นักวิชาการชี้ ร่างกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ กรอบคิดคับแคบ ไม่สอดรับอนุสัญญาILO 87 และ 98

วงเสวนาร่างพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฉบับ 6 มีนาคม 2560 : ก้าวไปข้างหน้าหรือย่ำอยู่กับที่เสนอ เสนอ“ยึดหลักการมีกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ฉบับเดียว” ยกร่างใหม่ใช้หลักการเดียวกันครอบคลุมถึงแรงงานทุกภาคส่วน แสดงเจตนารมณ์สอดรับหลักการอนุสัญญาILO ฉบับที่ 87 และ98

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 กรกฎาคม 2560 คณะกรรมการสมานฉันแรงงานไทย (คสรท.) ร่วมกับ โซลิดาริตี้เซ็นเตอร์ประเทศไทย (SC) จัดเสวนา เรื่อง “ร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฉบับที่ 6 มีนาคม 2560 : ก้าวไปข้างหน้าหรือย่ำอยู่กับที่” มีผู้เข้าร่วมประมาณ 100 กว่าคน ที่ โรงแรมฮอลลิเดย์อินน์สีลม กทม. โดยเวทีเสวนาได้มีผู้แทนกระทรวงแรงงาน ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง และนักวิชาการมาร่วมให้ข้อคิดเห็นดังนี้

นายณรงค์ฤทธิ์ วรรณโส ผู้แทนกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2560 คณะทำงานพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงแรงงานได้แก้ไขร่างกฎหมายอีกหลายครั้งหลังรับฟังความคิดเห็น ด้วยพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 บังคับใช้มานาน มีประเด็นที่กระทรวงแรงงานต้องไปดูเพิ่มเติมการวางหลักเกณฑ์การการยื่นข้อเรียกร้อง ขบวนการไกล่เกลี่ย การคุ้มครองสิทธิฝ่ายถูกการะทำ ลูกจ้าง นายจ้าง การฟื้นฟูเยียวยาให้มีกลไก และรัฐสามารถเข้าไปดูแลในแง่ของกฎหมาย กระทรวงแรงงานถือมีความก้าวหน้า ในร่างพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฉบับของกระทรวงแรงงาน โดยมีกระบวนการยื่นข้อเรียกร้อง มีรายละเอียด มีความยืดหยุ่น เช่นที่ปรึกษาไม่ต้องมีบัตร แต่ทางกระทรวงก็มีความหนักใจประเด็นเรื่องสัญชาติและได้จัดเวทีประชาพิจารณ์มา 2 ครั้ง  ฝ่ายนายจ้างก็ไม่เห็นด้วย

ทางกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ยินดีรับฟังความคิดเห็นทุกฝ่าย ซึ่งสามารถเพิ่มเติมความเห็นข้อมูลรับฟังความคิดเห็นชั้นกฤษฎีกา หรือชั้นกรรมาธิการ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 77ที่กำหนดว่า “ รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ และเปิดเผยผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นต่อประชาชน”

ขณะนี้กระทรวงแรงงานได้ลงนามรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)ฉบับที่ 111 ว่าด้วยการเลือกปฏิบัติในการจ้างงานและอาชีพ ส่วนอนุสัญญาอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)ฉบับที่ 98 มีแนวโน้มที่จะรับรอง ขณะนี้รอฝ่ายบริหารกระทรวงพิจารณา โดยหลักการอนุสัญญาอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 และ 98 เขียนไว้ดีเนื้อหาคลาสสิก เขียนเป็นหลักการรับรองสิทธิเสรีภาพ แต่ก็ยังคำนึงถึงเรื่องรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง

อาจารย์ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา ที่ปรึกษาในการจัดทำร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฉบับบูรณาการแรงงาน กล่าวว่า เหตุผลการทำร่างกฎหมายเป็นเรื่องสำคัญ เป็นเรื่องสิทธิพื้นฐานที่ดีเป็นสังคมที่มีความเป็นประชาธิปไตย รัฐควรปรับแก้กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ให้สอดรับกับอนุสัญญาILOฉบับที่ 87 และ 98 คุยกันในกรอบใหญ่ ซึ่งสามารถทำได้รับรองอนุสัญญาแล้วค่อยปรับแก้ เพราะไม่ใช่เรื่องร้ายแรงอะไร ซึ่งมีหลายๆประเทศที่รัฐบาล รับรองอนุสัญญาแล้วถึงปรับแก้ การให้สัตยาบันเป็นเรื่องความเชื่อเป็นการเคารพสิทธิ “ถ้าคิดว่ามันสำคัญก็ต้องเชื่อมั่น” ระบบแรงงานสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่ง เรื่องจารีต ในประเทศแถวยุโรปเค้ายกระดับการเจรจา ต่อรองแบบระบบอุตสาหกรรม สำหรับชาติที่มีประชาธิปไตยจะส่งเสริม เสรีภาพ และสิทธิในการรวมตัวเพื่อเจรจาต่อรอง

พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ทางกระทรวงต้องหาทางปรับ เช่น ประเด็นกรรมการส่งเสริม ระบบตัวแทนของคนงาน โดยคนงานต้องเป็นคนเลือกเอง และบทบาทกฎหมายยังไม่สอดรับกับอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98  เพราะกรอบความคิดยังคับแคบเกินไป

นายสนธยา เผ่าดี ประธานชมรมผู้บริหารบุคคลธุรกิจอุตสาหกรรมยายยนต์และชิ้นส่วน (MAC) กล่าวว่า ปัจจุบันสถานการณ์นายจ้างที่จ้างแรงงานไทย ในส่วนตัวจะอยู่ในส่วนของอุตสาหกรรมชิ้นส่วน และไม่ค่อยมีความกังวลใจอะไร เพราะมีการพูดคุยบนกรอบพื้นฐานปัจจัยและรูปแบบ ส่วนนายจ้างที่จ้างแรงงานข้ามชาติจะมีปัญหาภายใน มีความกังวลใจอย่างมากส่งผลต่อธุรกิจ เพราะเหตุการณ์บังคับใช้กฎหมายปัจจุบัน

ประเด็นการเพิ่มหมวด 5 มาตรา 55 ว่าด้วยคณะกรรมการส่งเสริมการแรงงานสัมพันธ์ ประกอบด้วยปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนสภาองค์การนายจ้าง ผู้แทนสภาองค์การลูกจ้าง ฝ่ายละ 5 คน ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในด้านแรงงานสัมพันธ์เป็นที่ประจักษ์ไม่น้อยกว่า 5 ปีจำนวน 3 คน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานแต่งตั้งเป็นกรรมการ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ข้าราชการ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งจำนวนไม่เกิน 2 คน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ ซึ่งก็มีความกังวลใจ เรื่องสัดส่วนไม่ครอบคลุมระดับจังหวัด ภูมิภาค และประเทศ จะส่งผลดีต่อนายจ้างลูกจ้างอย่างไรดี “หลักสุจริต” ประกอบด้วยอะไร? ต้องทำอย่างไร? หลักเกณฑ์วิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งผู้แทน สภาองค์การนายจ้าง ผู้แทนสภาองค์การลูกจ้าง และผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด ส่วนตัว ตนเองมีมุมมองเน้นเตรียมความพร้อม หลักการ องค์ความรู้ ความสามารถที่จะมาทำงานทั้ง 3 ฝ่าย

อาจารย์สุนี ไชยรส อดีตคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) กล่าวว่า ภาพรวมการขับเคลื่อนกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ หลักใหญ่ทำไมรัฐไม่รับรองอนุสัญญาILO ฉบับที่ 87 และ 98 เพื่อเป็นธงนำ เพราะขณะนี้นายจ้างก็ไม่ได้ติดใจ และมาตรา 4 “กิจการรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เว้นแต่การที่สหพันธ์แรงงานเข้าเป็นสมาชิกสภาองค์การลูกจ้างตามมาตรา125” ไม่ตอบโจทก์ หน่วยงานต่างๆไม่สามารถตั้งสหภาพ “เว้นแต่” รัฐธรรมนูญมาตรา 77 ทำได้ แต่ว่า มาตรา 4 กฎหมายแรงงานสัมพันธ์นั้นกลับ ไม่บังคับใช้บังคับใช้กับหน่วยงานใดบ้าง โดยเพิ่มคำว่า “กิจการรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่า ด้วยแรงงานสัมพันธ์ เว้นแต่การที่สหพันธ์แรงงานเข้าสมาชิกสภาองค์การลูกจ้างตามมาตรา 125” ทั้งนี้มาตรา 125 เขียนไว้ว่า “สหพันธ์แรงงานตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์  อาจเข้าเป็นสมาชิกสภาองค์การลูกจ้างได้” ซึ่งในกฎหมายฉบับเดิม พ.ศ.2518 ไม่มีการกำหนดเรื่องนี้ไว้ และในกฎหมายใหม่ได้ตัดคำว่า “รวมทั้งราชการของกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา” ออกไป  และกฎหมายอื่นๆที่ส่งกระทบกับพี่น้องแรงงานไม่ได้เป็นมิติของแรงงาน กฎหมายบีโอไอ กฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ และกฎหมายรัฐธรรมนูญมีข้ออ่อน มีน้ำหนักไปส่งเสริมสิทธิพิเศษกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ไปเจอด่านอีกหลายๆด่าน เช่น กฎหมายระเบียงเขตเศรษฐกิจ แต่ไม่สามารถไปลดสิทธิพิเศษของกฎหมายได้

โดยมีข้อสังเกต กระทรวงแรงงานรับฟังความเห็น 6 มีนาคม 2560 แต่กฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 77 ให้ รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผยผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นต่อประชาชน ฯลฯ

กรณีเงื่อนไขต้องมีสัญชาติไทย หรือเงื่อนไขแรงงานข้ามชาติต้องอยู่ในประเทศไทย  3 ปี แต่พี่น้องข้ามชาติสามารถอยู่ได้ในประเทศเพียง 4 ปี ซึ่งเงื่อนไขเหล่านี้ต้องกลับมาวิเคราะห์อย่างจริงจัง  กระทรวงแรงงานบอกว่า ให้ลูกจ้างอ่านข้อมูลในเว็บไซต์ โอกาสน้อยมากที่ลูกจ้างจะอ่าน ถึงอ่านจะรู้เรื่องเรื่องหรือไม่

ควรเอากฎหมายของเอกชน และของรัฐวิสาหกิจมาดูพร้อมกัน ที่ผ่านมา “แก้แบบปากผุ” แต่ละกฎหมายออกมาเร่งรีบไม่ได้วิเคราะห์ผลกระทบ มีความหละหลวม เร่งรีบ กระบวนการสนช. หากไม่ยึดกุม ก็จะถอยหน้าถอยหลังสนช.จะทำอย่างไร มีอำนาจแก้ได้หรือไม่?เพราะเป็นพระราชกำหนด การที่กฎหมายผ่านกฤษฎีกาโดยมีความหวังว่าจะเสนอแก้ แต่เป็นความหวังที่เป็นไปไม่ได้ มีข้อจำกัดที่ปรึกษา (ที่มาจากเจ้าหน้าที่รัฐ) ควรต้องมีวางหลักเกณฑ์ ควรหลุดจากอำนาจอิทธิพล และมีมุมมองการแก้กฎหมายเข้าชื่อ1 ใน 3 ในกรรมาธิการใช้กฎหมายเข้าชื่อ พี่น้องเราทุกกลุ่มต้องติดตามและช่วยกัน

สรุปข้อเสนอแนะจากเวทีเสวนาดังนี้ ผู้เข้าร่วมมีฉันท์ทามติเห็นตรงกัน คือ “ยึดหลักการมีกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ฉบับเดียว” ยกร่างใหม่ใช้หลักการเดียวกันครอบคลุมถึงแรงงานทุกภาคส่วน ไม่แบ่งแยกเอกชนและรัฐวิสาหกิจ และแสดงเจตนารมณ์สอดรับหลักการอนุสัญญา 87 และ98 มอบหมายให้ฝ่ายยุทธศาสตร์คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ศึกษาต่ออะไรที่เป็นประเด็นต่าง วิเคราะห์อย่างรอบคอบต่อไป

 (รายงานโดย สุธิลา ลืนคำ)