป็นการต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงการเมืองไทย ไม่ว่าใครจะมีความพยายามที่จะปิดบังการต่อสู้อย่างไร แต่ผู้ใช้แรงงานจะไม่ยอมแพ้ ต้องเข้าใจว่าทำไมเขาถึงกลัวพลังแรงงาน
จากนั้นได้มีผู้นำแรงงานทั้งรุ่นเก่า รุ่นกลาง ถึง รุ่นใหม่ และญาติของวีรชนออกมากล่าวรำลึกในงานด้วย
ต่อมาช่วงบ่ายได้มีการจัดเสวนา “แรงงานอยู่ตรงไหนในประวัติศาสตร์ชาติไทย”
ศาสตราจารย์ ดร.พรรณี บัวเล็ก คณะศิลปศาสตร์(หลักสูตรการบริหารการจัดการองค์การ) มหาวิทยาลัยเกริกได้อภิปรายนำในหัวข้อ“แรงงานอยู่ตรงไหนในประวัติศาสตร์ชาติไทย”ว่า ประวัติศาสตร์แรงงานนั้น เกิดขึ้นมาตั้งแต่อดีต เมื่อเข้าสู่ยุคหินใหม่ และเมื่อผลิตการเกษตรก็มีการใช้แรงงานในการผลิต และมีความจำเป็นต้องหาเครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต จากนั้นก็มีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นมาเพื่อใช้ในการสื่อสาร ด้วยเมื่อมีการผลิตที่มากขึ้นก็มีการใช้ตัวอักษรมา บันทึกการผลิตจำนวนมากขึ้น และมีคนเพิ่มมากขึ้นจึงมีการสร้างกฎระเบียบกฎหมายมาควบคุม แล้วชนชั้นนำก็เป็นผู้ที่ควบคุมปัจจัยการผลิต เมื่อมีผลิตมากมีการแย้งชิงทรัพยากร มีการปล้นสะดม และมีการเกณฑ์คนมาใช้แรงงาน และมีการจัดการด้วยชนชั้นนำ วิวัฒนาการจากระบบไพร่ ทาสของไทย จากสมัยรัชกาลที่ 4 ก็มีการเปิดประเทศ แต่ไทยไม่ได้มีแรงงานจึงใช้แรงงานข้ามชาติ และสมัยรัชกาลที่ 5 ก็มีการยกเลิกระบบเกณไพร่ ทาส เมื่อมีการพัฒนาอุตสาหกรรมแรงงานก็มีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ จนปัจจุบันที่จะมีการพัฒนา เข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 จะเป็นอย่างไร สิ่งเหล่านี้จะเกิดได้เมื่อสังคมมีเสรีภาพ และหลุดพ้นจากสังคมอำนาจ ได้ชื่นชมในเสรีภาพที่มี
หากถามว่า แรงงานอยู่ตรงไหนในประวัติศาสตร์ชาติไทยนั้น การที่จะบันทึกประวัติศาสตร์ตังแต่อดีตมานั้นชนชั้นสูงเท่านั้นที่เป็นผู้บันทึกประวัติศาสตร์ เพื่อการตอกย้ำทางสำนึกชนชั้นซึ่งจะเห็นเพียงประวัติศาสตร์ของชนชั้นนำการปกครองเท่านั้น จึงไม่เคยมีการบันทึกประวัติศาสตร์ของชนชั้นแรงงานหรือประชาชนธรรมดาเลยจนเมื่อนี้ รศ.กุหลาบ สายประดิษฐ์ มาลงมือเพื่อบันทึกประวัติศาสตร์แบบชนชั้นสามัญ แต่ว่าในที่สุดก็ถูกรัชกาลที่ 5 ทำโทษอย่างหนักทีเดียว เพื่อไม่ให้มีการบันทึกประวิติศาสตร์ยังเป็นของชนชั้นนำเท่านั้นเป็นประวัติศาสตร์การบันทึกเพื่อที่จะมีการจดจำสรรเสริญชนชั้นสูง ซึ่งได้มีความพยายามที่จะมีการฟื้นฟูประวัติศาสตร์ชนชั้นล่าง ชนชั้นสามัญเมื่อประมาณ 20 กว่าปีที่ผ่านมา ด้วยการลงไปทำประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาท้องถิ่น คิดว่า การบันทึกประวัติศาสตร์เป็นเรื่องยากมากเพราะเป็นเรื่องเล่าของชนชั้นล่าง ที่ไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักอักษร เป็นประวัติศาสตร์บอกเล่าจากคนรุ่นต่างๆ การที่จะทำพื้นที่ประวัติศาสตร์ก็มีปัญหาเรื่องทุนที่มีอยู่น้อยและต้องหากินกันไปปีต่อปี ซึ่งตนได้พยายามทำพิพิธภัณฑ์ชาวนาที่บางเขน กำลังทำอยู่
คำถามว่า แรงงานมีประวัติศาสตร์หรือไม่นั้นซึ่งก็ได้กล่าวไปแล้วว่า เริ่มตั้งแต่ยุคแรกตามธรรมชาติก็ใช้แรงงานกัน จนมีวิวัฒนาการในการผลิต และก็ก่อเกิดชนชั้นนำเข้ามาจัดการกับปัจจัยต่างๆ รวมถึงแรงงานด้วย แต่การที่ไม่มีการบันทึกประวัติศาสตร์ทำให้ไม่เห็นรากเหง้า ไม่เห็นคุณค่าของแรงงาน ทำให้เหมือไม่มีตัวตน ด้วยการเรียนประวัติศาสตร์ก็จะเห็นเพียงประวัติศาสตร์ของชนชั้นนำในแบบเรียนหรือ การสื่อสารทั่วไปก็มีแต่เรื่องของชนชั้นนำในประเทศ เมื่อแรงงานไม่ได้เรียนรู้เรื่องของประวัติศาสตร์แรงงาน เพราะเรียนแต่ประวัติศาสตร์ชนชั้นสูง จนอาจถูกกลืนไปกับอีกชนชั้นหนึ่งไปด้วย เพราะไมเห็นไม่เข้าใจ ไม่ภาคภูมิใจในคุณค่าของตัวเองซึ่งคนจีนก็เหมือนกันที่ถูกกลืนนึกว่าตนเองเป็นชนชั้นสูงไปแล้ว เขาบอกว่ามนุษย์จะพัฒนาได้เมื่อเป็นคุณค่าของตนเอง และมนุษย์เห็นตัวเองตระหนักรู้ความเป็นตัวตน คุณค่าตัวเองก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลง หากไม่มีเสรีภาพไม่เห็นคุณค่าตัวเอง การที่จะให้ชนชั้นล่างหรือผู้ใช้แรงงานจะรู้ ก็ต้องมีการศึกษาเรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์ของตนเอง ชาวบ้านสามัญชนเป็นผู้สะสมด้านภูมิปัญญาทั้งสิ้น การหาอยู่หากินเป็นภูมิปัญญาทั้งสิ้น การอยู่รอดของชาวบ้านมีวิธีการที่จะอยู่รอด คนเมืองขาดอาหารแต่คนเมืองแต่ชาวบ้านไม่ขาดอาหาร กระบวนการที่จะทำให้ทุกคนมีประวัติสาสตร์ ใครจะทำให้ทุกคนทำได้บันทึกเองได้ มีการทำได้แรงงานสหภาพแรงงาน ในองค์กรก็บันทึกผู้นำแรงงาน สัมภาษณ์ บันทึกแรงงานการต่อสู่เรื่องเล่าเหล่านี้ เป็นความภาคภูมิใจขององค์กร ของขบวนการแรงงาน เป็นประวัติการต่อสู้ เพื่อตระหนักในคุณค่า แรงงานสามารถทำการวิจัยได้ทุกคน ไม่ต้องรอให้นักวิชาการมาทำให้ ลงมือบันทึกประวัติศาสตร์ได้ด้วยตัวเององค์กรทุนก็ต้องสนับสนุนด้วย ไม่ใช่ว่าสนับสนุนให้ทำแต่งานวิจัยเชิงพาณิชย์ เพื่อทราบเพื่อรู้องค์กรทุนไม่สนับสนุนแล้ว
นายประสิทธิ์ ค่ายกนกวงศ์ ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า มีการพูดถึงกันเสมอว่าแรงงานไม่มีประวัติศาสตร์ แต่เราต้องเชื่อมั่นว่า แรงงานมีประวัติศาสตร์ ความจริงประวัติศาสตร์ของแรงงานถูกละเลยเพราะมีสิ่งที่มามีอิทธิพลมากกว่า ซึ่งก็เกี่ยวข้องกับการเมือง กับการที่ต้องมีสิทธิ มีเสรีภาพตรงนี้ที่หายไป การวิจัยมากมายไม่ได้กล่าวถึงแรงงาน แต่แรงงานต้องมีการศึกษาประวัติศาสตร์แรงงาน ซึ่งเบื้องต้นต้องบอกต่อๆกันไปว่าเรามีพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย เป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์แรงงานที่มีการบันทึกประวัติศาสตร์แรงงานไว้แบบเป็นเรื่องเป็นราวและได้เรียนรู้จริงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันซึ่งในฐานะที่ปรึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ทางสหภาพแรงงานก็ได้บันทึกประวัติศาสตร์ตรงนี้ไว้ อยู่บ้าง และตนก็คิดว่าปัญหาของขบวนการแรงงานคือการบันทึกประวัติศาสตร์ที่ยังอ่อนมากเรื่องการบันทึกเก็บไว้
นายชินโชติ แสงสังข์ ประธานสภาองค์การลูกสภาแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เรื่องของประวัติศาสตร์บางครั้งก็รู้สึกน้อยใจเหมือนกัน ในฐานะผู้นำแรงงานกลางเก่ากลางใหม่ ว่าทำไมผู้ใช้แรงงานไม่สนใจเรียนรู้ประวัติศาสตร์ นอกจากถูกกลืน หรือถูกละเลยบ้าง ตนอยากบอกว่า คนงานไทยยุคนี้อายประวัติศาสตร์ตัวเอง ทุกท่านคงจำได้ว่า การก่อเกิดกระทรวงแรงงาน หรือการก่อเกิดประกันสังคม เป็นการได้มาจากการเรียกร้องของผุู้ใช้แรงงาน แม้ว่า ตัวเองจะมีหลายตำแหน่งแต่ก็ไม่ได้เป็นความพิศวาสของรัฐบาล หรือหน่วยราชการยุคนั้นแต่เกิดขึ้นเพราะว่าผู้นำแรงงานร่วมกันเรียกร้องให้เกิดกระทรวงแรงงาน และเกิดระบบประกันสังคม อีกไม่กี่ปีข้างหน้าคนในห้องนี้ก็จะลืมว่าได้มาจากการเรียกร้องของผู้ใช้แรงงาน แม้แต่ผู้นำแรงงานที่เสียชีวิตยังไม่กล้าบอกเลยว่าตนเองเป็นผู้ใช้แรงงาน และเป็นประธานสภาองค์การลูกจ้าง ทั้งที่ตอนเสียชีวิตยังดำรงตำแหน่งเป็นประธานสภาด้วยซ้ำไป ประวัติไม่มีเพราะลูกเมียรู้สึกอายที่สามี พ่อเป็นแรงงาน เป็นผู้นำแรงงาน นอกจากถูกกลืนถูกลบ บางทีก็อายกันเองด้วยว่า เป็นคนงาน ตอนนี้ประวัติศาสตร์แรงงานเป็นอากาศไปหมดเลย แต่ก็เหลือพิพิธภัณฑ์แรงงานอันเดียวที่พอจะบอกเรื่องราวบันทึกประวัติศาสตร์เท่าที่ทำได้ ตนขอฝากความรู้สึกไว้กับพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย แม้ว่าตนเองจะเลิกทำงานแรงงาน เพราะใฝ่ฝันว่าอยากไปเป็นนักการเมือง ซึ่งคิดว่าจะสมหวังในอีกไม่นานนี้ จึงคิดว่าควรมีการบันทึกประวัติศาสตร์แรงงานไว้ และผู้นำแรงงาน หรือผู้ใช้แรงงานไม่ควรอายประวัติศาสตร์ของตนเอง ตนเคยเป็นประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทยเป็นหนุ่มโรงงาน เคยยกเหล็ก อยู่โรงงานประกอบเบาะเป็นลูกศิษย์ ปรุง ดีสี ตนภูมิใจในความเป็นแรงงาน ไม่เคยลืมประวัติศาสตร์และคิดว่าควรบันทึกประวัติศาสตร์แรงงาน แล้วก็พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยนี่คือจุดศูนย์รวมประวัติศาสตร์ที่จะทำให้ประวัติศาสตร์ไม่มีการลบเลือนไป
นายปรุง ดีสี ที่ปรึกษาสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทยกล่าวว่า การที่ตนเองได้บันทึกเรื่องราวเอาไว้ในการเข้าร่วมประท้วงเรื่องข้าวสารแพง ด้วยการเขียนข้อมูลสั้นในการพูดเพื่อระดมคนเข้าร่วมชุมนุมได้ และจะสอนน้องผู้ใช้แรงงานอย่างไรให้ทำงานบันทึกข้อมูลทำทุกวันหรือเขียนบ่อยๆเพื่อให้สิ่งหนึ่งที่เป็นห่วงว่าประวัติศาสตร์ไม่มีบันทึก ทำให้แรงงานไม่มีประวัติศาสตร์ เพราะเราไม่เคยฝึกผู้นำถ่ายทอดประวัติศาสตร์ แต่ก่อนเป็นกรรมการสหภาพแรงงานชุดละ 1 ปี ตอนนี้มาปรับเป็น 2-3 ปี ปัญหาคือไม่เคยถ่ายทอดบทบาทหน้าที่ให้กันว่าหน้าที่กรรมการแต่ละคนมีอะไรบ้าง ตอนนี้ใครเป็นคนตั้งสหภาพแรงงานให้เขาก็จะเชื่อถือคนนั้นโดยไม่ทราบถึงประวัติศาสตร์ขบวนการแรงงานว่ามีการถ่ายทอดกันมาอย่างไร สิ่งที่ตนเองพยายามทำคือการบันทึกเหตุการณ์ต่างๆที่ผ่านมา แม้ว่าไม่ได้บันทึกเองก็มีการบันทึกโดยสื่อมวลชนด้วย ณ วันนี้เห็นด้วยว่าการที่มีพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยเป็นศูนย์บันทึกประวัติศาสตร์แรงงานไว้ และอยากเสนอว่าแต่ละองค์กรต้องช่วยกันบันทึกเรื่องราวขององค์กรตัวเองความเป็นมารากเหง้าขององค์กร พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยจะได้มีการจัดเก็บประวัติศาสตร์ไว้อย่างครบถ้วนมากขึ้น
นายทวีป กาญจนวงศ์ ประธานมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย กล่าวว่า ผู้นำแรงงานเป็นผู้สร้างประวัติศาสตร์กันทุกรุ่นไม่ว่าจะเป็นคนรุ่นเก่าหรือคนรุ่นใหม่ ตนเองก็ไม่รู้ประวัติศาสตร์เพราะไม่ได้มีการบันทึกประวัติศาสตร์ของตัวเองทั้งที่ช่วงที่ทำงานอยู่ที่รัฐวิสาหกิจการท่าเรือก็มีการต่อสู้หนักมาก มีเพื่อนที่ต้องหนีเข้าป่า มีผู้นำแรงงานต้องติดคุก แต่หากมีการบันทึกประวัติศาสตร์ไว้คงจะเป็นประโยชน์สำหรับขบวนการแรงงานไม่มากก็น้อย แม้ว่าจะเป็นคนที่อยู่ในประวัติศาสตร์บางทีเขามีการจัดเรื่องประวัติศาสตร์เราก็อยากเล่าให้คนฟังแต่เขาก็ไม่ค่อยเชิญให้ไปเล่า วันนี้ก็อยากเล่าเพื่อให้รู้กันว่าตนเองก็ไม่ธรรมดาเพราะเป็นนักต่อสู้คนหนึ่ง การต่อสู้มีถูกมีผิดอย่างน้อยก็เป็นบทเรียนใหเรียนรู้กันได้ ปัจจุบันสถานการทางการเมืองเศรษฐกิจเป็นอย่างไร ในอดีตนั้นทุกข์ยากมากเป็นเผด็จการสุดขั่ว แต่ยุคนี้ยังมีประชาธิปไตยนิดๆ ซึ่งจะเห็นว่าการต่อสู้ผู้ใช้แรงงานอยู่ท่ามกลางการต่อสู้มาตลอด ผู้นำแรงงานแต่ละยุคจะใช้ยุทธวิธีที่แตกต่างกัน มีความมุ่งมั่นในการต่อสู้ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดก็สามารถที่จะทำได้ ในบางยุคสมัยทำไม่ได้แต่มาในยุคของเราทำได้วันนี้ที่อาจารย์พรรณีมาพูดทำให้เห็นคุณค่าในประวัติศาสตร์ และความสำคัญของพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยด้วย ที่ๆอยู่ทุกวันนี้สังคม หรือว่าแรงงานจำนวนมากไม่รู้เลยว่าทำอะไร รู้สึกลึกซึ่งคัมภีรภาพ และจะลุกขึ้นมาเขียนประวัติศาสตร์ของตนเองบ้าง
รศ.ดร.นภาพร อติวานิชยพงศ์ สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การเข้ามาในขบวนการแรงงานช่วงแรกก็เข้ามาทำงานด้านข้อมูลประวัติศาสตร์ เมื่อประมาณ 30 ปีแล้ว ทำให้ทางมูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน ได้ใช้ความรู้บางส่วนในการบันทึกประวัติศาสตร์ มีการทำงานวิจัยหลายเล่ม เป็นงานบุกเบิก ซึ่งก็รู้สึกว่ามันยากเนื่องจากเอกสารไม่มี ซึ่งคนที่ให้ ซึ่งก็มีปัจจัยอื่นที่จะทำให้คนสนใจและเอามาบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ เช่น หากเป็นประวัติศาสตร์ชนชั้นสูงก็เข้าใจได้ว่า ทำไมไม่มีประวัติศาสตร์ของแรงงาน หรือชนชั้นล่าง แต่ที่เห็นแม้ว่าประวัติศาสตร์ที่ไม่ได้บันทึกในชนชั้นสูงแต่แรงงานก็ยังหล่นหายไปจากประวัติศาสตร์ หากไปอ่านประวัติศาสตร์จากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 กับ 6 ตุลาคม 2519 ประวัติศาสตร์นี้มีความครบถ้วน แม้ว่าจะมีเรื่องราวของประวัติศาสตร์นักศึกษามาหน่อยก็ตาม แต่คนที่เขียนก็จะมีการกล่าวถึงการเคลื่อนไหวของกรรมกร และชาวนา แต่พอประวัติศาสตร์หลัง 6 ตุลามา คิดว่าเรื่องของกรรมกรเริ่มจะหายไป ทั้งที่บทบาทการเคลื่อนไหวของขบวนการแรงงาน หรือสหภาพแรงงานค้อนข้างจะมีความต่อเนื่องกว่าขบวนการอื่นๆโดยเปรียบเทียบ เพราะสหาภาพแรงงานมีการอยู่ต่อมาตลอด และแม้ว่าชาวนานักศึกษาจะหายไป นักศึกษายังต่อสู้อยู่บ้าง แต่เมื่อการกลับมาของชาวนาก็สามารถทำให้คนเข้าไปบันทึกประวัติศาสตร์ได้ ที่เห็นคือการมารวมกันเป็นสมัชชาคนจนส่วนใหญ่เป็นคนชนบท แรงงานไม่ได้เข้าไปอยู่ร่วมกับสมัชชาคนจนในช่วงนั้นมีส่วนของเครือข่ายผู้ป่วยจากการทำงาน จากการเคลื่อนไหวของสมัชชาคนจน ทำให้นักศึกษา มาศึกษาวิทยานิพนจำนวนมากทำไมกรณีแรงงานไม่มีคนมาศึกษา กรณีนักศึกษาก็เช่นกันว่า การเคลื่อนไหวน้อยมากแต่มาเมื่อไม่นานนี้น่าแปลกกรณีนิสิจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคนหนึ่ง ได้รับเลือกเป็นประธานสภานิสิตนักศึกษา แม้แต่นายกรัฐมนตรียังพูดออกสื่อ ซึ่งรู้สึกว่าสำคัญมากเลยถึงขนาดนายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงเด็กคนนี้ แล้วประธานสภาองค์การลูกจ้างใครเป็นประธานไม่เห็นนายกรัฐมนตรีสนใจกล่าวถึง ก็เป็นข้อคิดว่าแรงงานขาดอะไรไปทำให้รัฐ สังคมไม่สนใจ ซึ่งการจัดงานหลายสิบปีที่ผ่านมาการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติที่มีการจัดหลายขบวน แต่ขบวนสภาองค์การลูกจ้าง เรื่องคำขวัญราว 10 ปีให้หลังไม่มีคำขวัญอะไรที่เกี่ยวกับแรงงานเลย เป็นเรื่องอื่นซึ่งน่าแปลกมา รูปแบบขบวนที่จัดยังเหลือรูปแบบของแรงงานอยู่หรือไม่ทั้งที่เป็นงานของแรงงานเองแท้ๆแต่สิ่งที่นำเสนอออกมากลับไม่เหลือเรื่องชนชั้นแรงงานเลยกลับไปเสนอเรื่องอื่นเป็นสิ่งที่น่าคิดแล้วอนาคตจะบันทึกประวัติศาสตร์อย่างไร
นางสาวธนพร วิจันทร์ ประธานกลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง กล่าวว่า แรงงานไม่เคยถูกกล่าวถึงคุณค่าในฐานะผู้สร้างโลก หรือผู้พัฒนาเศรษฐกิจ การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของแรงงานคือประวัติศาสตร์สถาบัน ชนชั้นนำเท่านั้น ความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ชนชั้นล่าง ชนชั้นแรงงานไม่มีทำให้ไม่ตระหนักถึงคุณค่า แต่ด้วยปัญหาที่ไม่ได้มีการนำภาพของประวัติศาสตร์มาเรียนรู้ทางจิตรสำนึกกัน ปัญหาวิธีคิดมีความแตกต่างเข้ามาตลอด คำว่าแรงงานไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง การต่อสู้ทางการเมืองไม่มีการพูดถึง และการต่อสู้ก็แยกกันตามที่เขาให้แยกกัน เช่นเขาเขียนกฎหมายแยกแรงงานรัฐวิสาหกิจออกจากแรงงานเอกชนก็แยกกัน การจัดงานวันกรรมกรสากลก็แบ่งเป็น 2 เวที มีการจัดงานวันกรรมกรสากล และวันแรงงานแห่งชาติ แยกกันทั้งที่ปัญหาที่เจอเป็นเรื่องเดียวกัน และการเมืองแบบไหนที่ทำให้เรามีอำนาจต่อรอง มีเสรีภาพ และต้องเป็นระบบประชาธิปไตย เพราะสหภาพแรงงานก็เป็นระบบประชาธิปไตยเบื้องต้นมีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารเป็นระบบประชาธิปไตย นั้นหมายความว่าประเทศต้องเป็นระบบประชาธิปไตยเพื่อสิทธิขั้นพื้นฐาน ขบวนการแรงงานต้องมีการปรับขบวนการแรงงานต้องปรับวิธีคิดใหม่ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ต้องมาทำงานร่วมกัน
นายถนัสถา คำมาวงศ์ ประธานสหภาพแรงงานสยามโตโยต้ากล่าวว่า ประวัติศาสตร์เขียนแล้วต้องมีทุกคน การเขียนประวัติศาตร์ต้องไม่บิดเบือน แต่ก็จะเห็นว่าบางทีใครเขียนก็บิดเบือนประวัติศาสาตร์ ใครเขียนก็เพื่อเขาเท่านั้น ประวัติศาสตร์ต้องมีการแยกย่อยออกมาเป็นส่วนๆ ภาพรวมอยู่ตรงกลาง แต่ต้องมีภาคย่อยๆออกมากด้วยแต่ละสาขา พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยเป็นศูนย์กลาง ในการรวบรวมประวัติศาสตร์แรงงานเอาไว้
นายสุวิช สุมานนท์ ประธานสมาพันธ์คนงานรถไฟ กล่าวว่า ตนทำงานอยู่รัฐวิสาหกิจรถไฟความสำคัญของประวัติศาสตร์นั้นจะทำให้เราเห็นอนาคต หากไม่รู้ประวัติศาสตร์เราก็ไม่รู้อนาคต ฉะนั้นประวัติศาสตร์จะสอนให้รู้สิ่งผิด สิ่งถูก เพื่อนำไปสู้การพัฒนา การที่มีการบันทึกประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่ดี เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ได้เรียนรู้แล้วเดินหน้า ขณะที่เรากำลังพูดคุยกันในพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ซึ่งถือเป็นหน่วยงานองค์กรที่รวบรวมประวัติศาสตร์ของคนที่ใช้แรงงาน เพราะแรงงานคือผู้พัฒนาโลก พัฒนาชาติ ถ้าเรียนรู้ประวัติศาสตร์ด้วยการบันทึกประวัติศาสตร์ของแต่ละสาขาอาชีพที่ทำจากองค์กรของตนเอง แล้วนำมาเรียงร้อยเป็นประวัติศาสตร์แรงงานร่วมกัน ทำให้คนในสังคม หรือชนชั้นนำได้เห็นประวัติศาสตร์ว่าหากโลกนี้ไม่มีแรงงานจะมีความเจริญรุ่งเรืองได้อย่างไร ต้องมีการบันทึกจากปัจจุบัน เพราะทุกองค์กรมีประวิตศาสตร์ของตนเองแล้วเรียกร้องประวัติศาสตร์เข้าด้วยกัน เพื่อนำไปสู่การยกระดับแรงงานและเข้าไปสู่การมีอำนาจในการต่อรองให้เห็นความสำคัญ เพราะชนชั้นนำเขาไม่เห็นความสำคัญของแรงงานเพราะเราเองก็ไม่เห็นความสำคัญของตนเองด้วย เราต้องสร้างความภาคภูมิใจเห็นความสำคัญของตนเองแล้วส่งเสียงให้เขาได้เห็นความสำคัญของแรงงาน และยืนอยู่บนโลกนี้ได้อย่างมีศักดิ์ศรีทัดเทียมชนชั้นนำได้เช่นกัน
รายงานโดย วาสนา ลำดี