การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมเพื่อแรงงาน

just transition หรือการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม คืออะไร และเกี่ยวอะไรกับแรงงาน หรือคนไทย ขออธิบายแบบง่ายๆ และนำประสบการณ์ในประเทศที่พัฒนาแล้วมาให้เรียนรู้กันในบทความชิ้นนี้ เพื่อให้เห็นภาพกัน จากสภาพปัญหาที่ทั่วโลกกล่าวถึงกัน คือ สภาวะโลกที่เราทุกคนอาศัยปัจจุบัน มีอุณหภูมิที่เปลี่ยนไปจากเดิมนักวิทยาศาสตร์จะพาพวกเราไปยังขั้วโลก แล้วอธิบายโดยให้ดูจากภาพน้ำแข็งที่กำลังละลาย หรือภูเขาน้ำแข็งที่พังทลายลงสู่ทะเลและนำมาสู่การกล่าวถึงเรื่องน้ำท่วมโลก สิ่งที่ทำให้เห็นคือระดับน้ำทะเลที่สูงเพิ่มขึ้น เราจะได้ยินเรื่องน้ำทะเลหนุนสูงในบ้านเรา จนถึงคำว่า กรุงเทพอาจกลายเป็นเมืองบาดาลในอีกไม่ช้า ซึ่งนำมาซึ่งกระแสทั่วโลกในการรณณรงค์ เพื่อลดภาวะโลกร้อน

ประเทศไทยเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ได้มีการจัดส่งเงินสมทบที่กำหนดไว้ในระดับประเทศ (INDC) โดยตั้งใจจะ “ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 20 แผนแม่บทด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย (พ.ศ. 2555 – พ.ศ. 2593) ได้มีการจัดทำเป็นกรอบนโยบายบูรณาการและแผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนการริเริ่มการเตรียมพร้อมในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อให้สอดคล้องกับบริบททางเศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรมของไทย แล้วในบริบทการเปลี่ยนผ่านเพื่อให้บรรลุเป้าหมายกรอบนโยบายบูรณาการและแผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่นำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงนั้นทำอย่างไร จากข้อมูลจากสถาบันทรัพยากรโลก ระบุว่า ประเทศไทยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ในอันดับที่ 26 ของโลกในปี พ.ศ.2555 หรือคิดเป็น 375.5 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งเป็นอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นถึง 119% เมื่อเทียบกับปี 2533(อ้างต่อ สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม GreenNews)

just transition หรือการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม เกี่ยวกับแรงงานอย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้ กระแสสากลที่มีการออกมากล่าวถึง การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมต่อแรงงานนั้นด้วย การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมสำหรับทุกคน ทั้งต่อเศรษฐกิจที่ยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม ต้องได้รับการจัดการอย่างดีและมีส่วนร่วมของสังคม และคนงาน  โดยมีเป้าหมายที่ดีสำหรับทุกคน การรวมตัวของสังคมเพื่อการขจัดความยากจน “แนวทางสำหรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน ” เป็นแนวคิดและหลักการสำคัญขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO. พ.ศ. 2558) ซึ่งตัวอย่างของการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม ในทศวรรษที่ 1990 สหภาพอเมริกาเหนือเริ่มพัฒนาแนวความคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลง ในขั้นต้น สหภาพแรงงานเข้าใจถึงการเปลี่ยนผ่าน จึงมีการจัดทำโครงการสนับสนุนคนงานที่ต้องเสียงาน เนื่องจากนโยบายการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม สหภาพแรงงานเห็นเพียงการเปลี่ยนแปลง ที่มุ่งเน้นการลดการจ้างงานลงในภาคอุตสาหกรรมหนัก เช่น อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกันถ่านหิน ซึ่ง “การสูญเสียงานไม่ใช่ผลโดยอัตโนมัติจากนโยบายสภาพภูมิอากาศ แต่เป็นผลมาจากการขาดการลงทุนนโยบายทางสังคมและความคาดหมาย” Rosemberg (2010)

Just transition –Why-We-Need look-We leap หรือการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม ทำไมต้องทำแบบก้าวกระโดด ซึ่งทาง  Pierre Ducasse and Matthew Firth | CUPE Communications ได้มีการรณรงค์ และมีการอภิปราย ระบุมาตรการด้านนโยบายหลายประการ ที่ทุกคนสามารถร่วมก้าวกระโดด ที่สะอาด และง่ายต่อการมีงานใหม่ในการดำรงชีวิตในระบบเศรษฐกิจที่ยั่งยืนมากขึ้น คือเหตุผลที่สหภาพแรงงานให้ความสำคัญกับแนวคิด “Just transition” โดยการเปลี่ยนผ่านนั้น ตามหลักการที่ว่าทุกคนควรต้องแบ่งปันเป็นการเปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจที่ยั่งยืน ซึ่งคนงานที่สูญเสียงาน (ตกงาน) ควรได้รับการพัฒนาทักษะเพื่อชดเชยการเสียโอกาสในการทำงาน และต้องได้รับการสนับสนุนอื่นๆโดยคนงานต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เนื่องจากการเปลี่ยนผ่านต้องส่งผลกระทบต่อพวกเขา

ในประเทศแคนนาดามีการโครงการเปลี่ยนผ่าน ด้วยการประกันการจ้างงาน การพัฒนาทักษะเพื่อให้เป็นแรงงานฝีมือเพิ่มโอกาสในการหางานใหม่ หรือโอนย้ายงาน เปลี่ยนงานที่มีคาร์บอนสูงที่ส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน หรือเป็นมลพิษ ไปสู่การทำงานในประเภทกิจการงานคาร์บอนต่ำ โดยมองว่าการพัฒนาไม่ใช่เพียงแต่นายจ้าง ผู้ลงทุนกับรัฐบาลเท่านั้น ควรมีผู้ที่มีส่วนได้เสียทุกส่วนด้วย เพื่อช่วยกันเปลี่ยนผ่านเพื่อความเป็นธรรมไปสู่เศรษฐกิจอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำที่ยั่งยืน ซึ่งภาครัฐนั้นมีบทบาทอย่างมากในการที่จะเป็นผู้ออกกฎในการควบคุมการลงทุน ถึงการผลิตพลังงานทดแทน การขนส่งสาธารณะ และโครงสร้างพื้นฐานใหม่ ด้วยเราคงไม่สามารถทิ้งอนาคตของเราไว้ในอุ้มมือของกลุ่มทุน การตลาดหากเศรษฐกิจตกต่ำ เพราะการทำลายสิ่งแวดล้อม ของกลุ่มทุน ซึ่งต้องมีความยุติธรรมทางสังคมด้วยในการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นชุมชน แรงงาน หากการสร้างเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต้องนำพาไปสู่ความยากจน และการยกเว้นในการที่จะเปลี่ยนผ่านเพื่อความเป็นธรรมจนแทบเรียกว่าไม่สำเร็จในการเปลี่ยนผ่าน CUPE มีความคิดว่า การเปลี่ยนผ่านจำเป็นต้องมีการทำความเข้าใจ และ การต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่สามารถทำได้โดยใช้แรงงาน หรือประเทศที่กำลังพัฒนา การทำข้อตกลงในการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจที่ปราศจากคาร์บอนไดออกไซด์ สิ่งที่จูงใจทางการเงินสำหรับประเทศที่ยากจน การเปลี่ยนผ่านแบบก้าวกระโดด ต้องมีการวางแผนและมีระยะเวลาการดำเนินการ แต่หากประสบความสำเร็จดำเนินการต้องมองไปข้างหน้าก่อนที่จะลงมือทำ

อีกตัวอย่าง Sharan Burrow เลขาธิการ ITUC  กล่าวถึงการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม ต้องคำนึงถึงความต้องการของการเปลี่ยนแปลง ของแรงงาน และการสร้างงานที่ดี มีคุณภาพตามลำดับความสำคัญในการพัฒนาประเทศที่กำหนดไว้ในข้อตกลงปารีส ปี2015  ไม่ต้องสงสัยเลยว่าโลกคาร์บอนเป็นศูนย์ เป็นไปได้ แต่ต้องมีทางเลือกในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมจะทำให้เกิดความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมตลอดจนการทำงานที่ดี การรวมตัวทางสังคมและการกำจัดความยากจน นี่คือข้อตกลงปารีส ต้องการแผนแห่งชาติ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ซึ่งรวมถึงเรื่องมาตรการเกี่ยวกับการจ้างงานที่มีคุณภาพ

การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมจะปกป้องความกลัว การต่อต้านและความขัดแย้งระหว่างชุมชน และชนชั้น แรงงานต้องเห็นอนาคตแม้มีภัยคุกคามความมั่นคงในการมีงานทำ มีความปลอดภัย และมีโอกาส มีเหตุการณ์ที่อาจช่วยให้มองโลกในแง่ดี ในสหภาพยุโรป มีการใช้พลังงานหมุนเวียนอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 50 ของการจัดหาพลังงานภายในปี 2030 ทั่วโลกภาคพลังงานหมุนเวียนใช้กำลังคน 8.1 ล้านคน ในปี 2015 มีอีก 1.3 ล้านคนที่เข้าทำงานที่โรงฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ อุตสาหกรรมหนักมักมีทางออกสำหรับการลดการปล่อยมลพิษ ขณะนี้ Dalmia ซึ่งเป็นบริษัทปูนซีเมนต์ของอินเดียกำลังผลิตปูนซิเมนต์ผสมใหม่ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมทั่วโลกร้อยละ 50

การเปลี่ยนแปลง หรือการเปลี่ยนผ่านต้องมีแผนและนโยบาย คนงาน และโรงงานที่ต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิสจะไม่สามารถหาแหล่งราย หรือพลังงานอื่นๆได้เพียงชั่วข้ามคืน นี่คือเหตุผลที่การเปลี่ยนแปลงไม่ได้แค่ลดปริมาณมลพิษในภาคอุตสาหกรรม แต่เป็นเรื่องของงานใหม่ในอุตสาหกรรมใหม่ ทักษะใหม่ การลงทุนใหม่ และโอกาสในการสร้างเศรษฐกิจให้เกิดความเสมอภาคและคล่องตัวมากขึ้น