สมาพันธ์คนงานรถไฟ(สพ.รฟ.)ได้ออกแถลงการณ์ต่อผู้บริหาร “ขอให้ยุติการตั้งบริษัทลูกในการรถไฟแห่งประเทศไทย”
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2560 สมาพันธ์คนงานรถไฟ(สพ.รฟ.)ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 3 เรื่อง “ขอให้ยุติการตั้งบริษัทลูกในการรถไฟแห่งประเทศไทย” ต่อผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยมีเนื้อหา ข้อเสนอดังนี้
ความพยายามของกลุ่มทุน นักธุรกิจ และนักการเมือง รวมทั้ง รัฐบาลในแต่ละยุคสมัยที่ได้ใช้ความ พยายามอย่างไม่ลดละในการเข้ามาแสวงหาประโยชน์ในการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)ด้วยวิธีการและ รูปแบบต่างๆ โดยการผลิตซ้ำวาทกรรมครั้ง แล้วครั้ง เล่าว่าการรถไฟฯขาดทุน บักโกรก เป็นหนี้กว่าหนึ่งแสนล้านบาท โดยไม่มีใครเลยซักคนทั้งผู้บริหารประเทศ รัฐมนตรีหรือแม้กระทั้งผู้บริหารในการรถไฟฯที่จะกล้าเสนอ ความจริงแท้ถึงสาเหตุของการขาดทุนจนเป็นหนี้สะสมมหาศาลจากการให้บริการในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุน อย่าง มาก และรวมทั้งต้องรับภาระโครงการประชานิยมเรื่องรถไฟฟรี รัฐก็ละเลยในการสนับสนุน แม้กฎหมายการ รถไฟฯพ.ศ.2494 (มาตรา 43) จะมีบทบัญญัติให้รัฐชดเชยให้เท่าจำนวนที่ขาด แต่รัฐก็เพิกเฉยต่อกฎหมาย เองด้วยการชดเชยอย่างล่าช้าและไม่เต็มตามจำนวนด้วยข้ออ้างสารพัด จนการรถไฟฯขาดสภาพคล่องต้องกู้ เงินมาเพื่อให้กิจการของการรถไฟฯดำเนินต่อไปได้ซึ่งต้องรับภาระดอกเบี้ย เงินกู้กว่า3,000 ล้านบาทในแต่ละ ปี และบีบบังคับให้การรถไฟฯนำกิจการและที่ดินไปแลกกับหนี้ ในขณะที่ผู้นำประเทศประกาศซ้ำซากต่อ สาธารณะว่า จะใช้หลักนิติธรรม นิติรัฐในการนำพาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ที่สุด แล้วจะไปได้อย่างไร กันแม้หน่วยงานของรัฐเองยังถูกกระทำถึงเพียงนี้วาทกรรมที่ผลิตซ้ำ เพื่อแปรรูปการรถไฟฯจึงบรรลุผ่านเป็น มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2559 ทั้ง เรื่องปรับโครงสร้างภายในองค์กร(ให้จัดตั้งบริษัทลูก 3 บริษัทโดยการรถไฟถือหุ้น 100 เปอร์เซ็นต์ คือบริษัทเดินรถ บริษัทซ่อมบำรุงทางและล้อเลื่อน และ บริษัท บริหารทรัพย์สิน) ตั้งหน่วยงานขึ้น มากำกับดูแล(กรมขนส่งทางราง) และออกกฎหมาย(ร่าง พ.ร.บ.การขนส่ง ทางราง พ.ศ. ….)บีบบังคับ ให้ยกกิจการให้เพื่อให้สามารถนำกิจการทั้งทางราง สถานี ที่ดิน และการเดินรถให้ เอกชนเข้ามาร่วมการแข่งขันกับการรถไฟฯได้ และจะกำหนดกติกาว่า ด้วยมาตรฐานการให้บริการ เรื่องราคาค่าโดยสาร ค่าระวางสินค้าเอง ซึ่งที่สุดแล้ว การรถไฟแห่งประเทศไทยที่ดำเนินงานให้บริการการขนส่งทางรางมา ยาวนานกว่า 120 ปี มีรางและเส้นทางมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับการขนส่งทางรางรายอื่น ทรัพย์สินของ การรถไฟฯก็จะถูกยึดคืนไปด้วยวาทกรรมใส่ร้าย ป้ายสี การรถไฟฯและคนรถไฟสารพัดมาอย่างยาวนาน หากการรถไฟฯดำเนินการตามมติ ครม.27 ธันวาคม 2559 การรถไฟฯก็จะมีสถานะเป็นเพียงผู้ประกอบการ ขนส่งทางรางรายหนึ่งเท่านั้น ที่ต้องแข่งขันกับเอกชนรายอื่นๆบนทางรางและทรัพย์สินที่ตนเองเคยเป็นเจ้าของ
ด้วยการศึกษาอย่างละเอียดรอบคอบของ สพ.รฟ.เห็นว่า การออกร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ. ….และการจัดตั้ง บริษัทจะมีผลกระทบต่อความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอย่างมากต่อการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่ง ก่อนหน้านี้ สพ.รฟ.ได้ยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อยุติ การผ่านร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ. …. และการจัดตั้งบริษัท พร้อมยื่นข้อเสนอต่อการปฏิรูปการรถไฟฯ โดยไม่จำเป็นต้องตั้งบริษัทสพ.รฟ. จึงเสนอต่อผู้บริหารการรถไฟฯดังนี้
- ขอให้หยุดดำเนินการจัดตั้งบริษัทเดินรถและบริษัทซ่อมบำรุงรางและล้อเลื่อนเพราะจะมี ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อการรถไฟฯในอนาคตและจะมีผลกระทบต่อประเทศชาติ ประชาชน รวมทั้งพนักงานและครอบครัว
- การจัดตั้ง บริษัทบริหารทรัพย์สิน หากมีความจำเป็นเพื่อบริหารจัดการที่ดินและทรัพย์สิน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่ทั้งนี้การดำเนินการ หรือการจัดตั้งบริษัทดังกล่าวต้องมั่นใจได้ว่ารายได้ จากการพัฒนาที่ดินและทรัพย์สินจะต้องนำส่งการรถไฟฯเพื่อพัฒนากิจการรถไฟฯ
- ขอให้การรถไฟฯชี้แจ้งต่อสาธารณะอย่างเป็นทางการ ถึงสาเหตุของการขาดทุนและเป็นหนี้สะสมกว่าแสนล้าน จนสังคมเข้าใจผิดว่าพนักงานรถไฟไม่มีประสิทธิภาพ ด้วยคำเปรียบเปรยว่า “ห่วย” ซึ่งกระทบต่อขวัญ กำลังใจ และศักดิ์ศรีของพนักงานรถไฟมาเป็นเวลานาน และที่สำคัญการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2559 เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารจัดการที่จะนำไปสู่การแปรรูปการรถไฟฯในอนาคต ซึ่งถือเป็นการ ขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่การรถไฟฯตกลงกับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่ง ประเทศไทย(สร.รฟท.)นับตั้งแต่ปี 2543 และ ทุกครั้งที่มีการเจรจาและตกลงกันจนถึงปี 2552 ซึ่ง สาระของข้อตกลงคือ “การปรับโครงสร้างภายในการรถไฟฯต้องตกลงกับ สร.รฟท.ก่อน”ซึ่งขณะนี้ สร.รฟท.อยู่ระหว่างการเลือกตั้ง คณะกรรมการชุดใหม่แทนชุดเก่าที่หมดวาระลงตั้งแต่ปี 2559 สมาพันธ์คนงานรถไฟ(สพ.รฟ.)ขอให้พนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)ต้อง ร่วมกันแสดงพลังด้วยการแสดงออกถึงความไม่เห็นด้วย ซึ่งหากการดำเนินการใน รฟท.สำเร็จ ก็จะส่งผลกระทบต่อหน่วยงานในกิจการขนส่งทางรางของรัฐต่อไป นั่นหมายถึงจะกระทบต่อพี่น้อง ประชาชนผู้ใช้บริการดังนั้นทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันเพื่อหยุดกระบวนการดังกล่าว ด้วยความเชื่อมั่นในพลังของคนรถไฟ